หูดหงอนไก่ (Genital warts) : ติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด
หูดหงอนไก่ (Genital warts, Condyloma acuminata) คือ หูดที่พบขึ้นบ่อยบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus – HPV) โดยจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด
ส่วนใหญ่จะพบได้ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ 17-33 ปี ทั้งหญิงและชาย แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงมากกว่า ในบางครั้งอาจเรียกโรคนี้ว่า “หงอนไก่“, “หูดอวัยวะเพศ” หรือ “หูดกามโรค” และมักพบการติดเชื้อได้สูง ในกลุ่มที่ภูมิต้านทานบกพร่อง เช่น กลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวี
ลักษณะอาการ : มักพบเป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อน คล้ายหงอนไก่ มีจำนวนและขนาดแตกต่างกัน อาจพบได้มากกว่า 1 แห่ง พบบ่อยที่บริเวณ คอคอดของอวัยวะเพศชาย หรือเส้นสองสลึง ,แคมช่องคลอด และปากมดลูกของเพศหญิง ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ ที่อาจพบได้บ้างก็ได้แก่ ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ช่องปาก ลำคอ หลอดลม เป็นต้น
ปกติไม่มีอาการอะไร ยกเว้นมีการฉีกขาดเลือดออก หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้อักเสบเป็นหนอง
แนวทางการรักษา
1. จี้ด้วย น้ำยา 20-40 % Podophylline หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จะมีวิธีการใช้อธิบายอย่างละเอียดในกล่อง ทำใด้ทุกอาทิตย์ จนกว่าจะหลุดหมด
2. แต้มด้วย 50 % TCA แต่ต้องไปทำที่คลินิกแพทย์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ถ้าแต้มเกิน 6 ครั้ง ยังไม่หายขาด
3. จี้ด้วยไฟฟ้า หรือจี้ด้วยความเย็น หรือทำ เลเซอร์ ด้วย CO2 laser
หากคู่นอนมีอาการของหูดหงอนไก่ ควรพาอีกคนมาพบแพทย์และรักษาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำไปมาซึ่งกันและกันหลังการรักษา
ในกรณีที่แพทย์ยืนยันว่าเป็นหูดหงอนไก่จริง ผู้ป่วยควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วยเสมอ เช่น โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ หนองใน พยาธิในช่องคลอด ฯลฯ เพราะมักพบเกิดร่วมกันได้
วิธีป้องกันหูดหงอนไก่
1.มีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่นอนของตน
2. หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง แม้การใช้ถุงยางอนามัยอาจไม่สามารถป้องกันหูดหงอนไก่ได้ 100% แต่ก็เป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
3. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ได้ตามรพ. หรือคลินิกที่มีให้บริการ โดยแนะนำให้ฉีดได้ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุระหว่าง 11-12 ปี เพื่อการป้องกันหูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก