สังกะสี (Zinc) แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการน้อย แต่จำเป็น เพราะถ้าขาดไป โรคอะไรก็เกิดขึ้น
ร่างกายคนเราจะทำหน้าที่ได้ตาม จำเป็นต้องอาศัยแร่ธาตุสำคัญๆประมาณ 16 ชนิด เพื่อทำหน้าที่ให้ร่างการเจรีญเติบโต หรือการสืบพันธุ์
แร่ธาตุสังกะสี ถือว่าเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการอย่างหนึ่ง แม้จะต้องการเพียงปริมาณที่น้อย (trace elements) แต่ถ้าขาดไป ก็เกิดผลเสียต่อการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายหลายๆ ตัวทีเดียว
บทบาทการทำงานของแร่ธาตุสังกะสี
- สังกะสีเกำจัดอัลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นสารพิษต่อตับ
- สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ ที่ร่างกายใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน
- สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งขในการสร้างกระดูกและฟัน และทำให้เส้นผมและเล็บแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย
- สังกะสีเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
- สังกะสีเเกี่ยวข้องกับการทำงานอย่างสมดุลของระบบประสาทสมอง
- สังกะสีช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามินเอ ทำให้ผิวพรรณดีขึ้นได้
- สังกะสี มีส่วนสำคัญในการรักษาแผลหรือสมานแผล
- สังกะสี ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- สังกะสี ช่วยในการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ที่ควบคุมระดับน้ำตาล และควบคุมการทำงานของอวัยวะสัมผัส ให้ทำงานให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพ
ปริมาณสังกะสีที่ร่างกายต้องการเท่าไหร่
ปริมาณแตกต่างกันในแต่ละเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและกำหนดความต้องการของสังกะสี ในร่างกายไว้ดังนี้
-อายุน้อยกว่า 1 ปี ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 3-5 มิลลิกรัม
-อายุระหว่าง 1-10 ปี ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 10 มิลลิกรัม
-อายุ 11 ปีขึ้นไป ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 15 มิลลิกรัม
-สตรีในระยะตั้งครรภ์ ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 20-25 มิลลิกรัม
-สตรีในระยะให้นมบุตร ต้องการสังกะสีประมาณ วันละ 25-30 มิลลิกรัม
อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง
– อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรม
– เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่และนม
– ธัญพืช
โดยร่างกายจะดูดซึมสังกะสีจาก โปรตีนของสัตว์ได้ดีกว่าธัญพืช เพราะสังกะสีในธัญพืชมักอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ด ซึ่งมักถูกขัดให้หลุดไป และในเส้นใยอาหารจากธัญพืช จะมีสารไฟเทตที่สามารถยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุใด้หลายชนิด ดังนั้นในชาวมังสวิรัติที่ไม่กินนมและไข่ มักจะต้องรับประทานแร่ธาตุสังกะสีเสริม
ไม่พบว่าการรับประทานอาหารที่มีสังกะสีมากๆ จะเกิดการสะสมหรือเป็นพิษต่อร่างกายได้ นอกจากคนที่ได้รับอาหารเสริมที่มีสังกะสีปริมาณมากๆ และต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ถ้าร่างกายได้รับสังกะสีไม่เพียงพอ
– จะทำให้แผลหายช้า
– ร่างกายเจริญเติบโตช้าลง
– ตับโต เกิดภาวะโลหิตจาง
– หัวล้าน (alopecia)
– เบื่ออาหาร
– ต่อมสร้างเชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ (hypogonadism) ทำให้มี sexual maturation ช้า
– ทำให้การรับความรู้สึกของรสและกลิ่นช้าลง
คำแนะนำในการรับประทานอาหารเสริมสังกะสี
ควรเป็นสังกะสีในรูปของ Chelated Zinc ซึ่งจะอยู่ในรูปของเกลือกลูโคเนต หรือ Zinc Gluconate ซึ่งจะดูดซึมแร่ธาตุสังกะสีได้ดีที่สุด และควรรับประทานตอนท้องว่าง(อาจมีอาการคลื่นใส้ อาเจียนได้บ้างในระยะแรก) และควรเสริมด้วยแร่ธาตุทองแดง ( copper) เสริมในอัตราส่วน สังกะสี:ทองแดง=15:1