ปานดำ (Pigmented Birthmarks) จุดดำ ทำให้เกิดตำหนิกับผิว ที่มีมาแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลัง
ปานดำ คืออะไร
คือ ความผิดปกติของสีผิว โดยจะสีดำหรือคล้ำกว่าผิวปกติ ที่มีทั้งลักษณะเรียบหรือนูน โดยเม็ดสีเมลานินที่อยู่ในชั้นผิวมีมากเกินไป เม็ดสีที่มากผิดปกตินี้ ปานดำ มักจะเกิดในหนังกำพร้า (Dermis) ก็พบได้ในชั้นหนังกำพร้า (Epidermis )
ปานดำมักปรากฏตั้งแต่แรกเกิด มีทั้งสีน้ำตาล ดำ น้ำเงิน หรือน้ำเงินเทา อาจจะหายได้เอง หรือไม่หายไป เมื่อโตขึ้น ขอกล่าวเฉพาะที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้
1. ปานสีกาแฟใส่นม (Café-Au-Lait Spots) มีลักษณะเป็น ผื่นราบสีน้ำตาลอ่อน ปรากฏตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 2-3 เดือน มักจะมีรูปร่างกลมหรือรี ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน จะขยายขนาดขึ้นตามการเจริญเติบโต และจะคงอยู่ตลอดชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่พบมีความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกายร่วมด้วย แต่หากผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้ จำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่ อาจพบมีโรคพันธุกรรมบางชนิดได้ ดังนั้น หากพบปานขนาดใหญ่หรือมีหลายอัน ควรพาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
2. ปานมองโกเลียน (Mongolian Spots) พบบ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือน้ำเงินเข้ม บริเวณก้นและสะโพก แต่อาจพบที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ ปานชนิดนี้จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเด็กตอนต้น ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา
3. ปานดำแต่กำเนิด (Congenital Melanocytic Naevi) คือ เป็นปานที่เราคุ้นเคย และพบได้บ่อยๆ บางคนเรียกว่า ไฝสีดำเข้ม มีขนาดแตกต่างกัน แต่มักจะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด มักปรากฏตามหนังศีรษะหรือแขนขา ปานดำชนิดนี้เกิดจากการผลิตเซลล์เม็ดสีผิวมากเกินไป ส่วนใหญ่ ปานจะค่อย ๆ เล็กลงจนจางหายไปเอง หรืออาจเข้มขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อาจจะมีลักษณะนูน หรือบุ๋มเป็นหลุม มีขนขึ้น ขนาดของปานมีตั้งแต่เล็กกว่า 1.5 เซนติเมตร จนถึงใหญ่กว่า 20 เซนติเมตร เป็นปานดำที่อาจจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ถ้ามีขนาดโตมากขึ้นเรื่อยๆ
4. ปานดำเบคเกอร์ ( Becker’s nevus หรือ Pigmented hairy epidermal nevi) เป็นปานดำ ชนิดที่พบได้บ่อย และมักพบในผู้ชาย โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่ออายุระหว่าง 10-15 ปี โดยจะเริ่มปรากฏเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ แล้วขยายออกเป็นแผ่นปื้นประมาณ 10-13 ซม.เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จะเริ่มสังเกตมีเส้นขนขึ้นมากกว่าปกติในบริเวณปานดำนั้น
5. ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานสีน้ำเงินหรือน้ำตาลเข้ม ส่วนใหญ่ (90%) เป็นข้างเดียวของใบหน้า ตั้งแต่หน้าผาก ขมับและแก้ม บางรายอาจพบในตาขาวร่วมด้วย
ประมาณกึ่งหนึ่งของปานโอตะ เป็นตั้งแต่เกิด ส่วนที่เหลือเริ่มเป็นเมื่อย่างเข้าวัยรุ่น พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (5 ต่อ 1) ปานโอตะพบได้บ่อยถึง 0.2%-0.8% ของคนเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และไทย
ความเข้มของปาน อาจเปลี่ยนแปลงได้จากการมีประจำเดือน ความอ่อนเพลีย การนอนไม่หลับ หรือฤดูกาล
อย่างไรก็ตาม ไม่เคยพบว่า ปานชนิดนี้จะหาย ได้เอง
แนวทางการรักษาปานดำ : ปานดำเกือบทุกชนิด ไม่หายเอง ยกเว้น ปานมองโกเลียน ที่หายเองได้ ถือเป็นปัญหาด้านความสวยงาม เป็นหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็ง หรือสัมพันธ์กับโรคหรือระบบบางอย่างได้ การกำจัดปานดำ อาจะทำได้ดังนี้
1. การกำจัดขนที่บริเวณปานดำ ด้วยการทำการกำจัดเลเซอร์ Long-Pulsed :Nd-Yag laser ได้แก่ Gentel YAG Laser
2. ปานดำทำให้จางลงได้ ด้วยการทำการรักษาด้วย Q-Switchec:Nd-Yag laser 1064 nm เพราะถือว่าได้ผลดี ผลข้างเคียงน้อย ซึ่งทีได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน คือ Revlite laser, Pico lasers
3. กรณีที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และเป็นก้อนนูน ไม่ลึก อาจจะกำจัดออกด้วย เลเซอร์ CO2