ขี้แมลงวัน ( Lentigines ) กับ ไฝ (Moles) สังเกตอย่างไร ว่าอาจจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง
ไฝ และขี้แมลงวัน เกิดจากอะไร
ไฝ และขี้แมลงวัน มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของ เซลล์เมลาโนไซท์ (Melanocytes ) มีหน้าที่ใน การสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งปริมาณและขนาดของเมลานิน แล้วเกิดเป็นเนื้องอกจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซท์ โดยไฝจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูน ส่วนขี้แมลงวันจะเป็นตุ่มราบสีดำ และอยู่ตื้นกว่าไฝ
โดยทั่วๆ ไป ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีการเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างช้าๆ ซึ่งมักจะสังเกตได้ในช่วงวัยรุ่น หรือตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในบริเวณทั่วตัวพร้อมๆ กัน
ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ที่เรียกว่า Melanoma ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องสังเกตให้ได้ และแก้ไขได้ทันท่วงที
ไฝ และขี้แมลงวัน แบบไหน ต้องไปพบแพทย์
1. ไฝ และขี้แมลงวัน ที่ได้รับการระคายเคืองบ่อยๆ
2. ไฝ และขี้แมลงวัน ในบริเวณที่สังเกตได้ยาก เช่น บนหนังศีรษะ หรืออวัยวะเพศ
3. ไฝ และขี้แมลงวัน ที่มีมาแต่กำเนิดและขนาดใหญ่ เช่น ไฝยักษ์ ( Giant congenital melanoma
4. ไฝ หรือขี้แมลงวัน ที่มีลักษณะผิดปกติ ได้แก่
4.1 สีดำเข้มผิดปกติกว่าที่อื่นๆ
4.2 สีที่ไม่สม่ำเสมอ หรือสีเปลี่ยนอย่างกะทันหัน
4.3 ขอบเขตไม่เรียบ
4.4 ขนาดใหญ่เกิน 5 มม.
4.5 โตเร็วผิดปกติ
สงสัยมะเร็งผิวหนัง แพทย์จะทำอย่างไร
- ตัดไฝ และขี้แมลงวันออกทั้งหมด (Excisional Biopsy) ซึ่งถือว่าเป็นเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด แต่มักใช้ได้กับไฝที่ไม่โตมากนัก แล้วส่งชิ้นเนื้อของไฝ และขี้แมลงวัน ส่งตรวจพยาธิสภาพ ถ้าบ่งว่าเป็นมะเร็ง ก็ทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
- ตัด ไฝ และขี้แมลงวันออกบางส่วน ( Incisonal Biopsy) มักจะใช้ในกรณีที่ไฝที่มีขนาดใหญ่ ถ้าตัดออกหมด อาจจะทำให้สูญเสียความสวยงาม หรือ อาจจะทำให้มีผลต่อการใช้งานได้ แล้วส่งชิ้นเนื้อของไฝ และขี้แมลงวัน ส่งตรวจพยาธิสภาพ ถ้าบ่งว่าเป็นมะเร็ง ก็ทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไปเช่นกัน
- หมั่นตรวจ ติดตามผล โดยอาจจะต้องถ่ายรูปผิวหนังบริเวณดังกล่าวเป็นระยะๆ และพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
- ไม่แนะนำให้ทำการจี้ หรือกำจัดออกด้วยการไฟฟ้า หรือเลเซอร์ สำหรับกรณีไฝที่ผิดปกติ หรือสงสัยเนื้อร้าย เพราะอาจจะทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นเนื้อ ไปตรวจพยาธิสภาพได้ และอาจจะทำให้การแปรผลผิดพลาดได้เช่นกัน
ได้เคยมีการศึกษา ถึงอัตราการเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง จากการปัจจัยต่างๆดังนี้ ว่าจะมีโอกาสเกิดได้สูงกี่เท่า ดังตารางต่อไปนี้
ลักษณะของไฝ | อัตราเสี่ยง (เท่า) |
มีไฝ ขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยนแปลง | สูงมาก |
อายุมากกว่า 15 ปี เมื่อเทียบกับอายุน้อยกว่า 15 ปี | 88 |
ผิวขาว เมื่อเปรียบเทียบกับคนผิวดำ | 20 |
มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 มม. ขึ้นไป 50 เม็ด | 4-54 |
มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5มม. ขึ้นไป 5 เม็ด | 7-10 |
มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5มม. ขึ้นไป 12 เม็ด | 41 |
เคยเป็น มะเร็งผิวหนัง Melanoma มาก่อน | 9 |
มีญาติสายตรงเป็น มะเร็งผิวหนัง Melanoma | 8 |
มีภาวะถูมิคุ้มกันบกพร่อง | 4 |
มีไฝ เป็นมาแต่กำเนิด | 2-21 |