สังเกตอย่างไร ว่าเรา หรือคนใกล้ตัวเรามีอาการซึมเศร้า แล้วเราจะช่วยเค้าอย่างไร!
โรคซึมเศร้าคือความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมองส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน กลายเป็นคนมองโลกในแง่ลบ เศร้า หม่นหมอง หดหู่ เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยสนุกหรือสบายใจไม่มีความสุข ซึ่งคนไทยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน แต่ได้รับการรักษาแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้น
ลักษณะอันแสดงออกของความโศกเศร้า
1. ความรู้สึก : ผู้ที่สูญเสีย อาจมีอารมณ์ต่างๆ ได้ดังนี้
1.1 ความเสียใจ- พบได้บ่อยที่สุด อาจจะร้องให้ออกมาหรือไม่ก็ได้
1.2 ความโกรธ – อาจเป็นผลเนื่องจากความรู้สึกคับข้องใจ ที่ตนเองไม่สามารถช่วยเหลือได้ หรือโกรธที่ถูกทิ้ง ให้อยู่เพียงลำพัง
1.3 ความรู้สึกผิดและโทษตนเอง
1.4 ความกังวล อาจจะกังวลธรรมดา จนถึงมีอาการหวาดกลัว
1.5 ความรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีชีวิตชีวา
1.6 ความรู้สึกเหงา
1.7 ความรู้สึกคิดถึง
1.8 ความรู้สึกเย็นชาต่อสิ่งรอบกาย
2. อาการทางกาย อาจเกิดได้หลายอย่างดังนี้
2.1 แน่นหน้าอก
2.2 จุกแน่นที่คอ
2.3 ตกใจง่าย
2.4 หายใจไม่อิ่ม
2.5 กล้ามเนื้ออ่อนแรง
2.6 ไม่มีกำลัง
2.7 คอแห้งบ่อยๆ
3. พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง อาทิเช่น
3.1 นอนไม่หลับ
3.2 เบื่ออาหาร
3.3 น้ำหนักลด
3.4 การติดสินใจเสียไปหรือลดลง
3.5 ไม่สนใจการเข้าสังคม
หลักการและวิธีการให้คำปรึกษา
- ช่วยให้มีการเข้าใจและยอมรับความจริงของการสูญเสีย – วิธีที่ดีที่สุดคือ การให้ผู้สูญเสียได้พูดคุยถึงเรื่องที่เกิดขึ้น โดยการให้เขาบรรยาย หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยท่านต้องเป็นนักฟังที่อดทน และคอยช่วยให้เขาพูด และระบายออกมา อย่าห้ามที่จะให้เขาเล่าเรื่องให้ฟัง
- ช่วยให้ผู้สูญเสียสามารถยอมรับ และแสดงอารมณ์ที่ตนเองรู้สึกออกมา เช่น อารมณ์โกรธ ความรู้สึกผิด ความรู้สึกกังวลและช่วยตนเองไม่ได้ ความเศร้าโดยเปิดโอกาสให้เขาได้ร้องไห้อย่างเต็มที่
- พิจารณาและให้การช่วยเหลือแนะนำถึงการใช้ชีวิตต่อไปโดยปราศจากคนนั้น
- ช่วยให้ผู้สูญเสียสามารถลดความรู้สึกผูกพันลงไป โดยกระตุ้นให้เขาสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นบ้าง แต่มิให้เพื่อการทดแทน
- ให้เวลาที่จะโศกเศร้า อย่าให้เกิดความคิดว่าไม่ควรเสียเวลาจมอยู่กับควาททุกข์
- อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และอาการจากจิตและกายที่ตามมา เป็นเรื่องปกติ มิใช่เป็นอาการของผู้ป่วยทางจิด
- ต้องมีความเข้าใจว่า ผลของการสูญเสียและโศกเศร้าแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องคล้ายกัน
- ควรให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด
- ถ้าทุกอย่างยังไม่ดีขึ้น อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าตามมา
อ้างอิง จากบทความวิชาการทางจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล