เมโสแฟต (Mesofat) : ฉีดสลายไขมัน ลดแก้ม ลดเหนียง ลดไขมันส่วนเกิน ได้ทุกบริเวณ
เมโสแฟต คืออะไร
คือการฉีดยาเข้าไปในชั้นไขมัน ตัวยาจะไปสลายไขมันในบริเวณที่ไม่ต้องการ ทำให้ผนังไขมัน( Fat cell wall) แตกตัวออก ทำให้ไขมันที่จับตัวกันเป็นก้อนๆ สลายออกเป็นไขมันเหลว ( Lipid Fat ) แล้วถูกขับออกทางปัสสาวะ เป็นส่วนใหญ่
ชื่อเรียกแตกต่างกันไป ทั้ง เมโสแฟต แฟตบอมบ์ เมโสไลโป ฯลฯ แต่จริงๆ หลักการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ตัวยาที่ใช้ ปริมาณที่ใช้ และบริเวณที่ฉีด
ตัวยาที่ใช้มีอะไรบ้าง
เนื่องจากได้รับความนิยมมาก ไม่แพง และสะดวก จึงมีการพัฒนาสูตรยา ออกมามากมายในตลาด แต่จะขอแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้
1. ตัวยาที่จัดเป็นยาและมีผลงานวิจัยรองรับ : ได้แก่ Phosphatidylcholine (PC), Deoxycholate (DC) ,L-Carnitine กลุ่มนี้สลายไขมันด้วยการทำให้ไขมันแตกตัวออกเป็นไขมันเหลวผ่านระบบต่อมน้ำเหลือง แล้วขับออกทางปัสสาวะ ข้อดี คือ ฉีดปริมาณไม่เยอะ เพียง 1-2 CC ก้ได้ผลดี เพราะสรรรพคุณยาเข้มข้น ทำให้ไม่เจ็บตัวมาก รอยช้ำน้อย แต่ก็มีข้อเสียคือ มักจะแสบเวลาฉีด บางคนบวมหลังฉีดได้
2. ยาและสารสกัดธรรมชาติ ที่ยังไม่มีการรับรองผล : กลุ่มนี้มักจะนำมาผสมกับกลุ่มแรก ให้ออกฤทธิ์มากขึ้น ได้แก่ Caffeine, vitamin B5, Theophylline, Archichoke extract,Tyrosine,Aesculus hippocastanum, Juglans regia กลุ่มนี้กลไกการสลายไขมัน คือช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิตกับระบบน้ำเหลือง จะได้เรื่องกระชับผิวเป็นหลัก ถ้าจะให้ได้ผลสลายไขมัน ต้องฉีดปริมาณมากกว่าเป็น 10 เท่า ข้อดีคือไม่เจ็บ ส่วนใหญ่ไม่บวม ถ้าบวม น่าจะเกิดจากปริมาณที่ฉีดเยอะมากกว่า
ฉีดบริเวณไหนบ้าง
หลักการคือ สลายไขมัน ในส่วนที่การออกกำลังกายไม่ช่วยมากนัก เช่น
- ลดแก้ม
- ลดเหนียง
- ลดเปลือกตาบน
- ลดจมูกชมพู่ ส่วนข้อ 5-7 มักจะใช้ฉีดกรณีมีไม่มากนัก ถ้ามากต้องใช้วิธีอื่นแทน เช่นการดูดไขมัน หรือสลายไขมันด้วยเครื่องมือ
- ลดพุง ลดหน้าท้อง บั้นเอว
- ลดต้นแขน ลดต้นขา
- ลดไขมันที่น่อง
ข้อห้ามในการทำ Mesofat
- สตรีมีครรภ์
- คนไข้โรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ
- คนไข้ที่มีประวัติโรคระบบหลอดเลือดผิดปกติในสมอง เช่น เส้นเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน
- คนไข้ที่มีประวัติโรคเลือดผิดปกติ โรคมะเร็ง
- คนไข้ที่มีประวัติโรคหัวใจ และทำการรักษาด้วยยาหลายขนาน
ข้อควรปฏิบัติหลังทำ Mesofat และข้อควรระวัง
1. ควรดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 2 ลิตร เพราะไขมันเหลวที่โดนสลายจะถูกขับออกทางปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่
2. อาจจะพบอาการบวมช้ำ หรืออาการเจ็บปวดบ้างเล็กน้อย ขณะที่ทำและหลังทำ 1-3 วัน ดังนั้น ควรเลี่ยงการ การเข้าอบซาวน่า การนวด การดื่มอัลกอฮอล์ หรือการทำทรีทเม้นต์ใดๆ หลังทำประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อลดการฟกช้ำให้น้อยลง
3. ควรเดินออกกำลังกายเบา ๆ หลังทำ เช่น การเดินเร็ว โยคะ แอโรบิก อย่างน้อยวันละ 30-45 นาที อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อกระชับและรีดไขมันให้ออกจากร่างกายเร็วขึ้น ลดการสะสมของไขมันใหม่
4. เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก และไขมันส่วนเกิน มิให้กลับมาสะสมได้อีก
5. ป้องกันการหย่อนคล้อยหลังทำ ควรจะทำการยกกระชับบริเวณที่ทำ ด้วยเครื่องมือยกกระชับ ต่างๆ เช่น RF เพื่อช่วยรีดไขมันให้ออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น อาจจะเสริมด้วยการตีสลายไขมันด้วยเครื่อง Slimming Machine กรณีที่ไขมันเกาะตัวแน่นเกินไป
ข้อควรระวัง
หลายๆคลินิกแข่งขันด้านราคากัน ทำให้มีการลดคุณภาพ หรือเปลี่ยนตัวยา เพื่อให้ได้กำไร โดยมีการใช้ยาบางอย่าง ที่แม้ได้ผลเร็ว แต่มีผลข้างเคียง เช่น
- ยากลุ่มเสตียรอยด์ เช่น Dexamethasone พวกนี้ไขมันลดได้ จากการทำให้ไขมันฝ่อ ฉีดไปนานๆ อาจจะเกิดรอยบุ๋มเฉพาะจุด จะทำให้ระบบฮอร์โมนต่างๆของร่างกายผิดปกติ และทำให้ภูมิต้านทานลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
- Hyarulonidase : เป็นยาที่สลายฟิลเลอร์ ถ้าเอามาฉีดไขมันทำให้เซลล์ไขมันแตกเช่นกัน แต่ก็ทำให้ HA ที่ดีๆใต้ผิวของเราก็ถูกทำลายไปด้วย ทำให้เหี่ยวเร็ว แก่เร็ว และตัว Hyarulonidase นี้ ยังพบอัตราการแพ้ยาสูงอีกด้วย หมอกระเป๋าใช้ตัวนี้เป็นตัวหลักเลย