ฝ้า (Melasma) อยากหาย ให้หน้าใส รักษาอย่างไร ให้ถูกจุด หยุดปัญหาเรื้อรัง ป้องกันไว้ก่อน
ฝ้าคืออะไร ชนิดของฝ้าและสาเหตุการเกิดฝ้า
ฝ้า (melasma) คือ ปื้นสีน้ำตาลที่เกิดบริเวณแก้มจมูกหน้าผากคาง ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกแสงแดด (แต่อาจเกิดที่แขนได้) มักเป็นเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของใบหน้า
สาเหตุของการเกิดฝ้า
1. แสงแดดเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือทำให้ฝ้าเป็นมากขึ้น
2. ผิวแห้งขาดการบำรุง จะทำให้เกิดฝ้าได้ง่ายกว่าคนผิวมัน
3. ฮอรโมน ถือว่าเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนผิดปกติ อาจทำให้เกิดฝ้าได้
4. เครื่องสำอางค์ การแพ้เครื่องสำอางค์ อาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้
5. พันธุ์กรรม และเชื้อชาติ เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้ามีบุคคลใดเคยเป็นฝ้าในครอบครัว จะทำให้บุตรหลาน มีโอกาสเป็นฝ้าได้ถึง ร้อยละ 30-50 และพบบ่อยในคนเอเซียมากกว่าในยุโรป
ชนิดของฝ้า
1. ฝ้าตื้น (Epidermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ และสามารถเห็นขอบเขตได้ชัดเจน
2.ฝ้าลึก (Dermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังแท้ใต้หนังกำพร้า มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า มีขอบเขตของฝ้าไม่ชัดเจน โดยมากเราจะสังเกตได้ว่าฝ้าชนิดนี้จะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง
3. ฝ้าผสม (Mix type) – ฝ้าที่มีการผสมกันระหว่างฝ้าลึก และฝ้าตื้นบนใบหน้า
4. ฝ้าเลือด ( Vascular melasma หรือ Telangiectetic melasma ) ฝ้าเลือดดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า อันเป็นผลมาจากการใช้เครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของ ไฮโดรควินิน หรือเสตียรอยด์หรือยาคุมกำเนิด ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก โดยจะมีสีน้ำตาลแดง
รักษาฝ้าในปัจจุบัน
1. ครีมทารักษาฝ้า สมัยก่อน ครีมทาฝ้ามักจะมีส่วนผสมของสาร Hydroquinone ซึ่งได้ผลดี แต่ก็มีผลข้างเคียง อย.ได้ถือว่าเป็นยาอันตราย ไม่อนุญาตให้ผสมในครีมรักษาฝ้า เพื่อวางจำหน่ายทั่วไป ครีมรักษาฝ้าในปัจจุบัน จึงได้เปลี่ยนมาใช้ สารสกัดจากธรรมชาติแทน อาทิเช่น เปลือกสน ,Kogic acid,Albutin, Licorice Extracts,Vitamin C ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์แต่สารแต่ละตัว ก็จะแตกต่างกันไป ในยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ ดังนั้นก่อนเลือกครีมทารักษาฝ้า ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อผลการรักษาที่ได้ผลดี ไม่มีผลข้างเคียง
2. ยารับประทานรักษาฝ้า มักจะใช้เสริมกับครีมทาฝ้า เช่นวิตามินซี, วิตามินอี ,ยารับประทาน tranexamic acid (มักใช้ในฝ้าเลือด ) การรับประทานยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะยารับประทานบางตัวมีผลข้างเคียงได้
3. การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์เม็ดสี : การรักษาฝ้า ด้วยเลเซอร์เม็ดสี( Pigmented laser) เป็นการใช้เลเซอร์ Q-Switched Nd:YaG Laser ซึ่งจัดว่าเป็นเลเซอร์ที่รักษารอยฝ้า ได้ผลดีมากกว่า 70-80% โดยไม่พบผลข้างเคียงใด และเหมาะกับทุกสภาพสีผิว กลไกการรักษา คือการทำให้ฝ้า ค่อยๆ เลือนจางลง โดยไม่ต้องลอกผิว หลังทำจึงไม่ต้องพักฟื้น ไปทำงานได้ปกติ ปัจจุบัน Q-Switched Nd:YaG Laser จัดเป็นการรักษาฝ้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เพราะเห็นผลชัดเจน ไว และไม่มีผลข้างเคียง ออกแดดได้ตามปกติ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเลเซอร์รักษาฝ้า ได้แก่ MedLite ,Revlite , Pico Laser นอกจากนี้ยังนำมารักษารอยด่างดำ ตามใบหน้า ลำตัว หรือหัวนมดำคล้ำ รักแร้ดำ ริมฝีปากดำคล้ำได้ด้วย
3. การรักษาฝ้าด้วยการฉีด(Meso bright) : หลักการคือการฉีดสารไวเทนนิ่งที่มีส่วนผสมขนานต่างๆ เช่น วิตามินเอ,ซี Glutathione,Placental Extracts ,Transemic acid เข้าสู่ผิวชั้นใน (ในชั้น Mesoderm) ด้วยปืนยิงดิจิตอล หรือ ใช้เข็มฉีดไปบริเวณที่เป็นฝ้า เพื่อจุดมุ่งหมายในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ หรือการละลายฝ้าให้ค่อยๆ จางลง วิธีนี้มักจะได้ผลดีเฉพาะฝ้าเลือด หรือฝ้าที่เกิดจากฮอรโมนผิดปกติ ฝ้าบางชนิดอาจจะไม่ได้ผล ดังนั้นก่อนทำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกัน
ส่วนการรักษาฝ้า วิธีอื่นๆ เช่น การลอกด้วยกรดผลไม้ (Chemical peeling ) , การทำไอออนโต , การกรอผิว การทำ IPL การลอกฝ้าด้วยเลเซอร์ ไม่ค่อยแนะนำ เพราะบางอย่างไม่เหมาะกับผิวเอเซีย ทำให้ดำคล้ำได้ง่าย เกิดผลข้างเคียง บางอย่างยังไม่มีผลงานวิจัยรับรองชัดเจน
การป้องกันการเกิดฝ้า
1. โฟมล้างหน้า หรือเจลล้างหน้า ควรเลือกล้างหน้าด้วยโฟม หรือเจล ที่เหมาะกับผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวแห้งมากขึ้น
2. ครีมกันแดด ถือว่าเป็นเครื่องสำอางพื้นฐานที่ต้องใช้ตลอดเวลา เนื่องจากมีการวิจัยแล้วว่า แสงแดดนอกจากทำให้เกิดฝ้าแล้ว ยังทำให้เกิดริ้วรอยแก่ก่อนวัย การเลือกใช้ครีมกันแดด นอกจากจะต้องเหมาะกับผิวแล้ว ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของสารกันแดดด้วย ค่า SPF เท่าใด (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีบี) และค่า PA เท่าไหร่ (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีเอ) สำหรับผู้ที่เป็นฝ้า ควรเลือกครีมกันแดด ที่มีค่า SPF> 25 และค่า PA++ เป็นอย่างน้อย และควรมีส่วนผสมของครีมบำรุงร่วมด้วย
3. ครีมปรับสภาพผิว อาจอยู่ในรูปของ BHA Creams,AHA gel,BHA gel หรือครีมบำรุงอย่างอื่น เพื่อช่วยปรับสภาพผิวหน้า ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
4. ครีมบำรุงผิว การบำรุงผิวหน้าตั้งแต่วัยเยาว์ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี การเลือกครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินเอ ซี อี หรือ EPO พบว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันฝ้า และริ้วรอยได้
5. โภชนาการและอาหารเสริม ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีคุณค่าทางวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี เพราะพบว่านอกจากป้องกันการเกิดโรคหวัดแล้ว ยังใช้รักษาฝ้าได้ด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินซี(เม็ด) วันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ควบคู่กับวิตามินอี 1,200 ยูนิตต่อวัน