Posted on

แก้ผิวพัง สิวเรื้อรัง สิวอักเสบ

สาเหตุของการเกิดสิวอุดตัน?

เกิดจากท่อไขมันอุดตัน ไม่สามารถระบายไขมันออกมาได้สะดวก จึงเกิดการอุดตันของไขมัน
ทำให้เกิดสิวได้ทุกรูปแบบ  และมักจะเป็นเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดจากการไปกดสิว บีบสิว แบบผิดวิธี

ชนิดของสิว

ประเภทของสิวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. สิวไม่อักเสบหรือสิวอุดตัน (Comedone)
– สิวหัวขาว (Close Comedone)
– สิวหัวดำ (Open Comedone)

2. สิวอักเสบ (INFLAMMATORY)
– สิวอักเสบตุ่มแดง (Papule)
– สิวหัวหนอง (Pastule)
– สิวหัวช้าง (Nodule)

เป็นสิวเรื้อรัง ไม่หายสักที ระบบร่างกายบอกอะไร?

สิวเรื้อรัง ที่หน้าผาก ปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร การดูเเลเบื้องต้น
ควรทาน ธัญพืชเเละดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ

สิวที่ขมับ ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของตับเเละการพักผ่อนไม่เพียงพอ 
การดูเเลเบื้องต้น เสี่ยงของมัน ของทอด เเละพักผ่อนให้เพียงพอ

สิวที่คิ้ว ทานอาหารที่มีรสเค็มจัด ( โซเดียม ) มากเกินไป เเละเเพ้ครีมหรือยาสระผม 
การดูเเลเบื้องต้น ลดอาหารเค็มจัด

สิวอุดตัน ที่จมูก ปัญหาเกี่ยวกับระบบฮอร์โมน การดูเเลเบื้องต้น
ควรทานอาหารประเภทผักผลไม้ให้มาก ๆ

สิวเรื้อรัง ที่คาง ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้เล็ก ทานอาหารรสจัดเกินไป 
การดูเเลเบื้องต้น ควรทานผักผลไม้ เเล้วดื่มน้ำมาก ๆ

สิวอักเสบ ที่เเก้ม ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ภูมิเเพ้ 
การดูเเลเบื้องต้น ทานอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินเอ เช่น ส้ม สตอเบอรี่ มะเขือเทศ ดื่มน้ำวันละ 7 เเก้ว

การรักษาสิวแบบใหม่! ไม่ต้องใช้ยา

Finescan Laser จะไปล้างท่อไขมัน เพื่อลดการอุดตัน ขณะเดียวกันเลเซอร์
จะช่วยลดการทำงานของต่อมไขมัน จึงทำให้หน้ามันลดลง รูขุมขนกระชับขึ้น
และรักษารอยแผลเป็นจากสิวได้ในคราวเดียวกัน

Posted on 4 Comments

รอยหลุมสิว การรักษาอย่างไร แบบไหน ได้ผลดี ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ต้องพักฟื้น คืนผิวเนียน

ชนิดของหลุมสิว

ปัญหาแผลเป็น รอยหลุมสิว มักเกิดจากสาเหตุการมีปัญหาสิวอักเสบมาก่อน เมื่อแตกหรือยุบตัว ก็เกิดรอยหลุมขึ้น ซึ่งมักจะเกิดจากสิวอักเสบขนาดใหญ่แตกและยุบตัวอย่างรวดเร็ว(แม้จะไม่ได้กดหรือบีบเอง) หรือสิวอุดตันหรือสิวอักเสบขนาดเล็ก ที่รักษาไม่ถูกวิธี มีการกดหรือบีบสิวอย่างผิดวิธี
ชนิดของรอยหลุมสิว( Contour irregularities acne scar) ( ดูภาพประกอบที่ 1) แบ่งได้เป็น

1. Ice Pick Scar: เป็นรอยหลุมจิกลึก ขอบแคบ ขนาดมักไม่เกิน 0.5 มม. แล้วอาจจะกว้างเล็กน้อยที่ฐานของหลุม มักเกิดจากการกดหรือบีบสิวอุดตันให้หลุดออก เป็นรอยหลุมที่รักษาให้เรียบได้ยากที่สุด กว่าแบบอื่นๆ
2. Box car Scar: เป็นรอยหลุมกว้าง ขนาดใหญ่ คล้ายล้อรถทับ ขนาดมักจะประมาณ 3-4 มม. ขอบและฐานหลุมขนาดใกล้เคียงกัน มักจะพบพังผืด (fibrosis) เกาะติดในชั้นหนังแท้ มักเกิดจากผลของอักเสบของสิวขนาดใหญ่ๆ หรือแผลเป็นอีสุกอีใส ทำให้เวลาดึงให้ตึงจะเรียบได้ยาก เป็นรอยหลุมที่รักษาได้ยากเช่นกัน
3. Rolling Scar: มีลักษณะเป็นรอยหลุมฐานโค้งคล้ายกะทะ พื้นนุ่ม เวลาดึงให้ตึง แล้วทำให้ขอบแผลเรียบได้ มักเกิดจากผลของอักเสบของสิวขนาดใหญ่ๆ ที่ได้รับการรักษามาบ้าง แต่การยุบตัวของสิวไม่สัมพันธ์กับการสมานผิว เป็นรอยหลุมสิวที่ให้ผลการรักษาได้ดีกว่ารอยหลุมแบบอื่น
4. Hypertrophic Scar มีลักษณะแผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ มักจะเกิดจากสิวที่มีการอักเสบและติดเชื้อรุนแรง ทำให้เกิดการสมานแผลผิดปกติ  ส่วนใหญ่จะเกิดน้อย ยกเว้นในคนที่มีปัญหาเกิดคีลอยด์ได้ง่ายอยู่แล้ว

การรักษารอยหลุมสิวที่คลินิกนีโอ :

การรักษาหลุมสิว มีหลายๆ วิธี มีการพัฒนาให้ได้ผลมากที่สุด แต่ก็ยังไม่มีวิธีใด วิธีเดียว ที่จะได้ผล 100% ต้องใช้การรักษาแบบผสมผสาน หลายๆ วิธี หลักๆ คือ ทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น และทำให้หลุมสิวเต็มขึ้น ส่วนจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนกันขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยหลุมด้วย แบ่งกลไกการรักษาดังนี้
1. การทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น
2 การทำให้หลุมสิวเต็มขึ้น
3. ศัลยกรรมตัดพังผืด แผลเป็นสิว

1.การทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น: 

โดยการลอกผิวออก อาจจะลอกออกแบบตื้นๆ หรือลอกลึก แล้วแต่การรักษา  ตั้งแต่ลอกตื้นๆ จนลอกลึก แต่ที่คลินิกนีโอ จะใช้เพียง 2 วิธี ที่เหมาะกับผิวคนเอเซีย
1.1.Chemical Peeling : โดยการแต้มด้วยกรดเข้มข้น เช่น 50-70 % AHAs หรือ 30-50% TCA กลไกการรักษา ก็คือ การทำให้เซลล์ผิวชั้นนอกบริเวณรอยหลุม หลุดลอกออกช้าๆ เพื่อเตรียมให้บริเวณที่ต้องการรักษา นุ่มและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้เซลล์ผิวใหม่ได้มีการแบ่งตัว และดันตัวขึ้นมาบริเวณรอยหลุม พร้อมแก้ไขเซลผิวหน้าชั้นนอกที่มีปัญหาให้กลับคืนสู่สภาพปกติ มักจะใช้ในการรักษารอยหลุมสิวทั้ง 3 แบบ คือIce Pick scar,Box car scar,Rolling scar โดยแต้มทุก 2-3 อาทิตย์ต่อครั้ง
1.2 Fractional RF non-needle (E-matrix) : เป็น Fractional RF แบบที่ไม่ใช้เข็ม จัดเป็นการรักษารอยหลุมสิวแบบทำให้ตื้นขึ้นที่ได้ผลดีสุด ในปัจจุบัน โดยหัวพลังงาน RF  แต่จะเป็นหัวที่สัมผัสกับผิว   โดยจะปล่อย RF  ชนิด Bipolar RF   ซึ่งจะมีกระแสเป็น + / – สลับกัน และมี Pattern การวิ่งของคลื่น RF แบบ Dual Matrix คือ วิ่งซิกแซกไปมา เพื่อลดแรงเสียดทานที่ผิว ทำให้ลดความเจ็บปวดขณะทำ แต่ได้ผลเป็นเลิศ พร้อมกับมีการใช้เทคนิคเฉพาะที่เรียกว่า Select Pulse เพื่อให้ได้ผลการรักษาเทียบเท่ากับการทำ Resurfacing และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนที่ให้ผลเทียบได้กับ Er-Glass Er-Yag และ Co2 จึง เท่ากับการนำอุปกรณ์เครื่องมือการรักษา 3 ชนิด มารวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน เพื่อใช้ในการรักษาริ้วรอย หลุมสิวที่ไม่มีพังผืด  กระชับรูขุมขน ความผิดปกติของเม็ดสี ผิวไม่เรียบเนียน หลังทำอาจจะเป็นรอยดำและลอกออก ใน 3-4 วัน

2. การทำให้ รอยหลุมให้เต็มขึ้น

หลักการคือการสร้างเซลล์ผิวใหม่ มาทดแทนเซลล์ผิวเดิมที่ได้ยุบตัวลงเป็นหลุม มีหลายวิธี แต่ที่คลินิกนีโอ จะใช้เพียง 2 วิธี ที่เหมาะกับผิวคนเอเซีย
2.1 Fractional RF Micro-needling (F.R.M) : จัดเป็นนวัตกรรมรักษารอยหลุมสิว ที่ได้ผลดีมากสุดในปัจจุบัน และ ผลข้างเคียงน้อยสุด เป็นการนำเอา  พลังงานคลื่นวิทยุ RF ปล่อยลงที่ปลายเข็มที่มีขนาดเล็ก เข็มจะตัดพังผืดแนวยาว และพลังงาน RF ที่ปลายเข็ม จะกระตุ้นการสร้างเนื้่อใหม่ โดยมีข้อแตกต่างกันที่ Fractional Laser  ตรงที่พลังงานจะลงไปลึกกว่าและกว้างกว่าพลังงานเลเซอร์ เหมาะกับทุกสภาพสีผิว
2.2 Fractional Erbium Laser -1550( Finescan-1550 ): คือ เลเซอร์ที่ใช้รักษาหลุมสิว โดยหลักการทำงาน คือการยิงแสงเป็นลำเล็กๆ จำนวนมาก เพื่อทำให้เกิดการทำลายรอยหลุม แล้วก่อให้เกิดการบาดเจ็บเล็กๆ (micro-injuries) หลังจากนั้นก็จะเกิดการสมานแผล และสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ หลังทำ ผิวหน้าจึงกระชับขึ้น รูขุมขนเล็กลง รอยหลุมตื้นขึ้น รอยด่างดำ จางลง แต่ไม่เหมาะกับคนสีผิวคล้ำ เพราะอาจจะทำให้ผิวคล้ำ ดำกว่าเดิมได้

3. ศัลยกรรมตัดพังผืด แผลเป็นสิว

การทำศัลยกรรมรอยหลุมสิว เดิมมีหลายวิธี แต่วิธีเดิมๆ มักจะทำให้เกิดแผลเป็น รอยเย็บ แต่คลินิกนีโอ เลือกเฉพาะที่ทำแล้วได้ผล ไม่มีแผลเป็น ไม่ต้องพักฟื้น ได้แก่
3.1 Norkor Needle Subcision:  คือการใช้เข็มที่มีใบมีดอยู่ตรงปลายเข็ม ใช้สำหรับทำ Subcision โดยเฉพาะ  ขนาดเท่าเบอร์ 18 แทงเซาะบริเวณใต้ฐานหลุม ทำให้มีการแยกชั้นของผิวหนัง พังผืดที่ยึดเกาะรอยหลุมก็จะหลุดออก เกิดเลือดมาสะสมที่ในรอยแยก พร้อมกับนำพา Fibroblast มาทำการซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ ให้มีการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ เหมาะกับหลุมสิว ice-pitch scar หรือ box scar ที่มีพังผืดยึดเกาะไม่มากนัก
3.2 Blunt Blade Subcision  : จัดเป็นทางเลือกใหม่ในการทำ Subcision โดยแทนที่จะตัดพังผืดให้ขาดออกด้วยความคมของใบมีดเช่น Nokor Needle ซึ่งอาจจะมีแผลเป็นเล็กๆ จากความคมของใบมีดเอง เปลี่ยนมาเป็นใบมีดแบบทู่ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะในการทำให้พังผืดเกิดการฉีดขาดแทนการตัด โอกาสที่จะเกิดแผลเป็นก็จะน้อยกว่า โดยมีหลากหลายขนาดของเครื่องมือ เหมาะสำหรับรอยหลุมขนาดใหญ่ และมีพังผืดเกาะค่อนข้างหนา

