คีลอยด์ (Keloids) แตกต่างจาก แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) อยากหาย รักษาอย่างไร ให้ผิวกลับมาปกติ

หมวดสิว

6 กรกฎาคม 2004


คีลอยด์ (Keloids) คืออะไร

คีลอยด์ คือ แผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนและค่อนข้างแข็ง มีสีคล้ายสีของผิวหนัง หรืออาจสีคล้ำ หรือ แดง แม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ก็ส่งผลด้านความสวยความงาม ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เหมือนผิวพรรณมีตำหนิ คีลอยด์ส่วนใหญ๋ไม่มีอาการอะไร แต่บางครั้งอาจจะคัน ระคายเคือง หรือเจ็บ
สาเหตุของคีลอยด์ : เกิดจากการเรียงตัวผิดปกติ ของแผลที่หายแล้ว โดยเนื้อเยื่อและคอลลาเจนที่ซ่อมแซมบริเวณดังกล่าว เกิดการทำงานมากกว่าปกติ โดยอาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหายหรือหลังจากแผลหายดีสักพัก
ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ อกด้านบน ใบหู คาง ไหล่ คอ หลัง ท้อง และขา
ความแตกต่างของคีลอยด์ (Keloids) กับแผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar)
1. Keloids เป็นแผลนูนหนาที่เกิดเลยขอบเขตของแผลเดิม และ Hypertrophic Scar คือรอยแผลนูนหนาที่เกิดเฉพาะบริเวณแผลเดิม ไม่โตมากกว่าขอบเขตของแผลเดิม
2. Keloids มักไม่ค่อยหายขาด และอาจมีการอักเสบเป็นหนอง หรือ โตเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ ไม่ได้ถูกกระทบกระเทือน ส่วน Hypertrophic Scar หายขาดได้ อาจจะค่อยๆ ราบเหลือเป็นรอยสีขาวๆ และราบหายไป ภายใน 6-24 เดือน

Keloid ที่หัวไหล่ vs Hypertrohic scar ที่ท้อง

การป้องกันและรักษา

การป้องกันการเกิดคีลอยด์ ในคนที่มีประวัติ Keloids มาก่อน และป้องกันไม่ให้มี Keloids ในตำแหน่งอื่นๆ ได้อีก ควรปฏิบัติตนดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการผ่าตัดในผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นนูนหนา เพราะแผลผ่าตัดใหม่อาจเกิดKeloids ใหม่และเป็นมากขึ้น
2. หลีกเลี่ยงการจี้ด้วยกระแสไฟฟ้า ในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็น Keloids
3. เมื่อเป็นสิว หรือ ต่อมเหงื่ออักเสบ ควรรีบพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ หรือ Isotretinoin อย่างเต็มที่ เพราะถ้าปล่อยให้แผลหายเอง อาจเกิด keloids ได้
4. ไม่ควรเจาะหูเพื่อใส่ตุ้มหู ในคนประเภทนี้ ถ้าทำควรระมัดระวัง เรื่องความสะอาด การติดเชื้อ เพราะจะเกิดรอยแผลเป็นนูนหนาได้ง่าย

การรักษาแผลเป็นนูนหนา ( Keloid) 

1. การฉีดยาให้ยุบ เป้นที่นิยมและได้ผลดี ยาที่ใช้เป็นกลุ่ม Corticosteroids เช่น Kenacort ยาจะไปลดการสร้างคอลลาเจน และเนื้อเยื่อบริเวณคีลอยด์ ลดอาการอักเสบ ทำให้ลดขนาดลง ไม่โตขึ้น และมักใช้กรณีที่ keloids มีเจ็บปวด หรือขนาดใหญ่มาก ฉีดได้ทุก 2 อาทิตย์ อาจผสม ยาชาร่วมด้วย
2. การแต้มด้วย 50 % TCA มักใช้ในกรณีที่ Keloids เริ่มยุบตัวได้ดี และทำให้หลุดลอกออกเป็นผิวปกติ
3. การทำเลเซอร์ ลดรอยดำ หรือรอยแดง มักจะใช้ในกรณีที่ฉีดคีลอยด์ยุบดีแล้ว ต้องการปรับสีผิวให้กลับมาใกล้เคียงปกติ เลเซอร์ที่ใช้ ก็เช่น V-beam,Revlite,Finecan
4. การจี้ด้วยไอเย็นจากไนโตรเจนเหลว มักทำร่วมกับการฉีดคีลอยด์ด้วยยา Corticosteroid
5. การผ่าตัดแล้วเย็บปิด แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นที่เดิมได้ 60 % มักป้องกันโดยฉีดยาให้ยุบก่อน ตรงแผลผ่าตัด และนัดมาฉีดยาซ้ำตามข้อ 1 แล้วนัดดูผลประมาณ 2 ปี
5. การตัดออกด้วยเลเซอร์( CO2 Laser) จะได้ผลดีเฉพาะคีลอยด์บริเวณใบหู ส่วนบริเวณอื่น ได้ผลไม่ดีนัก มักเป็นซ้ำและมากกว่าเดิม ประมาณ 55 %
6. การใช้ Silicone gel หรือ Plaster ที่ประกอบด้วย Polymethylsilicone polymer แปะบนผิวของคีลอยด์ พบว่าได้ผลดีเฉพาะในกรณีลดอาการคันและเจ็บ โดยแปะอย่างน้อย 12 ชม.ต่อวัน แต่การป้องกันและรักษา Keloids ยังไม่มีรายงานระบุชัดว่าได้ผลดี
7. ครีมรักษาแผลเป็นนูน : ได้แก่กลุ่มสารออกฤทธิ์ที่สำคัญสองชนิดคือ สารสกัดจากหัวหอมที่ชื่อว่า Cepalin และสาร Allantoin ส่วนใหญ่จะได้ผลดี ถ้าเกิดแผลใหม่ๆ

Related