โครเมียม (Chromium) : แร่ธาตุ ที่มีบทบาทในการควบคุมน้ำตาล ไม่ให้กลายเป็นไขมัน
โครเมียม(Chromium ) เป็นแร่ธาตุ ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับรางกาย โดยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า โครเมียมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส หรือคาร์โบไฮเดรตของเซลล์เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
โครเมียม(Chromium) ในร่างกาย พบว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Glucose tolerance factor (GTF)
GTF สำคัญอย่างไร
ช่วยเพิ่มการทำงานของฮอรโมนอินซูลิน ที่มีหน้าที่ในการนำ น้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าเซลล์เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โดยเชื่อว่า GTF จะไปเพิ่มตัวรับ(Receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ให้สามารถเปิดรับเอากลูโคสเข้าเซลล์ได้มากขึ้น และ GTF ยังเกี่ยวข้องในขบวนการเมตาโบลิซึม ของคาร์โบไฮเดรตด้วย จึงเชื่อว่าสามารถควบคุมระดับของปริมาณคลอเรสเตอรอลได้ด้วย โดยการไปเพิ่ม HDL ทำให้ LDL ซึ่งเป็นตัวปัญหาของการอุดตันของหลอดเลือดลดลง
โครเมียม พบได้ในอาหาร
Brewer’s yeats,ตับ,แครอท,เนย ไข่ กุ้ง ไก่ แอบเปิล กล้วย ผักขม ฯลฯ
ข้อบ่งชี้ในการรับประทาน โครเมียม(Chromium Picolinate) เพื่อเป็นอาหารเสริม
1.ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่เกิดจากการบกพร่องของฮอรโมนอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes= DM type2)
2. นักกีฬาขณะแข่งขัน ที่จำเป็นต้องสร้างพลังงานจากสารอาหาร เพื่อทำให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ในผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดปริมาณกลูโคสที่มากเกินความจำเป็น เพราะอาจจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมได้
4. ผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดสูง และมีปัญหาของหลอดเลือดแข็งอุดตันจากไขมันดังกล่าว
โครเมียม(Chromium) ในรูปแบบอาหารเสริม
พบว่า โครเมียม(Chromium) ในรูปของ Chromium Picolinate ถือว่าสามารถดูดซึมผ่านทางเดินอาหารของมนุษย์ได้ดี โดยในปี 1989 สถาบันวิทยาศาสตร์ของอเมริกา ได้ประกาศว่า ปริมาณ โครเมียม(Chromium) ที่ปลอดภัยและจำเป็นสำหรับร่างกาย อยู่ที่ 50-200 Mcg./วัน และในท้องตลาดปัจจุบันได้มีการจำหน่าย โครเมียม(Chromium) ในรูปอาหารเสริม จะประกอบด้วย Chromium Picolinate 200 Mcg/capsule
เอกสารอ้างอิง; Andersan RA. Nutritional factors influencing the glucose/insulin system;Chromium,J Am Call Nutr 1997;16-4-10