Posted on

รอยหลุมสิว ไม่ว่าแย่แค่ไหน ก็แก้ไข รักษาให้ตื้นขึ้นได้ด้วยการตัดพังผืด ด้วย Blunt Blade Subcision

พังผืด คือสาเหตุที่หลุมสิวไม่ยอมหายซักที

– หลุมสิวส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของสิว การอักเสบนั้นอาจจะทำลายลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้ทำให้คอลลาเจน (Collagen) ในส่วนนั้นถูกทำลาย แต่เมื่อการอักเสบหายไป บางครั้งอาจจะไม่มีการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาซ่อมแซม หรือการซ่อมแซมเป็นไปได้ช้าจน
– ในที่สุดก็กลายเป็นพังผืด แผลเป็นหลุมบนผิวหน้า ทำให้ผิวหน้าไม่เรียบเนียน แม้จะทำการรักษารอยหลุมหลายวิธี ไม่ว่าจะเลเซอร์ หรืออะไร ก็ยังมีรอยหลุมให้สังเกตได้อยู่ เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะมีพังผืดยึดเกาะหลุมสิวอย่างแน่นหนา ทำให้การสร้างเนื้อใหม่ให้หลุมสิวตื้นขึ้น ทำได้ยาก

Subcison คืออะไร

Subcision เป็นการรักษารอยหลุมวิธีหนึ่ง โดยทำให้หลุมสิวตื้นขึน จากการตัดเลาะพังผืดที่ยึดติดรอยหลุมออก โดยวิธีนี้จะเป็นการตัดพังผืดแล้วทำให้มีการแยกชั้นของผิวหนัง พังผืดที่ยึดเกาะรอยหลุมจากผิวปกติ โดยจะมีเเลือดมาสะสมที่ในรอยแยก พร้อมกับนำพา Fibroblast มาทำการซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ ให้มีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ ปกติถ้าพังผืดไม่มาก เรามักจะใช้ เข็ม
Nokor Needle ซึ่งเป็นเข็มที่มีใบมีดอยู่ตรงปลายเข็ม ผลิตมาเพื่อใช้สำหรับทำ Subcision โดยเฉพาะ ขนาดของเข็มประมาณเบอร์ 18 โดยจะแทงเซาะบริเวณใต้ฐานหลุม ในแนวตามขวาง แต่การทำ Subcision ด้วย Nokor Needle ก็มีข้อจำกัด เพราะถ้าหากหลุมสิวที่อักเสบรุนแรง มีขนาดใหญ่ และมีจำนวนมากบนใบหน้า จะมีผลข้างเคียงคือเลือดจะออกมาก ผิวหน้าจะช้ำมาก และถ้าทำรุนแรง อาจจะมีแผลเป็นพังผืดจากการตัดของ Nokor Needle เองก็ได้ ทำให้แผลเป็นหลุมกลับมาใหม่ได้อีก และวิธีนี้ก็คาดผลการรักษาได้ค่อยข้างยาก โดยเฉพาะในบริเวณแผลเป็นที่ขมับ หรือแผลเป็นที่มีพังผืดหนาตัดยาก นอกจากนี้ยังต้องทำหลายครั้งกว่าจะได้ผลในการตัดพังผืดที่ยึดติดกับรอยหลุม และอัตราการได้ผลก็ยังประมาณ 30-40%

Blunt Blade Subcision คืออะไร

Blunt Blade Subcision จัดเป็นทางเลือกใหม่ในการทำ Subcision โดยแทนที่จะตัดพังผืดให้ขาดออกด้วยความคมของใบมีดเช่น Nokor Needle ซึ่งอาจจะมีแผลเป็นเล็กๆ จากความคมของใบมีดเอง เปลี่ยนมาเป็นใบมีดแบบทู่ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะในการทำให้พังผืดเกิดการฉีดขาดแทนการตัด โอกาสที่จะเกิดแผลเป็นก็จะน้อยกว่า โดยมีหลากหลายขนาดของเครื่องมือ สำหรับรอยหลุมบริเวณเล็กๆ หรือรอยหลุมใหญ่ทั่วใบหน้า

ขั้นตอนการทำ Blunt Blade Subcision

  1. ทำความสะอาดผิวหน้าให้ทั่วด้วย Betadine solution และ Alcohol เพื่อความสะอาด
  2. ฉีดยาชาปริมาณมากให้ทั่วบริเวณรอยหลุมที่จะทำ เพื่อให้เกิดรอยแยกระหว่างชั้นผิวหนังกับเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านล่าง คล้ายๆ ขั้นตอนการดูดไขมัน
  3. เจาะรูบริเวณเหนือขมับเพียงรูเดียว หรือในบริเวณที่จะทำแล้วทำการสอด Blunt Subcision Blade ดังในภาพ ทำการแทงไปแทงมาให้พังผืดฉีดขาด แยกตัวออกมาจากเนื้อเยื่อด้านล่าง โดยมี Blunt Subcision Blade ทั้งแบบตัดตามขวาง ทางลึก หรือชั้นบนผิวหนัง เพียง 5-10 นาทีก็ถือว่าเสร็จสิ้น

ผลข้างเคียงที่พบได้ : เจ็บปานกลางพอทนได้ อาจจะมีอาการบวมหลังทำได้ จากยาชาที่ฉีดเข้าไป  หรือรอยฟกช้ำได้บ้าง แต่ก็จะหายได้เองภายในไม่เกิน 1 อาทิตย์ หลังทำ Blunt Blade Subcision อาจจะทำ Fractional RF microneedle ตามเลยเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน พบมีรายงาน
การทำ Blunt Blade Subcision เพียงครั้งเดียว จะทำให้พังผืดที่รอยหลุมหลุดออกได้ถึง 83.3 % และถ้าตามด้วย Fractional RF microneedle ต่ออีกประมาณ 4-5 ครั้ง รอยหลุมแทบจะเรียบเนียนได้มากกว่า 95%

Posted on

งานวิจัย : ขนมปังฟอกขาว VS ช็อกโกแลต อย่างไหน ทำให้เกิดได้สิวได้ง่ายกว่า

ขนมปัง VS ช็อกโกแลต กับการเกิดสิว

ได้มีรายงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด ในอเมริกา พบว่า ขนมปังฟอกขาว และ ซีรีล หรือเมล็ดธัญพืชอบแห้ง เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิวได้มากกว่า ช็อกโกแลตหรืออาหารมันจัดอีก
เหตุผล เพราะอาหารประเภทแป้งที่ได้ผ่านกระบวนการฟอกสี หรือขัดสีธรรมชาติให้กลายเป็นสีขาวนั้น จะทำให้กระเพาะอาหารย่อยได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะถูกดูดซึมได้ง่าย จึงกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ออกมาย่อยเพื่อเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลและพลังงานต่อไป แต่ก็ทำให้มีปริมาณ IFG-1 (Insulin-like-growth-factor) สูงขึ้นได้ด้วย

อินซูลิน และ IFG-1 จะมีผลต่อการผลิตฮอรโมนเพศชาย Testosterone มากขึ้นด้วย จึงทำให้มีการผลิตไขมัน ที่ต่อมไขมัน Sebaceous glands มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผิวหน้ามันมากขึ้น และ Sebum นี้เองเป็นที่โปรดปราน ของเชื้อแบคทีเรียสิว P.acne เป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้มีโอกาสเกิดสิวอักเสบได้ง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า IFG-1 ยังทำให้เซลล์ผิวหนังที่เรียกว่า Keratinocytes แพร่กระจาย และทำให้สิวลุกลามไปหลายๆ แห่งด้วย

ดังนั้นท่านที่ชื่นชอบอาหารแป้ง ขนมปัง อาหารที่ย่อยง่าย ทั้งหลาย คงต้องพึงระวังภาวะสิวลุกลามไว้บ้างนะครับ

Posted on 2 Comments

รูขุมขนกว้าง (Large Pores) ทำอย่างไร ให้รูขุมขนกระชับ ปรับผิวให้เรียบเนียน

สาเหตุของรูขุมขนกว้าง

รูขุมขน คือรูของผิวหนังที่ให้ขนงอกออกมา ปกติท่อที่เปิดตามผิวพรรณทั่วไป จะมี 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ ท่อเปิดต่อมเหงื่อ และท่อเปิดรูขุมขน
รูขุมขนกว้าง จะถือว่าเป็นปัญหาหรือไม่ใช่ปัญหาก็ได้ เนื่องจากไม่ใช่โรคทางผิวหนังและก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด ยกเว้นเรื่องความสวยงาม เพราะคนที่มีรูขุมขนกว้าง มักจะมีหน้ามัน และมีโอกาสมีสิวเสี้ยนได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีปัญหาดังกล่าว ซึ่งรูขุมขน จะมีขนาดโตมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับ
1. อายุ เมื่ออายุเกิน 20 ปีขึ้นไปรูขุมขนมีโอกาสจะโตมากขึ้นตามธรรมชาติ
2. ลักษณะผิว ในกรณีที่มีผิวหน้ามันมาก โอกาสจะมีรูขุมขนกว้างมากขึ้น จะเกิดขึ้นเร็วและโตกว่าคนที่มีผิวธรรมดาหรือผิวแห้ง
แนวทางการป้องกันรูขุมขนกว้าง
พยายามลดความมันบนใบหน้า เพื่อเป็นการป้องกัน มีได้หลายๆ วิธีดังนี้
1. การล้างหน้าบ่อยๆ
2 เลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าสำหรับผิวมัน ซึ่งมักจะได้แก่ สบู่ล้างหน้า หรือโฟมล้างหน้า
3 . การทาโลชั่นลดความมัน หรือเจลควบคุมความมัน
4. การรับประทานยากลุ่มเรตินอยด์ กรณีที่ผิวหน้ามันมากๆ และได้ปฏิบัติในข้อ 1.1-1.3 แล้วไม่ดีขึ้น ได้แก่ยา roaccutane,Isotretinoin แต่ปัจจุบันไม่ค่อยแนะนำเพราะมีผลต่อตับ ระดับไขมันในเลือด และทารกในครรภ์ได้

การรักษารูขุมขนกว้าง

1 การทำไอออนโต โดยใช้ยากลุ่มวิตามินเอ,hyaluronic acid,aloe vera
2 การทาครีมที่ผสมด้วยกรดผลไม้อ่อนๆ เช่น AHA,BHA เป็นประจำ
3 การกรอผิวหน้าด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion)
4 การกรอผิวหน้าด้วย Laser ( Laser Resufacement)
5 การทำ Photorejuvenation ด้วยเครื่อง IPL (Intense Pulse Light)
6 การทำ Skin Needling: จัดเป็นอีกเทคนิคในการรักษารูขุมขนกว้าง โดยเริ่มมีการนำมารักษาในเมืองไทย ประมาณ ค.ศ.2006 โดยพบได้ผลดีมากกว่าแบบเดิมๆ หลักการทำโดยการใช้ลูกกลิ้งที่มีเข็มเล็กๆ ติดที่ปลาย กลิ้งไปบนใบหน้า ทำให้เกิดรูเล็กๆ จำนวนมากในชั้นหนังแท้ แล้วให้ร่างกายทำการซ่อมแซมเนื้อเยื่อเอง ทั้งการสร้างคอลลาเจนใหม่ และการเรียงตัวของเซลล์ จึงทำให้ผิวหน้ากลับมาเรียบเนียนดีขึ้นได้ เพียงแต่ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีให้บริการ เนื่องจากอย. ไม่อนุญาตให้ดำเนินการได้
การรักษารูขุมขนกว้าง ตั้งแต่วิธีที่ 1-6  ปัจจุบัน ถือว่าได้ผลน้อย และต้องทำหลายครั้ง ยังไม่ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้มาตรฐานสากล

