DHEA : ฮอร์โมนที่จัดเป็นกลุ่มอาหารเสริม เพื่อการชะลอวัย ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
DHEA คืออะไร
DHEA ย่อมาจาก Dehydroepiandrosterone จัดเป็นฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ( Adrenal glands บริเวณที่เรียกว่า Zona reticularis ) พบมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์
DHEA เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของฮอร์โมนเพศที่สำคัญ อันได้แก่
1. Testosterone(ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญ)
2. Estrogen(ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญ)
3. Androstenidione
DHEA จัดเป็นกลุ่มฮอร์โมนชะลอความชรา (Anti-aging hormone) เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ,Testosterone,Estrogen และเมลาโตนิน (Melationin) โดย DHEA มีหน้าที่สำคัญๆ ดังนี้
1. ควบคุมการผลิตฮอร์โมน 18 ตัวในร่างกาย อย่างเป็นระบบ ที่สำคัญเป็นต้นตอของฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง
2. ลดการสะสมของไขมัน
3. เพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยการกระตุ้นการผลิตและการทำงานของเม็ดเลือดขาว
4. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ และมะเร็งผิวหนัง
5. เพิ่มการทำงานของสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ชะลออาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์
6. ลดอาการวัยทองในสุภาพสตรี ช่วยในการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ลดโคเลสเตอรอล และลดอาการซึมเศร้า
7. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากมีหลักฐานว่าช่วยลดระดับฮอร์โมน cortisol ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและเป็นสาหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ
8. ช่วยทำให้เส้นผมและขนเจริญเติบโต โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ หัวเหน่า (pubic hairs)
9. ช่วยทำให้ผิวพรรณเต่งตึง ลดริ้วรอย เสริมสร้างคอลลาเจน
10. ช่วยทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น
ฮอร์โมน DHEA ปกติร่างกายจะสร้าง ตั้งแต่อยู่ในครรภ์และจะมีมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ 25 ปี หลังจากนั้นจะลดลงเรื่อยๆ พบว่า เมื่ออายุ 65 ปีจะมีปริมาณเหลือเพียง 20% ของคนหนุ่มสาว (อายุ 20 ปี ) นอกจากนี้ สาเหตุบางอย่าง เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ ก็ทำให้ระดับฮอร์โมน DHEA ลดลงได้เช่นกัน
DHEA ตรวจได้อย่างไร :
ปัจจุบัน ประเทศไทยเราสามารถจะตรวจหาระดับฮอร์โมน DHEA ได้ในกระแสเลือด โดยการตรวจต้องส่งห้องแลบที่ทำการให้บริการด้าน Anti-Aging โดยเฉพาะ เพราะตามรพ.ทั่วๆ ไป อาจจะยังไม่สามารถให้บริการได้ โดยเมื่อตรวจพบว่า ร่างกายเรามีระดับฮอร์โมน DHEA ลดลง เราจะได้ป้องกันอาการต่างๆ และหาทางเพิ่มระดับฮอร์โมนนี้ให้สูงขึ้น หรือเข้าสู่ภาวะปกติได้
ภาวะพร่อง DHEA :
โดยพบว่า เมื่อใดที่ร่างกายมีภาวะพร่องฮอร์โมน DHEA ( DHEA Deficiency) จะพบมีอาการดังต่อไปนี้
- อาจจะมีอาการผมร่วงทั่วหนังศีรษะ เส้นผมบางลง เส้นผมแห้งกรอบ
- ขนรักแร้ ขนที่หัวหน่าว ลดลงชัดเจน
- อ้วนง่าย มีไขมันส่วนเกิน โดยเฉพาะที่พุง
- ความต้องการทางเพศลดลง
- เหนื่อยเพลียง่าย (Fatique) หงุดหงิด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย
- ตาแห้ง ผิวหนังแห้ง ขาดความชุ่มชื้น
แนวทางการเพิ่มระดับ ฮอรโมน DHEA
1. อาหาร : พบว่าอาหารจำพวกปลา ไข่ ผัก ผลไม้ สัตว์ปีก ถั่ว หรือธัญญพืช ต่างๆ ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนนี้ให้สูงขึ้นได้
2.การให้ฮอร์โมนทดแทน (DHEA Supplements) : พบว่า DHEA จัดเป็นฮอร์โมนตัวเดียวที่ FDA ของอเมริกา จัดอยู่ในกลุ่มอาหารเสริม เพราะมีความปลอดภัยสูง จะพบว่ามีวางขายตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าอาหารเสริมโดยทั่วไป DHEA-S เป็นที่นิยมและขายดีมากในต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกาสามารถหาชื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
ขนาดที่รับประทาน 25 มก.ต่อวัน (สำหรับผู้หญิง) และ 50 มก(.สำหรับผู้ชาย ) ซึ่งพบว่าถ้ารับประทานในขนาดนี้ จะไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายใดๆ เพียงแต่บางคน อาจจะมีผิวมัน สิว หรือขนดกมากขึ้น เนื่องจาก อาจจะมีผลไปทำให้ระดับ Testosterone สูงขึ้นได้