Vitamin E ( Alpha-tocopherol) : วิตามินอี กับบทบาทการปกป้องผิวจากแสงแดด และความเหี่ยวย่นก่อนวัย

ดูแลผิวพรรณ

26 กรกฎาคม 2005


วิตามินอี  ถือเป็น Antioxidants อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมนำมารักษาปัญหาด้านผิวพรรณ วิตามินดี พบใน Plasma และเม็ดเลือดแดง โดยปกติจะช่วย ปกป้องเซลล์บุผิว จากการถูก Peoxidation ให้เกิด อนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์
จากการศึกษาพบว่า ผิวหนังในบริเวณที่มีต่อม Sebaceous glands ( ต่อมไขมัน) มาก เช่น ใบหน้า จะมีปริมาณของวิตามินอี มากกว่าบริเวณแขนถึง 20 เท่า เนื่องจากต่อม Sebaceous glands เป็นช่องทางที่สำคัญ ในการหลั่งวิตามินอี ออกสู่ผิวหนัง
แหล่งอาหารที่มีวิตามินอี
พบในผัก น้ำมันพืช เมล็ดพืช ข้าวโพด ถั่ว แป้งสาลี เนยเทียม เนื้อสัตว์ และนม ซึ่งร่างกาย ต้องการวิตามินอี ในรูปของ alpha-tocopherol ประมาณ 10 มก.ต่อวัน
วิตามินอี ประกอบด้วย Tocopherols และ Tocotrinols โดยมี Alpha-tocopherol และ Gamma-tocopherol เป็นตัวที่ Active ที่สุด ซึ่งร่างกาย

ประโยชน์ของการทาครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินE ในการป้องกันและรักษาผิวพรรณ 

  1. ช่วยลดอัตราการทำลายของแสงแดด ( Phtoprotection ) ที่ทำให้เซลล์เกิด Sunburn รอยแดงไหม้ ( erythema ) chronic UVB damage
  2. ลดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด ( photocarcinogenesis)
  3. ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
  4. ลดความหยาบกร้านของผิวพรรณ

ประโยชน์ของการรับประทานวิตามิน E 

  1. ในสัตว์ทดลองพบว่า วิตามินอี สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนัง ( basal cell carcinoma) ได้ถึง 70 % โดยเฉพาะรับประทานควบคู่กับวิตามินเอ
  2. ช่วยสมานแผล ( wound healing) เมื่อรับประทานวันละ 400 มก. ทำให้แผลหายได้เร็ว
  3. สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกาย โดยมีฤทธิ์ในการรักษาการอักเสบ ( anti-inflammatory effects ) และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ( immunostimulatory effects )

วิตามินอี จะเสื่อมสภาพได้เร็ว เมื่อถูกแสงแดด หรือออกซิเจน แต่จะทนต่อความร้อนได้ถึง 100 องศาเซลเซียส และภาวะความเป็นกรดด่าง การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด และยาระบาย จะทำให้ฤทธิ์ของวิตามินอี ในรูปรับประทานลดลงเช่นกัน

ขนาดในการรับประทานวิตามินอี ควรเริ่มที่ขนาดต่ำๆ ก่อน ประมาณ 100 มก.ต่อวันก็น่าจะได้ สาร alpha-tocopherol เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
แม้จะมีความปลอดภัยสูง เมื่อรับประทาน ขนาด ประมาณ 3,000 มก.ต่อวัน ได้เป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่แนะนำให้รับประทานเกิน 4,000 มกต่อวัน

Related