7 Fractional Laser : ถือเป็นการรักษารูขุมขนกว้าง ด้วยเลเซอร์ กลุ่ม Non-ablative Laser โดยเริ่มมีการนำมารักษาปัญหาเรื่องรูขุมขนกว้าง ในปี ค.ศ. 2004 และได้การรับรองจาก FDA จากอเมริกา ในปี ค.ศ. 2006 ว่านอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอย ฝ้า กระ ตลอดจนรอยหลุมสิว ผิวหน้าไม่เรียบ ให้มีสภาพกลับมาดีขึ้น อย่างได้ผลชัดเจน แล้ว ยังใช้รักษารูขุมขนกว้าง ให้กระชับได้อีก โดยใช้หลักการรักษาแบบนี้ จะลอกผิวด้วยเลเซอร์ด้วยเทคนิค Micro-Laser Peel จึงเลือกระดับความลึกของการลอกหน้าได้ตามสภาพผิวหน้าและสีผิวของคนไข้ ตั้งแต่ 1/10มิลลิเมตร –2 มิลลิเมตร :ซึ่งถ้าใช้พลังงานต่ำ ก็ได้ผลน้อยและช้า จึงมักจะใช้พลังงานสูง เพราะได้ผลดีและเร็วแต่ผลข้างเคียง เช่น รอยดำ รอยแดง ซึ่งคนไข้ต้องยอมรับ และต้องมีการพักหน้าหลังทำ 4-5 วันและต้องเลี่ยงแดดหลังทำประมาณ 2 อาทิตย์
ส่วนเลเซอร์ที่ใช้หลักการรักษาแบบนี้ ก็ได้แก่ Fraxel,Fine Scan 1550 ซึ่งเลเซอร์ทั้งสองตัวนี้ ปัจจุบันถือว่าเป็น เลเซอร์ที่นิยมนำมารักษาเรื่องรูขุมขนกว้างมากที่สุด เพราะได้ผลดีมากกว่า 60-80% โดยเฉพาะ Fine Scan 1550 จัดเป็นเลเซอร์สำหรับผิวคนไทย หรือคนเอเซีย โดยเฉพาะ อ่านบทความเรื่อง Fine Scan 1550
8  Frctional RF-non needle(E-Matrix)   : จัด เป็นนวัตกรรมล่าสุดของปี 2012 ในการแก้ไขปัญหารูขุมขนกว้าง  เพราะถือว่าได้ผลไม่แพ้ Fractional laser  Fractional Laser เพราะนอกจากจะทำให้รูขุมขนกระชับแลัว ยังลอกผิวด้านบน จากรอยด่างดำให้เนียนใส ขึ้นได้ด้วย  แต่มีข้อจะผลข้างเคียงหลังทำมากกว่า Fractional Laser ตรงที่หลังทำ ผิวหน้าอาจจะมีรอยดำเป็นตารางๆ และต้องพักฟื้นหลังทำ 5-7 วัน เพื่อให้รอยดำลอกออก จัดเป็นการแก้ปัญหารูขุมขนกว้างที่ได้ผลไว แต่ไม่เหมาะกับคนสีผิวคล้ำ หรือต้องออกแดดบ่อยๆ

Posted on

สิวเสี้ยน : สาเหตุที่เกิด ป้องกันและกำจัดอย่างไร ให้หน้าเรียบเนียนใส ไม่มีสะดุด

สิวเสี้ยนคืออะไร

สิวเสี้ยน (Small Pimple or Trichostasis Spinulosa) เป็นความผิดปกติของต่อมรูขุมขนโดยมีลักษณะคล้ายสิวอุดตันหัวดำ หรือเป็นจุดดำๆ หรือมีหนามแหลมๆยื่นออกมาทางรูขุมขน ซึ่งก็คือ เซลล์กระจุกขน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว หรือสิ่งสกปรก คราบเครื่องสำอางค์ อุดตันอยู่ในรูขุมขน และไม่ยอมผลัดร่วงไปตามปกติ พบได้บ่อย บริเวณจมูก หน้าผาก หรือข้างแก้ม และที่หลังบริเวณกระดูกสบัก

สาเหตุของสิวเสี้ยน ได้แก่

  • การทำงานที่มากผิดปกติของฮอร์โมนเพศชาย
  • ปริมาณกรดไขมัน Linoleic Acid ที่อยู่ในซีบัมซึ่งอยู่บนผิวหนังชั้นนอกลดลง ทำให้ผิวหนังได้รับการปกป้องลดลง
  • ระบบภูมิคุ้มกันสร้างสารไซโทไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Pro-inflammatory Cytokines)
  • เชื้อแบคทีเรียสิว ( P. Acnes) ก่อให้เกิดสิวสร้างกรดไขมันอิสระมากเกินไป
  • การรบกวนผิวมากๆ เช่น การเช็ดถูหน้าแรงๆ, การขัดหรือนวดหน้า การบีบสิว ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้รูขุมขนถูกทำลาย ทำให้รูขุมขน หรือรากขนนั้นแตก ขนจึงมีสิทธิ์ที่จะคุดอยู่ข้างในได้เพิ่มมากขึ้น กลายเป็นหนามแหลมๆทั้งใบหน้าได้
  • สัมผัสกับสารเคมี เช่น ผลิตภัณฑ์แต่งผม และผลิตภัณฑ์ย้อมสีบางชนิดที่กระตุ้นการก่อให้เกิดสิว
  • สูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหารที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดสิว เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เป็นต้น

การรักษาสิวเสี้ยน

1. ครีมลอกสิวเสี้ยน : โดยครีมจะไปละลายการอุดตันของต่อมไขมัน กับมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว P.acne เช่น กรดวิตามินเอ(Retinoids) , กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) ,เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide)
2. การลอกผิวด้วยกรดเข้มข้น (Chemical Peeling ) : เช่น TCA,AHA,BHA เพื่อลอกผิวหน้า เปิดรูขุมขนหรือรูสิวเสี้ยน เพื่อง่ายต่อการกดออก หรือดึงออกด้วยครีมคีบสิวเสี้ยน แต่ไม่ช่วยเรื่องสิวเสี้ยนที่เป็นขนๆ เหมือนหนาม
3. Scottape technique: โดยอาจจะอยู่ในรูปของแผ่นแปะจมูกที่เคลือบสารเคมีที่ทำให้ติดแน่น แปะที่จมูกและทิ้งไว้ระยะหนึ่ง แล้วค่อยดึงออก แต่ก็มีข้อจำกัด คืออาจจะกำจัดสิวเสี้ยนได้ไม่หมด และไม่สามารถกำจัดสิวเสี้ยนได้ทุกที่
4. Laser :  เลเซอร์ที่ใช้มีหลายตัว เช่น Q-Switch Nd:YaG ( Revlite ,Pico laser ), Long-pulsed diode laser (Zoprano) ใช้กำจัดรอยดำ ขนที่คล้ายหนามในรูขุมขน ,Fractional laser 1550 ใช้รักษาสิวเสี้ยนหัวขาว จากท่อไขมันผิดปกติ และกระชับรูขุมขน และป้องกันการเกิดสิวเสี้ยนได้อีก

Revlite กำจัดสิวเสี้ยนหัวดำ
Finescan กำจัดสิวเสี้ยนหัวขาว

Posted on

สิว ไม่อยากไปหาหมอ หรือร้านยา สั่งออนไลน์มีหลักในการเลือก และใช้ยาอย่างไร

ยาสิวมีอะไรบ้าง เลือกตัวไหน แล้วใช้อย่างไร

1. ครีมแก้อักเสบฆ่าเชื้อสิว : ที่นิยมใช้กันในการทาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว ได้แก่ กลุ่ม Erytromycin,Clindamycin
วิธีใช้ แนะนำว่าก่อนใช้ ควรล้างหน้าให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น ซับให้แห้ง แล้วค่อยทายาให้ทั่วบริเวณที่เป็นสิว วันละ 2 ครั้ง การทาครั้งแรกๆ อาจจะรู้สึกแสบหรืออุ่นบริเวณที่ทา ทิ้งไว้อาการจะหายไปได้เอง ควรทายาทิ้งไว้จนแห้งสนิทจึงค่อยทายารักษาสิวตัวอื่นๆ ไม่ควรหยุดยาเอง แม้อาการสิวจะดีขึ้น
ข้อควรระวัง ควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะกลุ่มนี้มักจะต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยๆ จากการทากลุ่มนี้ คือ ผิวหนังแห้ง ระคายเคือง การเก็บรักษายากลุ่มนี้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ไม่ต้องแช่แข็ง
2. Benzoyl peroxide( BP) : จัดเป็นครีมทาป้องกันและรักษาสิวที่ดีตัวหนึ่ง ที่ยังไม่มีรายงานการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียสิว
วิธีใช้ มักจะให้ทาก่อนล้างหน้า ก่อนทาครีมตัวนี้ ต้องล้างเครื่องสำอางออกให้หมด และทำผิวหน้าให้สะอาดก่อน อาจจะทาทั่วหน้าหรือทาทิ้งไว้บริเวณที่เป็นสิว ประมาณ 5-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
ข้อควรระวัง การทายาครั้งแรกๆ อาจจะรู้สึกแสบหรืออุ่นเล็กน้อย ถ้าทนไม่ไหว อาจจะลดระยะเวลาในการทาทิ้งไว้ เหลือ 5 นาที วันละครั้ง เมื่อสภาพผิวหนังปรับสภาพทนยาได้ดีขึ้น จึงค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการทาทิ้งไว้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการทายา บริเวณที่ผิวหน้าบอบบาง เช่น รอบดวงตา ริมฝีปาก หรือเนื้อเยี่ออ่อน ระวังยาอย่าให้สัมผัสกับเสื้อผ้า หรือเส้นผม เพราะยาอาจจะกัดให้เกิดรอยด่างได้
– กรณีที่ต้องการใช้ยาทาวิตามินเอร่วมด้วย (เพื่อรักษาสิวอุดตัน) ควรทายาห่างกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะนอกจากจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้น้อยลงแล้ว ยังทำให้ผิวหน้าระคายเคืองได้มากขึ้นได้

3. ครีมทาสิวอุดตันกลุ่มวิตามินเอ ( Retinoids ) : จัดเป็นกลุ่มยาทาที่ใช้กันบ่อยๆ ในการรักษาสิว โดยเฉพาะกลุ่มสิวอุดตัน เช่น Retin-A , Tretinoin, Differin
วิธีใช้ ควรใช้เมื่อผิวหน้า แห้งสนิทหลังล้างหน้าประมาณ 20 นาที จะช่วยลดการระคายเคืองลงได้ ระยะเวลาในการเห็นผลจึงต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์ การทาครั้งแรกๆ อาจจะรู้สึกแสบหรืออุ่นบริเวณที่ทา ควรทายาทั่วใบหน้าในตอนกลางคืน และใช้ครีมกันแดดในช่วงเช้า
ข้อควรระวัง ไม่แนะนำให้ทาตอนเช้า เพราะตัวยาจะไวต่อรังสียูวี ในสัปดาห์แรกๆ ของใช้ยาทากรดวิตามินเอ อาจจะเกิดอาการสิวเห่อได้มากขึ้น ไม่ต้องหยุดทายา ให้ทาต่อไปเรื่อยๆ สิวจะค่อยๆ ฝ่อและหลุดหายไป
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยๆ คือ ผิวหนังลอก แดง และแห้ง ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่การแพ้ยา เมื่อผิวหน้าปรับสภาพได้ดีขึ้น อาการเหล่านี้จะลดลง
4. ยารับประทานกลุ่มวิตามินเอ(Vitamin A derivatives): ได้แก่ Roaccutane,ISOTANE,Acnotin เป็นยารับประทานสำหรับกรณีรักษาสิวที่เป็นรุนแรง ลดหน้ามัน
ข้อควรระวัง ผิวหน้าจะไวต่อแสง ปากแห้ง คอแห้ง ตาแห้ง (ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์) ผมร่วง (พบได้ร้อยละ 10) มีผลต่อทารกในครรภ์ และระดับไขมันในเลือดสูง หรือตับทำงานผิดปกติได้ ยากลุ่มนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

