Telangiectasia: เส้นเลือดฝอยขยายตัวผิดปกติ ทำให้ผิวหน้า ผิวกาย แดงง่าย ไม่ขาวใส

ผิวหนัง

6 กรกฎาคม 2005


Telangiectasia เป็นภาวะความผิดปกติ จากการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย(capillaries) มีลักษณะเห็นเป็นเส้นแขนงเส้นเลือดฝอยสีแดง แตกเป็นกิ่งก้านสาขาบริเวณผิวหนัง ภาวะนี้จากเกิดเฉพาะที่ หรือเกิดทั่วร่างกายก็ได้ ลักษณะของเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. Facial Telangiectasias เป็นลักษณะที่พบได้บ่อย มักอยู่ตามบริเวณแก้มและปีกจมูก
สาเหตุที่เกิด 
1. ภาวะโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือโรคตับแข็ง จะพบลักษณะเส้นเลือดฝอยแบบนี้ได้บ่อยๆ
2. การใช้ยาทาแก้แพ้ ที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์นานๆ
3. การใช้ยาทาฝ้า ที่มีส่วนผสมของสารไฮโดรคลิโนนความเข้มข้นสูงๆ เช่น 5% Hydroquinone
4. โรคทางพันธุกรรม
5. โรค SLE
6. ไม่ทราบสาเหตุ
2. Spider Telangiectasias มีลักษณะเป็นเส้นใยแมงมุม มีจุดแดงตรงกลางและมีเส้นเลือดฝอยแผ่กระจายกิ่งก้านสาขา เมื่อสัมผัสจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ
สาเหตุที่เกิด 
มักจะเกิดจากฮอร์โมนEstrogen สูงกว่าปกติ เช่น ในผู้หญิงตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด

การรักษา 
– ถึงแม้ว่าเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้คงดูไม่ดีแน่ จึงควรหาวิธีการรักษาก่อนที่เส้นเลือดฝอยจะลุกลามไปทั่วแก้ม เพราะจะทำให้หน้าเป็นรอยแดง และอาจจะเห็นชัดมาก เวลาร้อนจัด หรือดื่มอัลกอฮอล์ จนคนอื่นอาจเข้าใจผิดคิดว่าไปโกรธใครมาถึงได้เลือดขึ้นหน้าขนาดนี้ วิธีการรักษามีดังนี้
1. รักษาตามสาเหตุของโรคที่ตรวจพบร่วมด้วย
2. การจี้ด้วยไฟฟ้า (Electric cautery) ทำให้เส้นเลือดอุดตันหรือฝ่อไป มักใช้ในกรณีที่เส้นเลือดขนาดเล็กกว่า 1 มม. และไม่อยู่ในบริเวณใบหน้า
3. การใช้ เลเซอร์ Pulsed Dye Laser (V-Beam ) ซึ่งความยาวคลื่น 595 นาโนเมตร ปัจจุบันถือว่าเป็น Gold Standard Treatment ที่นิยมในปัจจุบัน เพราะได้ผลดี ผลข้างเคียงน้อยและได้ผลเร็ว เหมาะกับลักษณะของเส้นเลือดที่มีขนาด 0.2 – 1 มิลิเมตร
4. เลเซอร์ Long pulse Nd:YAG ( Genle YaG laser ) ที่มีความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร เหมาะกับลักษณะของเส้นเลือดที่มีขนาด 1 – 2 มิลิเมตร
5. การฉีดสาร Sclerosing agents หรือ Hypertonic saline มักใช้ในกรณีที่เส้นเลือดขนาดมากกว่า 1 มม. และไม่อยู่ในบริเวณใบหน้า

Related