สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina plantensis ) : คุณประโยชน์จากท้องทะเลที่อุดมด้วยโปรตีนและวิตามิน
สาหร่ายเกลียวทอง
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Spirulina plantensis ‘สาหร่ายสไปรูลิน่า’ หรือที่รู้จักกันว่า ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว จัดอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) เป็นสายพันธุ์ Platensis ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุด ซึ่งให้สารคลอโรฟิลล์ในประมาณที่สูงและยังเป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน60-70% กรดไขมันจำเป็น วิตามินและเกลือแร่ รวมทั้งสารอาหารอื่นๆอีกมากมายที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย
ชนิดที่พบโดยมากมีเม็ดอากาศ (gas vacuoless) เล็กๆ จำนวนมากอยู่ภายในเซลล์ ทำให้สาหร่ายเกลียวทองลอยตัวได้ดี เม็ดอากาศแต่ละเม็ด อยู่ภายในถุงซึ่งเป็นเยื่อบางๆ และเยื่อนี้เป็นสารจำพวกโปรตีนปริมาณสูง( ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าโปรตีนจาก เนื้อวัวและไข่ถึง 3 เท่า) นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินที่มีคุณค่าต่อร่างกาย อย่าง B1,B2,B3และ B12 วิตามิน C วิตามิน E และเบต้าแคโรทีน (ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20-25 เท่าของที่มีอยู่ในแครอท)
ตอนนี้สาหร่ายเกลียวทองได้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของอาหารเสริมชนิดหนึ่ง ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่มากมายดังกล่าว และได้มีการค้นพบเพิ่มเติมว่า ยังประกอบไปด้วย
- กรดกลูมาติก ซึ่งมีความสำคัญในขบวนการเผาผลาญอาหารให้เซลล์สมอง
- แมงกานิส เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญและช่วยเข้าไปเสริมการทำงานของประสาทสมอง
- ไอโซลิวซีน ในสาหร่ายเกลียวทองช่วยป้องกันความเสื่อมของระบบประสาท
- ลิวซีน ไปกระตุ้นสมองส่วนบนช่วยให้ร่างกายตื่นตัวและกระฉับกระเฉง
- เบต้าแคโรทีน ที่มีฤทธิ์เป็นสารต่อต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอกและมะเร็งหลายชนิด
ปัจจุบันสาหร่ายเกลียวทองนอกจากเป็นอาหารเสริม บำรุงร่างกายแล้วยังสามารถนำมาผสมในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ครีมบำรุงรักษาผิวพรรณ ครีมลบรอยแผลเป็นต่างๆ ได้อีกด้วย ที่ดูจะเป็นข่าวดีที่สุดก็คงเป็นเรื่องของการทดลองสกัดสารจากสาหร่ายเกลียวทองแล้ว พบว่า คือ สาร Sulfolipid ที่เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของสาหร่ายนั้น มีผลต่อการยับยั้งไวรัสเอดส์ และเชื่อว่าต่อไปจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากขึ้น ถ้าหากมีการพัฒนาสารชนิดนี้ แล้วนำมาสกัด เป็นยารักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ได้ เพราะทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรเกินความสามารถของมนุษย์ อย่างเราไปได้แน่นอน
เอกสารอ้างอิง:วิทยานิพนธ์ ‘การใช้สาหร่ายเกลียวทองสดเป็นส่วนประกอบของอาหารผสมสำหรับเลี้ยงปลาตะเพียนขาว และปลาดุกอุย’ โดย บานชื่น ชลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน วันจันทร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2543