5. ยาปฏิชีวนะรับประทาน : หรือยาแก้อักเสบที่ใช้รักษาสิว ยากลุ่มนี้ ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ที่นิยมใช้กันก็ได้แก่
5.1 กลุ่มยา Tetracycline : ที่นิยมใช้และรู้จักกันดี ได้แก่ Tetracyclines,Doxycycline
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรรับประทานช่วงที่ท้องว่าง เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้
2. ไม่แนะนำให้ทานร่วมกับนมหรือยาลดกรดหรือยาที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก เพราะจะทำให้การดูดซึมยาลดลง
3. ไม่แนะนำให้ทานร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดลดลง หรือถ้าจำเป็น ควรทานห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง หรือเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ยาฉีดคุมกำเนิดหรือถุงยางอนามัย
5.2 กลุ่มยา Co-trimoxazole : อาทิเช่น Bactrim มักจะใช้กรณีที่สิวที่เกิด ไม่ได้เกิดจากเชื้อสิวปกติ
วิธีใช้ หลังรับประทานควรดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่ว มักจะพบปัญหาแพ้ยากลุ่มนี้ได้บ่อย อาการที่พบได้ คือ เกิดตุ่มน้ำพองใส มีผื่นแพ้ คัน และเจ็บคอ ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรหยุดยาทันที และรีบปรึกษาแพทย์
6. ยาทาลอกขุย (Peeling Agents) : ได้แก่กลุ่ม Salicylic acids,AHA,BHA,Sulfur มักจะใช้ในการรักษาสิวบริเวณอื่นๆ เช่น ลำตัว คอ แขน ขา เพื่อทำให้เกิดการหลุดลอกของสิว ทำให้สิวฝ่อ หรือทำให้หัวสิวเปิดออก แล้วหยุดออกไปเอง
วิธีใช้ เวลาใช้ต้องล้างหน้าและอาบน้ำให้สะอาด (กรณีสิวตามลำตัว) ซับให้แห้ง ทายาบางๆ 1-2 ครั้งต่อวัน โดยไม่ต้องล้างออก ถ้าต้องใช้ยาต้านแบคทีเรียสิว ชนิดน้ำหรือเจลร่วมด้วย แนะนำให้ทาหลังยากลุ่มนี้ ยาอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิว ไม่ต้องหยุดยา อาการจะหายไปได้เอง เมื่อใช้ยาไปซักระยะเวลาหนึ่ง ยากลุ่มนี้เมื่อใช้ไปนานๆ มักจะการเปลี่ยนสภาพ เช่น สีอาจจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล แสดงว่ายาเสื่อมสภาพ ให้ทิ้งไปไม่ต้องใช้ต่อ

Posted on

ผิวมัน (Oily Skin) ทาแป้งไม่ติด คิดแก้ไขอย่างไร จะได้ไม่เกิดสิว รูขุมขนกว้าง

ผิวมัน เกิดจากอะไร

ผิวมันเกิดจากต่อมไขมันบนใบหน้าผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป โดยมักพบได้ในชาย มากกว่าหญิง พบในวัยรุ่น จนถึงวัยกลางคน ปัญหาหน้ามันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ สิวอุดตัน และรูขุมขนกว้าง ในภายหลังได้ โดยปัจจัยที่อาจทำให้หน้ามัน ได้แก่

  • กรรมพันธุ์ ลักษณะทางพันธุกรรมที่ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป อาจถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นได้
  • สภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศก็อาจทำให้เกิดหน้ามันได้เช่นกัน
  • ระดับฮอร์โมนเพศชายในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ หรือป่วยด้วย ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อจนทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายขาดความสมดุล
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าหรือเครื่องสำอาง เพราะเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจทำให้ความมันบนใบหน้าขาดความสมดุล

การป้องกันและแก้ไข

 1. ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ควรเลือก สบู่ล้างหน้า อาจเป็นก้อน หรือ สบู่เหลวก็ได้ เพราะในสบู่ จะมีสารที่ทำให้เกิดฟอง ซึ่งสามารถลดความมันบนใบหน้าได้ ผู้ที่มีผิวมัน สามารถล้างหน้าได้บ่อย 4-5 ครั้งต่อวันได้ ในกรณีที่ไม่สามารถพกพาสบู่ล้างหน้าไปได้ในทุกที่ การล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ หรือทุกครั้งที่หน้ามัน ก็เป็นสิ่งที่ดี การใช้เจลล้างหน้า หรือโฟม ควรเลือกเป็นพิเศษสำหรับผิวมัน แต่มักล้างความมันบนใบหน้าได้น้อยกว่าสบู่ล้างหน้า
     2. โลชั่นหรือโทนเนอร์ เพื่อเช็ดหน้าลดความมัน เป็นสิ่งที่แนะนำให้ใช้ ถ้าล้างหน้าด้วยสบู่อย่างเดียวแล้วผิวหน้ายังมันอยู่
     3. Oil Control Products ซึ่งจะช่วยซับความมัน ควรเลือกที่มีอนุภาคเล็กๆ ที่สามารถแทรกซึมเข้าไปซับได้ในรูขุมขน ซึ่งต้องมีขนาดที่เล็กมากเป็น Micron 
     4. ครีมกันแดด เลือกลักษณะที่เป็นโลชั่น หรือ ครีมที่มี SPF = 15 ก็เพียงพอ เพราะถ้าเลือกครีมกันแดด ที่มี SPF สูงกว่านี้มักจะมีความมันสูง ก่อนใช้ครีมกันแดดยี่ห้อใด ควรลองทาครีมบริเวณท้องแขน เพื่อทดสอบอาการแพ้ หรือ ความมัน ก่อนการตัดสินใจในการซื้อครีมกันแดด
     5. หลีกเลี่ยงของมัน ขนมหวาน ไอสครีม และอาหารที่มีแคลอรี่สูง หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

6. ยาเม็ดคุมกำเนิด ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน Progesterone เฉพาะชนิดที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมน Angrogen ได้ จึงสามารถทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันลดลงได้ แต่การทำงานดังกล่าวอาจรบกวน การมีประจำเดือนในผู้หญิงได้ จึงได้มีการเสริมฮฮร์โมนเพศหญิงคือ Estrogen ร่วมด้วย  จึงอยู่ในลักษณะคล้ายยาคุมกำเนิด คือบรรจุเป็นแผง 21 เม็ด ที่นิยมใช้ในคลินิกผิวหนังก็คือ Dian-35  แต่ในผู้ชาย ไม่แนะนำให้รับประทาน เพราะมีผลต่อระดับฮอร์โมนเพศชาย อาจจะทำให้สมรรภภาพทางเพศลดลง หรือมีนมโต( Gynecomastia )ได้ ซึ่งแม้จะหยุดทานยา อาการนมโต ก็ไม่อาจจะหายได้
7. ยารักษาสิว กลุ่ม Retinoids เช่น Roaccutane หรือ Acnotin วันละ10-20 มก.ต่อวัน ก็เป็นการช่วยได้มาก เพราะยาในกลุ่มนี้ จะช่วยลดการสร้างไขมันที่ต่อมไขมันบนใบหน้า นอกจากนี้ยังช่วยรักษาปัญหาสิวอุดตัน รูขุมขนกว้าง และริ้วรอยแผลเป็นได้ดี แต่ก็ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์  เพราะกรณีที่รับประทานติดต่อกันนานๆ อาจจะมีผลต่อตับ และไขมันในเลือดผิดปกติได้ นอกจากนี้ อาจจะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
8. Fractional Laser:   ที่ความยาวช่วงคลื่น 1550 nm  เช่น Fraxel หรือ Fine scan 1550 nm โดยพบว่าพลังงานเลเซอร์ได้ไปทำให้ต่อมไขมัน ทำงานลดลง จึงลดหน้ามันได้ดี ปัจจุบันแพทย์จะแนะนำให้เลือกวิธีนี้ มากกว่าการรับประทานยา ลดหน้ามัน เพราะไม่มีผลข้างเคียง แลัวยังช่วยรักษาและป้องกันสิวได้ทุกชนิด กระชับรูุขุมขน ลดริ้วรอย ฯลฯ

Posted on

LED Light Therapy : รักษาสิว ผิวแพ้ง่าย รอยแดงสิว ด้วยคลื่นแสง อีกทางเลือกที่ไม่เจ็บ ไม่มีผลข้างเคียง

แสงรักษาสิวได้อย่างไร

หลักการรักษาสิวด้วยแสงนั้น ได้มีการทดลองหลายๆ แห่ง พบว่า แสงบางช่วงคลื่น สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิวได้ ( P.acnes) ไม่แพ้กลุ่มยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
เหมาะสำหรับคนสิวแบบไหน : เหมาะกับคนที่เป็นสิวอักเสบ บวมแดง สิวหัวหนอง และเบื่อกับการทาครีมรักษาสิว หรือไม่อยากรับประทานยารักษาสิว กลัวผลข้างเคียง พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาสิวด้วยแสง จะมีอาการโดยรวมดีขึ้น เร็วขึ้น นอกจากนี้การรักษาด้วยแสงได้มีรายงานว่า ในคนที่ทานยากลุ่ม Retinoids
( roacutane,acntoin,Isotane) เพื่อคุมสิว เมื่อสิวสงบ ก็หยุดทานยา แล้วมาฉายแสงควบคุม พบว่าสามารถลดการกลับมาเป็นสิวกำเริบซ้ำอีก

แสงแบบไหนรักษาสิวได้

Blue light therapy  เป็นคลื่นแสงสีน้ำเงิน ความยาวช่วงคลื่นที่ 407-420 nm. ที่ได้รับการยอมรับจาก FDA ของอเมริกา หลักการทำงานโดยการฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว ( P.acne)และใช้รักษาสิวอักเสบ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาชนิดอื่น Blue Light ในปัจจุบัน จะไม่มี UV light เป็นส่วนประกอบ เนื่องจาก UV light จะทำอันตรายกับผิวหนังได้ พบว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลประมาณ 55-60%
แม้การรักษาสิวด้วยแสง จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่ไม่อยากแนะนำให้รักษาเป็นทางเลือกอันดับแรก น่าจะเป็นการรักษาเสริม การรักษาสิวแบบมาตรฐาน เพราะใช้รักษาสิวด้วยแสง  ได้ผลดีเฉพาะสิวอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสิว P.acne เท่านั้น ถ้าเป็นสิวอุดตัน หรือสิวที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ยังไม่มีรายงานว่าได้ผลชัดเจน ดังนั้นควรพบแพทย์ ปรึกษาหาสาเหตุ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมตามลำดับขึ้น

Posted on

วิตามินหรืออาหารเสริมต้านสิว (Vitamins for acne) ช่วยให้ป้องกันและรักษาสิว ไม่ให้เกิดได้

