หูด หรือตาปลา ( Wart) ติ่งเนื้อที่พบได้บ่อยๆ ชนิดของหูด สาเหตุและการรักษา
หูด ( Wart) เป็นติ่งเนื้อ ที่งอกยื่นออกมาจากผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ภายในชั้นหนังกำพร้า ติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค มักพบได้บ่อยในเด็ก หรือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
ชนิดของหูด แบ่งได้เป็นหลายชนิด ตามลักษณะที่แตกต่างดังนี้
1. Common wart (Verruca Vulgaris) -ลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ สีเหมือนผิวหนังหรือสีดำ อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด พบบ่อยในเด็ก มักเป็นที่มือและเท้า มักไม่มีอาการอะไร ยกเว้นไปแกะเกา ให้เกิดบาดแผล
2. Plantar wart – หูดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นปื้นหนาแข็งฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนเดินลงน้ำหนักหรือกดทับจะเจ็บ เป็นปื้นแข็ง แยกได้ยากจากตาปลา การจะแยกต้องใช้ใบมีดฝานตรงติ่งเนื้อ ถ้าเป็นหูดจะพบจุดเลือดออกเล็กๆ แต่ถ้าเป็นตาปลา ถ้าเฉือนไปเรื่อยๆ จะพบเนื้อดี
Fusiform wart Plane wart
3. Fusiform wart – เป็นติ่งเนื้อขนาดเล็ก ยื่นออกมาจากผิวหนัง ลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือเล็กๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ พบได้บ่อยในคนสูงอายุ
4. Plane wart- หูดราบ –ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ สีเหมือนผิวหนัง มักพบเป็นกลุ่มบริเวณ หน้า คอ หลังมือ
การรักษา มีหลักการก็คือ กำจัดเนื้อเยื่อออกไปจากร่างกาย ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การจี้ด้วยไฟฟ้า
2. การผ่าตัด หรือตัดชิ้นเนื้อออก
3. เลเซอร์ ด้วย Co2 laser
4. การ แต้มด้วยสารเคมีลอกขุย(Kearolytic agents เช่น Salicylic acid) ให้หลุดลอกออก เช่น Collamack แต่ปัจจุบันยานี้ได้เลิกผลิตแล้ว
5. การแต้มด้วยยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสนี้ เช่น 5-FU (Vermumal,Duoflim)
จากทุกๆ วิธี แพทย์อาจจะเลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีควบคู่กัน เพื่อจะกำจัดเชื้อไวรัสนี้ให้หมด เพราะถ้าไม่หมดอาจเกิดใหม่ได้ และถ้าทำลายมากเกินไป ก็อาจจะทำลายเนื้อดี เกิดแผลเป็นได้
การป้องกัน ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อหูด จากไวรัสนี้ และถ้ามีลักษณะทางคลีนิกของโรคนี้ ควรรีบกำจัดตั้งแต่เริ่มเป็น เพื่อป้องกันการลุกลามมากขึ้น เนื่องจากการสัมผัสหูดนี้บ่อยๆ แล้วไปโดนผิวหนังบริเวณอื่น อาจจะมีหูดหรือตาปลาเพิ่มขึ้นได้ ในบริเวณที่มือที่มีเชื้อไวรัสนี้ไปสัมผัส
หูด เป็นเนื้องอกธรรมดา ไม่มีอันตรายอะไร ไม่ทำให้เกิด
เป็นมะเร็งในภายหลัง