ตับสัตว์ : คุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร เหมาะกับใคร ต้องระวังอะไรในการรับประทาน
ตับ(Liver) เป็นอวัยวะที่สำคัญของมนุษย์ เพราะตับจะเป็นแหล่งรวมของเอนไซม์มากมายที่มีประโยชน์ในการก่อให้เกิดกระบวนการหรือปฏิกริยาสำคัญๆ ต่อการทำงานของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และยังมีหน้าที่กำจัดสารพิษในร่างกายด้วย นอกเหนือจากไต
ตับจากสัตว์ ก็มีหน้าที่ไม่แตกต่างจากตับในมนุษย์ ดังนั้นการรับประทานตับจากสัตว์ต่างๆ เราก็จะได้รับเอนไซม์ และสารอาหารหลายๆ ตัวที่มีประโยชน์ต่อตับของมนุษย์เช่นกัน
สารอาหารและแร่ธาตุที่สำคัญจากการรับประทานตับ
- ธาตุเหล็ก: – พบว่าธาตุเหล็กจากตับ เป็นธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปของเหล็กที่จับกับโปรตีน ซึ่งเรียกว่า Heme Iron ซึ่งดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านขบวนการใดๆ ซึ่ง heme iron นี้ ร่างกายจะนำไปใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะทำหน้าที่ในการพาออกซิเจน ไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและนานขึ้น
- วิตามินบี 12: – วิตามินชนิดนี้ เป็น วิตามินพลังงาน (Energy Vitamin) เพราะจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยการเพิ่มการนำโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ที่มีอยู่ในร่างกายมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ วิตามินบี 12 ยังช่วยให้ heme iron ทำงานได้ดีขึ้น และยังมีความสำคัญในการสร้าง DNA,RNA,Choline และ กรดอะมิโนหลายๆ ตัว ในร่างกาย
- กรดโฟลิค: – เป็นสารที่สำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์และกล้ามเนื้อ และช่วยเสริมการทำงาน ของระบบประสาท ช่วยลดอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้ โดยทำงานร่วมกับวิตามินบี 12
- เอนไซม์ Co-Q10: – ซึ่งพบได้มากในอวัยวะที่มีพลังงานสูง เช่น ตับ ถือว่าเป็นสารกำจัดอนุมูลอิสระ (Anti-oxidants) ที่ดีตัวหนึ่ง ทำให้ป้องกัน และลดการเสื่อมของเซลล์ (Ageing) นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกด้วย
- วิตามินเอ: – พบในปริมาณที่สูง ซึ่งช่วยให้ผิวหนังสุขภาพดี และมีความต้านทานต่อการติดเชื้อ
- นอกจากนี้ยังพบสารอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งธาตุสังกะสี
ตับสัตร์เหมาะกับใคร
- ลดอาการอ่อนเพลีย หรือเมื่อยล้าจากการออกกำลังกาย
- เพิ่มพลังงานในระหว่างออกกำลัง ให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเหมาะกับนักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก
- ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ตับแข็ง จะได้รับสารอาหารเพื่อทดแทน
- ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
- ผู้สูงอายุที่มีความรู้สึกอ่อนเพลีย หรือหมดเรี่ยวแรงได้ง่าย
- สตรีที่มีประจำเดือน เพราะมีการสูญเสียเลือดปริมาณมาก หรือผู้ป่วยโรคโลหิตจาง
- เสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท
- เพื่มการไหลเวียนของโลหิต
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ช่วยเสริมสร้ามกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่เล่นกล้าม
ข้อควรระวังในการรับประทานตับ
- ในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่เตรียมจะมีบุตร ควรลดการรับประทานตับ หรือผลิตภัณฑ์จากตับ เช่นตับบด เพราะในตับ 100 กรัมจะมีวิตามินเอ สูงกว่าปริมาณที่ได้รับประจำถึง 16 เท่า และวิตามินเอปริมาณสูงๆ อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมาผิดปกติได้
- ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ควรรับประทานไม่เกิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะตับจะมีปริมาณคลอเรสเตอรอลสูง
- การรับประทานตับ ควรผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารที่ถูกวิธี และสุก เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่ปะปนมากับตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี โรคพยาธิใบไม้ในตับ