กลุ่มอาหารเสริมต้านสิว

ปัจจุบัน ปัญหาสิวก็ยังเป็นปัญหายอดฮิตที่รบกวนผิวพรรณ และจิตใจของวัยรุ่นอยู่เป็นอย่างมาก บางคนไม่อยากใช้ครีม หรือยารับประทานรักษาสิว เพื่อกลัวผลข้างเคียง และสิวเป็นไม่มากนัก อยากลองหาอาหารเสริมที่ช่วยป้องกันและรักษาสิวได้ แต่มีหลายยี่ห้อ เลือกไม่ถูก ขอบอกแนวทางในการเลือกดังนี้นะครับ
กลุ่มอาหารเสริมต้านสิว
1. L-Optizinc 75 มก. ( ซึ่งให้สังกะสี 15 มก.ต่อแคบซูล)พอดีกับที่ร่างกายต้องการต่อวัน ) เป็นสังกะสีที่ผสมกับ Methionine ซึ่งช่วยการดูดซึมของสังกะสีเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น โดยเราทราบว่า สังกะสี มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบของสิวและป้องกันการเกิดสิวได้ถึง 70 % ซึ่งใกล้เคียงกับยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตร้าซัยคลิน นอกจากนี้ สังกะสีช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามินเอได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้ใช้ประโยชน์จากวิตามินเอได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสมดุลย์ของปริมาณไขมัน ในร่างกายควบคุมปัญหาการเกิดการอุดตัน ของไขมันที่ทำให้เกิดสิว
2. Chromium Picolinate 1.04 มก. (ซึ่งให้แร่ธาตุโครเมียม 130 ไมโครกรัมต่อเม็ด) มีผลในการปรับสภาพผิวและช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น โดยอยู่ในรูป Chromium Picolinate ซึ่งถือว่าเป็น form ที่สามารถดูดซึม Chromium ผ่านทางเดินอาหารของมนุษย์ได้ดีกว่า โครเมียม(Chromium) รูปแบบอื่นๆ
3. วิตามินซี 60 มก. เพื่อป้องกันและรักษารอยดำที่เกิดขึ้น จากการหายของสิวอักเสบ ป้องกันอันตรายจากแสงแดด UV
4. วิตามินอี 15 หน่วยสากล เพื่อป้องกันและรักษาแผลเป็นที่อาจจะเกิดขึ้น จากการหายของสิวอักเสบ
5. สารสกัดจากสาหร่ายซาลีน่า (Phytosphingosine) 20 มก.ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งแบคทีเรีย P.acne ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิวอักเสบ

Posted on

งานวิจัย Mederma : เจลทารักษาและป้องกัน แผลเป็นหลังผ่าตัด แผลเป็นนูน คีลอยด์ ดีมั้ย

Mederma คือยาอะไร

Mederma เป็นเจลทาป้องกันและรักษาแผลเป็นนูนตัวใหม่ ที่เริ่มมีการใช้แพร่หลายในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริการ โดยมีรายงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงผลการรักษาของเจลรักษาแผลเป็นตัวนี้ เนื้อเจลประกอบด้วยตัวยาสำคัญสองชนิดคือ สารสกัดจากหัวหอมที่ชื่อว่า Cepalin และสาร Allantoin
สรรพคุณ
1 ยับยั้งขบวนการอักเสบของแผล คล้ายครีมทาสเตียรอยด์
2 ลดการสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็น
3 กระตุ้นการสมานแผล
4 ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่แทรกซ้อนได้
5 ส่งเสริมการปรับสภาพผิว
6 ยับยั้งการสร้างเซลล์ Fibroblast และ ชะลอการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( Connective tissues) ในชั้นหนังแท้

ผลงานวิจัยว่าได้ผลจริงมั้ย

  1. งานวิจัยที่ประเทศโปแลนด์: Chadzynska และ Jabloska แพทย์ผิวหนังชาวโปแลนด์ ได้ทำการศึกษาโดยผลการใช้ Mederma ในแผลคีลอยด์จากแผลไฟใหม้ พบว่า Mederma ให้ผลการรักษาที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทำให้คีลอยด์มีขนาดเล็กลงและแบนราบลงในผู้ป่วยมากกว่า 50% ลักษณะแผลเป็นนูนมีความนุ่มมากขึ้น สีของแผลดีขึ้น แต่ก็พบว่ามีอัตราการไม่ได้ผลจากการทายาประมาณ 10%
  2. งานวิจัยที่ประเทศเยอรมัน: Maragakis แพทย์ผิวหนังชาวเยอรมัน ได้ทดลองนำมารักษาคนไข้เด็กหลังผ่าตัดช่องอก 65 คน เพื่อป้องกันแผลเป็นพบว่าได้ผลดีมากถึง 52% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอกที่ 32% โดนพบว่ากลุ่มที่ใช้ Mederma มีลักษณะแผลที่ดีกว่าและมีขนาดเล็กกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้ยาหลอก
  3. งานวิจัยที่ประเทศเยอรมัน: Willital แพทย์ผิวหนังชาวเยอรมัน และคณะ ได้ทำการศึกษาแบบเดียวกันกับ Maragakis แต่ให้ทายาเร็วขึ้น คือภายใน 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด พบว่ากลุ่มที่ทาด้วยยา Mederma บาดแผลจะกว้างเพียง 1 มม.(โดยเฉลี่ย) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบที่มีบาดแผลกว้างถึง 4 มม.(โดยเฉลี่ย)
  4. งานวิจัยที่ประเทศฟิลิปปินส์ : Prof. Navarro ศัลยแพทย์ตกแต่งชาวฟิลิปินส์ ได้ทดลองทาแผลเป็นนูน คีลอยด์ ในผู้ป่วย 81 คน พบว่าหลังการใช้ทายา 6 เดือน แผลเป็นนูนมีลักษณะดีขึ้น ราบลง สีผิวดีขึ้น ถึง 43 ราย
    ในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการรักษาแผลเป็นนูน คีลอยด์ ที่ได้ผลหายดี 100 % ดังนั้นการรักษาแบบผสมผสานหลายๆ วิธีจึงยังเป็นแนวการรักษาที่ได้ผลมากสุด การป้องกันการเกิดแผลเป็น และ Keloids จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะการรักษาเมื่อ เกิดแผลเป็นนูนขึ้น จะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าหลายเท่านัก
Posted on

แผลเป็น รอยดำ รอยแดง รอยหลุมสิว (Acne Scars) ปัญหาผิวที่ใครก็อยากหาย รักษาอย่างไร

Teen girl with acne problem squeezing pimple indoors

ชนิดของแผลเป็นสิว( Acne scars)

1 รอยแดงจากสิว(Postinflammatory reddness): มักพบและเกิดขึ้นได้บ่อยๆ เมื่อสิวอักเสบ เริ่มจะหาย หรือเกิดจากสาเหตุของสิวอักเสบ ค่อนข้างรุนแรง เมื่อยุบตัว ยังเหลือรอยแดงให้หลงเหลืออยู่
แนวทางการรักษา: ปกติมักจะจางหายไปได้เอง ภายใน 1-4 อาทิตย์ แล้วแต่ความรุนแรงของการเกิดสิว และสภาพสีผิวในแต่ละคน โดยในคนผิวขาวจะหายได้ช้ากว่าคนสีผิวคล้ำ การทาครีมลดการอักเสบ ช่วยได้ระดับบ้าง แต่ถ้าจะให้ได้ผลแน่นอน และหายไว การยิงด้วยเลเซอร์
V-Beam Laser จัดเป็นเลเซอร์ชนิดเดียว ที่ยอมรับเป็นมาตรฐานสากลในการรักษารอยแดงสิวที่ได้ผลดีที่สุด ไวสุด ผ่าน อย ทุกประเทศ และเห็นผลในครั้งเดียว รอยแดงจากสิว จะจางหายไปทันทีที่ยิง และยังไปกระตุ้นทำให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ ซึ่งทำหน้าที่นำอาหารมาสู่ผิวหนังมากขึ้นกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่
นอกจากนี้ยังถูกออกแบบมาเพื่อรักษาความผิดปกติของรอยแดงชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เส้นเลือดในรูปแบบต่างๆ เช่น เส้นเลือดฝอยบนใบหน้า เส้นเลือดฝอยที่ขา แผลเป็นนูน ปานแดง โดยไม่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อหรือผิวบริเวณที่ทำการรักษา หลังทำควรจะการทาครีมกันแดด และการเลี่ยงแดด จะช่วยป้องกันมิให้เกิดรอยคล้ำจากการไหม้แดด

2 รอยดำจากสิว (Postinflammatory hyperpigmentation):  เกิดขึ้นได้เป็นลักษณะเป็นวงๆ สีน้ำตาลแดงจนถึงสีเข้ม รอยดำจากสิว มักจะเกิดจากการกดหรือบีบสิว แต่ในบางครั้งก็เกิดได้เองในบางคนที่การสมานแผลไม่ดี พบได้บ่อยในคนผิวคล้ำมากกว่าคนผิวขาว มักจะเป็นชั่วคราว แล้วจะ ค่อยๆ จางไปเอง แต่ในบางรายที่อาจจะใช้เวลา นานเป็น 8-12 เดือน จึงมีการแก้ไขให้จางเร็วขึ้นดังนี้
แนวทางการรักษา: การทำให้รอยดำลอกออกด้วยกรดเข้มข้น ทาครีมไวเทนนิ่ง การทำไอออนโต หรือกรอผิวอาจจะช่วยได้แค่รอยดำในชั้นตื้นๆ แต่มีโอกาสกลับมาดำใหม่ได้ นอกจากนี้ยังไม่ช่วยให้รอยดำชั้นลึกให้จางลง
Revlite laser จะใช้การรักษาที่แตกต่างไป โดยจะทำให้รอยดำ ค่อยๆ จางด้วยการระเบิดเม็ดสีที่จับตัวแน่นให้คลายออก แล้วให้เซลล์เม็ดเลือดขาวมากินเม็ดสีเมลานิน รอยดำจะค่อยๆ จางลง และไม่กลับมาดำได้ใหม่ จัดเป็นการรักษารอยดำที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน แก้ปัญหาได้ทั้งรอยดำตื้น หรือรอยดำลึก และใช้ได้กับทุกที่ของร่างกาย  เพราะถือว่าเป็นเลเซอร์เม็ดสี ที่มีพลังงานสูงสุดและสม่ำเสมอ และเป็นเลเซอร์เม็ดสีที่ได้มาตรฐานสากล อย. ทุกประเทศ รับรองผล

รอยหลุมสิว(acne scars) มักเกิดจากสาเหตุการมีปัญหาสิวอักเสบมาก่อน เมื่อแตกหรือยุบตัว ก็เกิดรอยหลุมขึ้น ซึ่งมักจะเกิดจากสิวอักเสบขนาดใหญ่แตกและยุบตัวอย่างรวดเร็ว(แม้จะไม่ได้กดหรือบีบเอง) หรือสิวอุดตันหรือสิวอักเสบขนาดเล็ก ที่รักษาไม่ถูกวิธี มีการกดหรือบีบสิวอย่างผิดวิธี
แนวการรักษาหลุมสิว มีหลายๆ วิธี มีการพัฒนาให้ได้ผลมากที่สุด แต่ก็ยังไม่มีวิธีใด วิธีเดียว ที่จะได้ผล 100% ต้องใช้การรักษาแบบผสมผสาน หลายๆ วิธี หลักๆ คือ ทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น และทำให้หลุมสิวเต็มขึ้น ส่วนจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนกันขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยหลุมด้วย แบ่งกลไกการรักษาดังนี้
1. การทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น
2. การทำให้หลุมสิวเต็มขึ้น
3. ศัลยกรรมตัดพังผืด แผลเป็นสิว
ในรายละเอียด มีการรักษา แต่ละแบบ เขียนรายละเอียดไว้อีกบทความ คลิกอ่านได้ด้านล่าง หรือตามลิ้งค์

Posted on

งานวิจัย : รักษาสิวอักเสบ ด้วยยารับประทาน หรือยาทาสิว อันไหนได้ผลดีกว่ากัน

ครีมทาสิว VS ยารับประทาน

– มีงานวิจัยที่ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับการใช้ยาปฎิชีวนะ-Antibiotics เปรียบเทียบกับการใช้ยาทา ในการรักษาสิวที่ใบหน้า ว่าได้ผลแตกต่างกันอย่างไร
– อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 649 คน โดยมีอายุเฉลี่ย 20 ปี โดยเป็นเพศชายและหญิงจำนวนเท่าๆ กัน และมีปัญหาสิวขนาดปานกลาง โดยแบ่งการทำการวิจัยผลการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ผลมากน้อยเท่าใดโดยขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
วิธีการทดลอง ได้ทำการแบ่งกลุ่มใหญ่ๆ ในผู้ทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับประทานยาปฎิชีวนะ-Antibiotics จำพวก Minocycline,Oxytetracycline และกลุ่ม ที่ใช้ครีมทา และ/หรือโลชั่นทารักษาสิวอย่างเดียว ( ได้แก่กลุ่มที่ใช้ 5% Benzoyl peroxide และ 3% Erythromycin Lotion
ผลการทดลอง ใช้เวลาทดลองและติดตามผลการทั้งหมด 18 อาทิตย์ พบว่า
1. ในระยะ 6 อาทิตย์แรก ผลการรักษาทั้ง 2 กลุ่มได้ผลดีพอๆ กัน
2. ในระยะ 12 อาทิตย์หลัง พบว่า ผลการรักษาสิวในกลุ่มใช้ครีมทาหรือโลชั่นทารักษาสิวอย่างเดียว ( ได้แก่กลุ่มที่ใช้ 5% Benzoyl peroxide และ 3% Erythromycin Lotion ) ได้ผลดีขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 66 % แต่กลุ่มที่รับประทานยาปฎิชีวนะ-Antibiotics จำพวก Minocycline,Oxytetracycline ได้ผลดีขึ้น โดยเฉลี่ยที่ 54 % ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
สรุปผลงานวิจัย การใช้ครีมทาและ/หรือโลชั่นทารักษาสิวอักเสบ ได้ผลมากกว่ามากกว่าการรับประทานยาปฎิชีวนะ-Antibiotics และราคาก็ถูกกว่าด้วยป เหตุลที่กลุ่มที่รับประทานยาปฎิชีวนะ ได้ผลลดลง อาจจะเกิดการดื้อยาของเชื้อสิว เพราะรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เกิรไป ส่วนการพิจารณาใช้ควบคู่กันหรือไม่ ควรพิจารณาปัญหาคนไข้เป็นรายๆ ไป

Posted on

เล็นไร (Demodex spp.) ไรขนที่คนคิดไม่ถึง ว่าจะชอนไชใบหน้า สาเหตุปัญหาผิวอักเสบ

เล็นไร (Demodex spp.) คืออะไร

เล็นไร หรือไรขน เป็นปรสิตใน Class Arachnida,Order Acarina ที่อาศัยบริเวณต่อมขน (Hair follicles) หรือ ที่ท่อนำไขมัน (Secretory ducts of Sebaceous gland) ซึ่งพบได้อยู่ 2 ชนิดคือ D.folliculosum,D.brevis มักจะพบในผู้ที่มีอายุเกิน 30 ปี และไม่พบในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี
บริเวณที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ร่องจมูก รองมาก็บริเวณ โหนกแก้ม หน้าผาก คาง ศีรษะ
อาการแสดง เล็นไร ทำให้ผิวหน้าเกิดผื่นแดง หรือต่อมขนอักเสบได้ ผื่นเกิดจากร่างกายมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเล็นไร มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงขนาดน้อยกว่า 1 ซม.(Papule) หรือมากกว่า 1 ซม.( Nodule) หรือเป็นตุ่มหนอง (Pusetule)
– ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้นกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอดส์ อาจจะพบอาการรุนแรงมาก จนเกิดเป็นตุ่มน้ำ (Vesicles) หรือสะเก็ดหนอง

ตรวจอย่างไรถึงจะเจอ โดยการขูด หรือกดสารที่อยู่ในท่อไขมัน บริเวณที่สงสัย หรืออักเสบเป็นผื่นแดง ไปเกลี่ยลงในสไลด์แก้ว แล้วหยด glycerin 1 หยด ปิดด้วย cover slip แล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์หัวต่ำ
– โดยในคนปกติ จะมีตัว Demodex ขนาด 0.1-0.9 มม. อยู่ประมาณ 2-3 ตัวต่อกำลังขยาย 4X
– แต่กรณีที่ทำให้เกิดโรค หรืออาการ (Demodicosis) จะพบตัวเล็นไรมากกว่านี้หลายเท่า
แนวทางการรักษา ปกติถ้าไม่มีอาการใด ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะตัวเล็นไร พบได้ปกติในผิวหน้าคนเราอยู่แล้ว แต่ถ้าพบมากกว่า 4 ตัวต่อกำลังขยาย4X และพบ อาการอักเสบ ตุ่มแดง อาจจะต้องรักษาดังนี้
1. ทา 25% BP emulsion วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3-5 วัน
2. ทา 1% Lindane วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3-5 วัน หรือ
3. ทา 5% BP lotions ร่วมกับ 5% Sulhur ลดการอักเสบ เป็นเวลา 3-5 วัน หรือ
4. ทา 1% Premethrin cream ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออกทุกวัน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือ
5. ทา Clotamiton วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3-5 วัน
6. ล้างหน้าด้วยสบู่ที่มีตัวยา antiseptic ทุกวัน

Posted on

สิวแกะเกา( Acne excori’ee) ผู้ปกครองเช็คด่วน! เด็กมีปัญหามั้ย ทำไมเห็นสิวแล้วทนไม่ได้

young woman squeeze her acne in front of the mirror

สิว ทำร้ายจิตใจวัยรุ่นได้

มีงานวิจัยในอเมริกา พบว่า คนทุกคน 100 % ต้องเคยเป็นสิวในชั่วชีวิตของคนคนนั้น แต่มีจำนวน 10% ของวัยรุ่นเป็นสิว คิดว่า ภาวะการเป็นสิวเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดในชีวิตวัยรุ่น ทำให้การเรียนตกต่ำ เข้าสังคมไม่ใคร่ได้ การพิจารณาตัวเองว่าต่ำต้อย เมื่อเป็นนานๆ ก็มีการเก็บกด เศร้าเกิดความกังวลใจในการเข้าสังคม และมีสิทธิ์ไม่ได้งานหลังจากการสอบสัมภาษณ์อย่างไรก็แล้วแต่ มีเพียง 7% เท่านั้น ที่ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการรักษา
70% ของผู้ที่มารักษา เป็นสิว สิว เป็นโรคของวัยรุ่นโดยเฉพาะ ใครไม่เป็นสิวถือว่าเป็นโชคดี แต่แพทย์พบว่า ถ้าใครไม่เป็นสิวในวัยรุ่นอาจเป็นสิวได้ในวัยผู้ใหญ่
มีผลงานสำรวจความเห็นของ ปัญหาวัยรุ่น ของชาวอเมริกันพบว่า
– ให้เลือกเอาว่า ขอมีหน้าสวยไม่มีสิว กับการเลิกนัดกับดาราสาว ซิ้นดี้ โครฟอร์ด หรือ ดาราชาย แบรทพิทท์ 1 ใน 3 คนตอบว่า ขอหน้าไร้สิว ดาราไม่สนใจ
– ให้เลือกเอาว่า มีหน้าสวยไร้สิว กับเงินรางวัล 40,000 บาท 1 ใน 5 คนตอบว่าไม่รับเงิน

สิวแกะเกา บ่งบอกความเศร้าใจของวัยรุ่น

จากผลการสำรวจปัญหาทางผิวพรรณของวัยรุ่น มีการโหวตให้ปัญหาสิวและรอยแผลเป็นสิว เป็นปัญหาที่กังวลมากที่สุด ทำให้เค้าไม่กล้าที่แสดงออก หรือมีความสัมพันธ์ทีด่ีกับเพื่อนได้ อาจจะโดนเพื่อนล้อ หรือแกล้งได้ บางคนอาจจะเก็บตัวอยู่คนเดียว ฯลฯ
สิวแกะเกา คือร่องรอยที่วัยรุ่นเห็นสิวแล้วทนไม่ได้ ไม่มีสมาธิที่จำทำอะไร เรียนไม่ได้ ต้องบีบ เค้น แกะ ออกให้หมด เป็นปัญหาที่แสดงได้ว่า มีความกังวลมากกว่าปกติ บางคนนั่งเฝ้าหน้ากระจก เพื่อตรวจตราผิวหน้าของตนเองว่าเกลี้ยงเกลาหรือไม่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า บางครั้งพบสิวหัวดำแค่ 1-2 เม็ด ก็จะเฝ้าบีบเคล้นด้วยเล็บมือแหลมๆ จนกว่าสิวจะออก ทำให้เกิดรอยแผลถลอก แผลอักเสบ และรอยแผลเป็นทั่วหน้า
เชื่อกันว่าผู้ที่มีปัญหาสิวแกะเกา ส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติทางจิตใจร่วมด้วย เช่น เป็นพวกย้ำคิดย้ำทำ ( obsessional trait) หรือมีสภาพจิตใจซึมเศร้า ( depreesion) ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีอารมณ์แปรปรวนได้ง่ายอยู่แล้ว
ดังนั้น ผู้ปกครองของวัยรุ่นที่เกิดสิว ควรสอบถาม และให้ความสำคัญต่อ สภาพจิตใจของบุตรหลาน ที่เป็นสิวว่าเป็นอย่างไร และต้องพร้อมเข้าใจ ว่าสิวไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับเค้า เราต้องช่วยเหลือให้เค้าหายจากสิว แม้จะต้องเสียเวลา และเงินทองไปกับการรักษาสิว

Posted on

สิวที่ไม่ธรรมดา(Uncommon acne) พบไม่บ่อย แต่พบได้ สาเหตุก็ไม่ธรรมดา รักษาก็ไม่ธรรมดา

Portrait of bearded man with amazed or scared emotion on face

สิวที่ไม่ธรรมดา(Uncommon acne) คืออะไร

สิวปกติ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไขมัน แต่สิวไม่ธรรมดา มีสาเหตุจากอย่างอื่น บางอย่างก็ไม่รุนแรง แต่บางอย่างก็รุนแรง ดังนี้
1. สิวหัวช้าง (Acne conglobata) :สิวชนิดนี้ ถือว่ารุนแรงมากที่สุด และเกิดรอยแผลเป็นได้อย่างมาก พบได้ไม่บ่อยนัก โดยมักจะพบในผู้ชายที่ผิวมัน และในวัยรุ่น โดยจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนร่วงเข้าวัยชรา
ตำแหน่งที่เกิด มักเกิดตามแผ่นหลัง ก้น ต้นคอ ใบหู ที่ใบหน้ามักจะไม่รุนแรง
ลักษณะของสิว เกิดเป็นได้ทุกรูปแบบ และความรุนแรง ตั้งแต่สิวอุดตัน หัวเปิด(หัวดำ)รวมกันเป็นกลุ่มๆ จนถึงสิวอักเสบ ขนาดใหญ่ๆ เป็นุถุง ( acne cysts) ก็มี ทำให้มีรอยแผลเป็นหลงเหลือ ทั้งแบบแผลเป็นนูน(Keloids) แผลเป็นหลุม(pick scar) หรือท่อเปิดเรื้อรัง(sinus tracts)
การรักษา: มักจะรักษาหลายๆ รูปแบบควบคู่กัน ตั้งแต่การใช้ยาทา ยารับประทานขนาดสูง ทั้งยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มเรตินอยด์ขนาดสูงๆ ในระยะเวลานานกว่า 6 เดือน และเลเซอร์หลายชนิด แล้วแต่ปัญหา เพราะสิวประเภทนี้เป็นเรื้อรังและมักทิ้งร่อยรอยโรคไว้มาก

2. สิวรุนแรงเฉียบพลัน (Acne Fulminans): สิวชนิดนี้มักจะเกิดอย่างเฉียบพลัน ในชายอายุประมาณ 13-22 ปี มักจะมีอาการไข้ ปวดข้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดและอ่อนเพลียร่วมด้วย สาเหตุหรือปัจจัยที่กระตุ้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อสิว P.acne หรือ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ตำแหน่งและอาการที่เกิด พบบ่อยที่ใบหน้า หน้าอกและที่หลัง เป็นสิวอักเสบตุ่มหนอง แดง เจ็บ และแตกออกเป็นแผลมีสะเก็ดคลุม เมื่อหายเกิดแผลเป็นมากมาย ผู้ที่เป็นสิวประเภทนี้
การรักษา:  การใช้ยาทา ยารับประทานขนาดสูง ทั้งยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มเรตินอยด์ขนาดสูงๆ ในระยะเวลานานกว่า 6 เดือน และเลเซอร์หลายชนิด
3. สิวรอบปาก (Perioral dermatitis): มักพบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่า เกิดจากปัจจัยกระตุ้นจากการแพ้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ การแพ้น้ำยาบ้วนปาก สบู่ หรือยาคุมกำเนิด การล้างหน้าด้วยสบู่แรงๆ แสงแดด การมีพฤติกรรมชอบถูบริเวณที่เป็นบ่อยๆ ทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
ตำแหน่งและอาการที่เกิด มีลักษณะเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้าใส หรือตุ่มหนอง เกิดพร้อมๆ กันทั้ง 2 ข้างก็ใบหน้ารอบๆ ปาก เช่น คาง ร่องจมูก มีอาการแสบๆ คันๆ
การรักษา: หยุดใช้เครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก ที่น่าจะเป็นสาเหตุ และให้ยารับประทานกลุ่มปฏิชีวนะ และยาทาสิวอักเสบทั่วๆไป

4. สิวแกรมลบ (Gram Negative Folliculitis) : เป็นสิวอักเสบหัวหนอง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ ที่ไม่ใช่ P.acne เช่น E.coli,Proteus,Pseudomonas,Kleibsiella ซึ่งต้องขูดตุ่มหนองไปเพาะเชื้อดู สังเกตว่าผู้ที่เป็นสิวประเภทนี้ มักจะไม่พบสิวอุดตันร่วมด้วย และมีประวัติการใช้ยาทากลุ่มปฏิชีวนะ ( เช่น CM lotions) เป็นระยะเวลานาน และสิวไม่ดีขึ้น
การรักษา: อาจจะต้องเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นกลุ่มที่ไวต่อเชื้อแบคทีเรียนี้ เช่น Bactrim,Ampicillin หรือการให้รับประทานยากลุ่มเรตินอยด์ร่วมด้วย
5.สิวจากเชื้อรา( Pityrosporum folliculitis) : สิวอักเสบตุ่มหนอง ตุ่มแดง ที่เกิดจากเชื้อยีสต์ P.ovale หรือ เชื้อเกลื้อน (Malassezia furfur) มักเป็นที่หน้าอก และหลังช่วงบน แยกได้ยากจากสิวอักเสบสิว นอกจากการขูดไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ด้วยน้ำยา KOH หรือการรักษาสิวปกติแล้วไม่ดีขึ้น
การรักษา: นอกจากจะรักษาเหมือนสิวทั่วไปแล้ว อาจจะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อยีสต์ร่วมด้วย นาน 6-8 สัปดาห์

6.สิวก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual acne) พบได้บ่อยมาก ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยหญิงที่เป็นสิว มักจะเกิดในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เพราะมีการคั่งของน้ำในร่างกายจากภาวะฮฮร์โมนเพศหญิง ทำให้รูเปิดของต่อมไขมันเล็กลง จึงทำให้การระบายไขมันจากต่อมไขมันไม่ดี จึงเกิดการอุดตัน
ตำแหน่งและอาการที่เกิด มักเกิดในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น คาง ร่องจมูก หัวคิ้ว แก้ม แต่ที่พบได้บ่อยๆ คือสิวรอบปาก มักจะเป็นสิวอักเสบหัวแดง หรือสิวหัวหนองได้
การรักษา: สิวประเภทนี้มักจะไม่รุนแรง ไม่กี่วันสิวก็จะยุบหรือหายเป็นปกติ บางครั้งแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับระดับฮอร์โมน
7. สิวจากเครื่องสำอาง(Acne cosmetica) เชื่อว่าครีมที่ใช้เป็นเครื่องสำอางบนใบหน้าเป็นเวลานานกระตุ้นให้เกิดสิวได้ มักพบจากเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของ Olive oil,white pitrolatum,lanolin,butyl stearate,isopropyl myristate,sodium lauryl sulfate,lanolin alcohol และ oleic acid โดยมักพบเป็นสิวอุดตันหัวปิด บริเวณคาง แก้ม และอาจจะเกิดการอักเสบเป็นหนองได้ มักพบว่ายิ่งใช้เครื่องสำอางปกปิด ก็ยิ่งจะเป็นมากขึ้น
การรักษา: หยุดใช้เครื่องสำอางประเภทครีม ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าว มากกว่า 6 เดือน แล้วเปลี่ยนเครื่องสำอาง แนวทางการรักษาก็เหมือนกับการรักษาสิวอุดตัน และสิวอักเสบทั่วไป

8. สิวจากผลิตภัณฑ์ล้างหน้า(Acne detergicans) มักเกิดจากสบู่ล้างหน้าที่มีส่วนประกอบของ Tars,sulfur,ยาปฏิชีวนะ ( เช่น Hexachlorphene) หรือสบู่ที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดสิว(comedogenic agents) และจะเป็นมากถ้าล้างหน้าบ่อยๆ เกิน 4 ครั้งต่อวัน มักจะเป็นสิวอุดตันหัวปิด กระจายสม่ำเสมอในบริเวณคาง และแก้ม
การรักษา: หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ล้างหน้าดังกล่าว ลดการล้างหน้าบ่อยๆ และทาครีมละลายสิวอุดตัน กลุ่มวิตามินเอ หรือรับประทานยากลุ่มเรตินอยด์ร่วมด้วย
10.สิวจากอาชีพ (Occupational acne) มักเกิดในคนงานที่ทำอาชีพบางอย่าง ที่สารเคมีในโรงงานกระตุ้นให้เกิดสิวได้ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม คนงานทำถนน(ถนนลาดยาง ลูกรัง) โรงงานกลั่นน้ำมันดิน(Coal tars) สิวที่เกิดมักจะอักเสบ ตามรูขุมขน โดยมักจะเกิดหลังทำงานลักษณะนี้มากกว่า 6 สัปดาห์ พบบ่อยในตำแหน่งที่สัมผัสกับสารเคมีดังกล่าว เช่น ต้นแขน ขา

10.สิวจากการกดทับ(Acne mechanica) โดยสาเหตุมักจะเกิดจากการกดทับนานๆ การดึงรั้ง การถูที่ผิวหนัง ที่ทำซ้ำกันบ่อยๆ ทำให้เกิดการหนาตัวของหนังกำพร้า(Hypercornification) ทำให้รูขุมขนอุดตัน จึงมักจะเกิดเป็นสิวอักเสบ นูนแดง หรือสิวหัวหนอง มักพบได้บ่อยในบริเวณก้น เอว(ตามขอบกางเกงใน) คาง ใต้ตา( ขอบแว่น) หลัง แก้มข้างใดข้างหนึ่ง(กรณีที่ชอบนอนตะแคงข้างนั้นบ่อยๆ)
การรักษา: หลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว ส่วนยาที่ใช้รักษา จะรักษาเช่นเดียวกับการรักษาสิวทั่วไป
11. สิวในผู้สูงอายุ (Senile or solar comedone,Favre’-Rachouchot’s disease): มักพบในคนสูงอายุที่โดนแสงแดดมากๆ และนานๆ เช่น ชาวนา ชาวสวน มักพบเป็นสิวอุดตันหัวขาว บริเวณรอบๆ ตาและโหนกแก้ม และอาจจะขยายเป็นสิวหัวดำ ไม่มีลักษณะเป็นสิวอักเสบ บวมแดง โดยเชื่อว่าเกิดจากแสงแดดไปทำลายเนื้อเยื่อรอบๆรูขุมขน จึงทำให้รูขุมขนกว้างและผิดปกติ

Posted on

สิว เป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แม้ในทารกแรกเกิด(acne neonatorum) และสิวในเด็กเล็ก(acne infantum)

สิวในทารกแรกเกิด(Acne neonatorum)

   คือ สิวที่เกิดได้ในทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 1 เดือน พบได้ประมาณร้อยละ 20 ลักษณะของสิวจะเป็นแบบไม่ อักเสบ(comedone) หรือสิวอักเสบแดงเป็นเม็ดเล็กๆ (papule) หรือสิวหัวหนอง(pustule) มักพบบริเวณแก้มและหน้าผาก มักไม่พบตามแขน ขา หรือลำตัว
สาเหตุ: ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากผลฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน จากแม่สู่เด็ก และกระตุ้นให้การทำงานของต่อมไขมันในเด็กมากกว่าปกติ มักพบบ่อยในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง เพราะว่าอาจจะมีฮฮรโมน Testosterone ในอัณฑะและต่อมหมวกไตหลั่งมากกว่าปกติด้วย
แนวทางการรักษา: มักจะหายได้เองภายใน 3-4 เดือนแรก จึงไม่จำเป็นต้องรักษา แต่พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ไม่ควรแนะนำให้ใช้ครีมหรือทายารักษาสิว เพราะอาจจะระคายเคืองจากยาได้ ถ้าเป็นมากอาจจะต้องปรึกษาหรือพบแพทย์ผิวหนังจะปลอดภัยกว่า

สิวในเด็กเล็ก(Acne infantum,Juvenile acne)

คือ สิวที่เกิดในเด็กอายุ 3-6 เดือน จะมีอาการรุนแรงกว่าสิวในทารกแรกเกิด ลักษณะของสิวก็เป็นได้ตั้งแต่ แบบไม่อักเสบ(comedone) หรือสิวอักเสบแดงเป็นเม็ดเล็กๆ (papule) หรือสิวหัวหนอง(pustule) และมักจะเป็นนานหลายเดือน ถึง 1-2 ปี โดยมักจะพบว่าพ่อแม่มีประวัติสิวรุนแรงเช่นกัน บริเวณที่พบก็ที่แก้ม จมูกและหน้าผาก มักจะไม่พบที่แขน ขา หรือตามลำตัว
 สาเหตุ: นอกจากจะเกิดจากปัญหาฮอร์โมนเช่นเดียวกับสิวในทารกแรกเกิดแล้ว อาจจะต้องพิจารณาว่า สิวนี้อาจจะเกิดได้จากการสัมผัสสารเคมี เช่น น้ำมัน ครีม หรือโลชั่นทาผิวด้วย
แนวทางการรักษา: ในเด็กบางราย อาจจะต้องให้การรักษาเหมือนสิวในวัยรุ่น เพราะมักจะไม่หายเอง พ่อแม่ควรต้องเข้าใจเช่นกัน ยาทาที่ใช้ก็มักจะประกอบด้วยยากลุ่มเรตินอยด์,Benzyl peroxide ความเข้มข้นต่ำๆ,ยารับประทานแก้อักเสบ เช่น Erythromycin syrub, นานติดต่อกัน 3-6 เดือน และนอกจากนี้ควรต้องหลีกเลี่ยงครีม โลชั่นทาผิว ที่อาจจะแพ้ได้

Posted on

สิว ไม่อยากทายา ไม่อยากหาหมอ ซื้อยาทานเอง เลือกยาตัวไหน มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

กลุ่มยารับประทานรักษาสิว

ยารับประทานในการรักษาสิวต้องมีสรรพคุณในการยับยั้งสาเหตุการเกิดสิว คือ จากฮอร์โมน หน้ามัน ไขมันอุดตันท่อไขมัน ผิวแพ้ และการอักเสบติดเชื้อสิว ดังนั้นกลุ่มยาก็จัดแบ่งออกตามหน้าที่ดังนี้
1. ยาที่มีฤทธิ์ลดการทำงานของต่อมไขมัน Sebaceous Gland ให้ผลิตไขมันลดลง หน้าไม่มัน ก็ทำให้ป้องกันการเกิดสิวได้ ได้แก่ 
      1.1 ยาคุมกำเนิด กลุ่มยาคุมกำเนิดจะมีส่วนประกอบของฮอร์โมน Progesterone เฉพาะชนิดที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามาก เมื่อทำให้ไขมันนี้ทำงานลดลง หน้าก็มันลดลง โอกาสเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดสิวก็ลดลง
ข้อควรระวัง
-ผู้ชายไม่ควรรับประทาน เพราะ อาจทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง และนมโต แบบผู้หญิงได้ แม้จะหยุดยา
– ผู้หญิง อาจมีปัญหากับรอบเดือนคลาดเคลื่อนได้ ถ้ามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้สูงกว่าคนปกติ
      1.2 ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย อาทิ spinolactoneปัจจุบันไม่นิยมกันแล้ว เนื่องจากเห็นผลได้ช้า โดยสิวจะเริ่มยุบภายใน 2-3 เดือนแรก หน้ามันค่อยๆลดลง
ข้อควรระวัง
– ผู้ชายไม่ควรรับประทาน เพราะ อาจทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง และนมโต แบบผู้หญิงได้
– ผู้หญิงอาจะมีน้ำหนักตัวเพิ่ม และเป็นฝ้าได้ง่าย
 

1.3 ยากลุ่มวิตามินเอ (Retionoids ) ก็คือ Roaccutane,Acnotin,Isotane ,Isotretinoin เป็นยาที่มีประสิทธิภาพมาก ในการออกฤทธิ์ลดขนาดและการผลิตไขมัน ของต่อมไขมัน ลดการหนาตัวของผิวหน้งบริเวณรูขุมขน ทำให้ลดการเกิดการอักเสบ ของเชื้อสิว P.acnes จึงทำให้หน้ามันลดลง รักษาได้ทั้งสิวอุดตัน และสิวอักเสบ ยากลุ่มนี้เป็นที่นิยม แต่ก็มีผลข้างเคียงมาก
ข้อควรระวัง

  • ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง
  • จมูกและตาแห้ง
  • ผิวหน้าแห้งตึง
  • สิวอาจเห่อได้ เมื่อรับประทานยาในสัปดาห์แรก
  • ทำให้ทารกในครรภ์พิการ หรือ แท้งได้ ดังนั้นจะต้องหยุดยาจนครบ 1 เดือนก่อน จึงจะตั้งครรภ์ได้
  • ไม่แนะนำให้บริจาคเลือดขณะรับประทานยา กลุ่ม Retinoids
  • มีอาการซึมเศร้าได้ หลังหยุดยาทันที แต่อัตราการเกิดน้อย ถ้าอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • เมื่อรับประทานยาเกิน 6 เดือน ควรตรวจเลือด และร่างกายเกี่ยวกับการทำงานของตับ ระดับไขมันในเลือด เพราะอาจจะทำให้ระดับ SGOT,SGPT และ Triglyceride สูงขึ้นจากปกติได้

2. ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสิว P.acnes 
      2.1 ยาปฏิชีวนะ(Antibiotics) มีใช้หลายตัว อาจอยู่ในรูปโลชั่น ครีม หรือยารับประทานที่ใช้ในการกำจัดเชื้อสิว P.acne ที่ใช้กันบ่อยได้แก่
2.1 Tetracycline มักให้ในรูปรับประทาน วันละ 2-4 แคบซูล
2.2 Doxycycline ยานี้มักจะนิยมใช้ เพราะราคาไม่แพง และได้ผลดี มักให้ในรูปรับประทาน วันละ1-2 แคบซูล
2.3 Minocycline ยานี้ราคาแพง และได้ผลดี สะดวกเพราะ รับประทาน วันละ 1 แคบซูล
2.4 Erythromycin-มีทั้งในรูปของครีมทาสิว และยารับประทาน วันละ2-4 คบซูล
2.5 Clindamycin-มีทั้งในรูปของครีมทาสิว และยารับประทาน วันละ1-2 แคบซูล
2.6 Co-trimoxazole-มักให้ในรูปรับประทานวันละ 2-4 เม็ด มักใช้รักษาสิวที่เกิดจากพวกแกรมลบ หรือ แบคทีเรียพวกไม่ใช้ออกซิเจน
ข้อควรระวัง
– ถ้าทานไม่ครบตามกำหนด มีโอกาสดื้อยาได้
– อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาการท้องร่วง
– มีอาการบวมบริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนัก รวมทั้งอาจเกิดแผล มีอาการคัน หรือมีตกขาว
– มีโอกาสแพ้ยาได้

Posted on

สิวอักเสบ (Inflammatory acne ) เจ็บสิว เรื่องสิวที่อาจจะเกิดปัญหาผิวที่แก้ยาก

สิวอักเสบ (Inflammatory acne ) คืออะไร

 คือการที่สิวอุดตัน ที่ได้รับการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Propionibacterium acne( P.acne) แล้วแบคทีเรียนี้ ปล่อยเอนไซม์ที่จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ โดยมีความรุนแรงแตกต่างกัน แล้วแต่จำนวนเชื้อ และขนาดของสิวที่อุดตัน แล้วมีการเรียกชื่อแตกต่างกัน บางคนอาจแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะของสิวอักเสบดังนี้
ประเภทของสิวอักเสบ แบ่งได้เป็น
1.สิวนูนแดง (Papule)- มักไม่เกิดแผลเป็นเมื่อหาย
2.สิวหัวหนอง ( Pustule)-มักไม่เกิดแผลเป็นเมื่อหาย
3.สิวหัวช้าง (acne conglobata)-มักเกิดแผลเป็นเมื่อหาย
4.สิวซีสต์ (acne cyst) -มักเกิดแผลเป็น เมื่อหาย
5.สิวตุ่มนูนหนอง(Papulopustular acne )-มักเกิดแผลเป็นเมื่อหาย
ผลข้างเคียงจากการเกิดสิวอักเสบ มักเกิดได้บ่อย ถ้าไม่รีบรักษา คือ
1. รอยดำจากสิว
2. รอยแดงช้ำ ซึ่งอยู่ได้นาน เป็นเดือนๆ
3. รอยหลุมจากสิว เกิดได้ในสิวหัวช้าง สิวซีสต์ หรือสิวตุ่มนูนหนอง รอยหลุมเกิดแล้วมักจะรุนแรง ทำให้ผิวกลับมาเรียบเนียน ไม่ได้ 100%

การรักษาสิวอักเสบแบบใช้ยา

1. ยาทาสิว ที่ใช้กันบ่อยๆ ก็คือ
1.1 Benzoyl peroxide – เป็นตัวยาที่ลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย P.acne และลดการอักเสบได้ดี 50-70 % ของสิวอักเสบ โดยมักใช้ทาทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วล้างออก เนื่องจากมีการระคายเคือง
1.2 Azeleic aicd – มักใช้ในรูปยาทา 20 % Azeleic acid( Skinoren) มักใช้ในระยะแรก แต่อาจระคายเคืองได้
2. ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อสิว มีใช้หลายตัว ได้แก่ Tetracycline ,Doxycycline ,Minocycline ,Erythromycin,Clindamycin,Co-trimoxazole
3. ยาคุมกำเนิด เช่น Dian-21 มักใช้เฉพาะในผู้หญิง เพื่อควบคุมการเกิดสิวที่เกิดจากฮอร์โมนเพศ ไม่แนะนำในผู้ชาย เพราะมีผลข้างเคียง ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงได้ และทำให้นมโต ที่เรียกว่า ภาวะ Gynecomastia
4. ยารับประทานต้านฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน คือ spironolactone ปัจจุบันไม่นิยมใช้ เพราะมีผลข้างเคียงคล้ายยาคุมกำเนิด
5. ยากลุ่มวิตามินเอ ( Retinoids ) เช่น Roaccutane,Isotane,Acnotin เป็นยาแรง มักจะใช้เป็นด่านสุดท้าย ยาค่อนข้างมีราคาแพง มีผลข้างเคียงต่อตับ และระดับไขมันในเลือด ที่สำคัญห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
6. การฉีดสิว ทำให้สิวหายได้เร็ว ควรกระทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากอาจเกิดรอยหลุมจากผลของยาได้

การรักษาสิวอักเสบแบบไม่ใช้ยา เพราะกลัวผลข้างเคียงจากยา

1. มาสค์หน้ารักษาสิว : ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ หรือสมุนไพร หรือ ยีสต์บางชนิดทีสรรพคุณฆ่าเชื้อสิวได้ แต่การมาสค์หน้ารักษาสิว จะได้ผลดีระดับหนึ่ง เฉพาะสิวหัวแดง(Papule) กับ สิวหัวหนอง ( Pustule) ส่วนสิวอักเสบที่รุนแรงมักจะไม่ได้ผล และบางทีก็เสี่ยงกับการแพ้สารสกัดหรือสมุนไพรบางอย่าง
2. การรักษาสิวอักเสบด้วยคลื่นแสง พบว่าแสงสีน้ำเงิน ความยาวช่วงคลื่นที่ 407-420 nm. สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิวได้ ( P.acnes) ไม่แพ้กลุ่มยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) โดยได้รับการยอมรับจาก FDA ของอเมริกา ว่ารักษาได้ผลประมาณ 55-60%
3.เลเซอร์รักษาสิวอักเสบ: ปัจจุบันเลเซอร์รักษาสิว ที่นิยมใช้กันในคลินิกรักษาสิว ก็คือ V-Beam Laser เพราะแก้ปัญหาสิวอักเสบได้ทุกชนิด และยังรักษารอยแดง รอยดำจากสิว ทำให้ผิวหน้าเนียนในคราวเดียว การรักษาสิวด้วยเลเซอร์ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชียวชาญโดยเฉพาะ จึงจะได้ผลดี และไม่มีผลข้างเคียงจากการทำเลเซอร์

Posted on 2 Comments

สิวอุดตัน (Comedone) ล้างหน้ามีสะดุด อยากหยุดปัญหานี้ มีวิธีใด รักษาให้หายขาดได้

สิวอุดตัน (Comedone) คืออะไร

สิวอุดตัน (Comedones) คือ สิวขนาดเล็กที่มีไขมันจับเป็นตุ่มเล็กๆ ในท่อไขมัน ใต้ผิวหนัง เป็นสิวชนิดที่ไม่เกิดการอักเสบ พบได้มากกว่า 70 %ของปัญหาสิว ทุกกลุ่มอายุ ทุกเพศ แต่ส่วนใหญ่จะพบในวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว
ตำแหน่งทีพบได้ เกิดได้บ่อยบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัว(โดยเฉพาะที่หลัง) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมัน Sebaceous gland จำนวนมาก
สาเหตุการเกิดสิวอุดตัน : เกิดจากการระบายไขมันไปยังผิวชั้นนอกอุดตัน ซึ่งอาจจะเกิดได้จากปัจจัยต่างๆ ด้ังนี้
1. สร้างไขมันมากเกินไป จากปัญหาฮอร์โมนเพศชายสูง แล้วระบายออกไม่ทัน ไขมันจึงจับตัวเป็นก้อน
2. ท่อไขมันผิดปกติ : ความผิดปกติของการลอกผิวในท่อขุมขนเอง หรือเกิดการอักเสบเรื้อรัง จากการไปกดสิว บีบสิว ทำให้ไขมันระบายออกไม่ดี เกิดการอุดตัน
3. แพ้ครื่องสำอางบางชนิด แล้วเกิดอาการแพ้ ระคายเคือง
4. การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสเกิดสิวอุดตันได้มากขึ้น

ชนิดของสิวอุดตัน

สิวอุดตันมีหลายชนิดด้วยกัน ที่พบได้บ่อย ได้แก่
1. สิวหัวดำ (Open comedone )เป็นจุดสีดำปรากฏบนผิวหนัง เกิดจากการอุดตันของขน เนื้อเยื่อ และไขมันภายในรูขุมขน สารเมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีที่เซลล์ผิวหนังจะทำปฏิกิริยากับสารที่อุดตันให้เปลี่ยนเป็นสีดำ ในขณะที่สารเหล่านั้นโผล่พ้นขึ้นมาสัมผัสกับออกซิเจน
2. สิวหัวขาว(Closed come done ) สีขาวบนผิวหนัง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อุดตันอยู่ภายในรูขุมขน แต่รูขุมขนที่อุดตันนั้นจะไม่ได้สัมผัสอากาศ จึงไม่มีการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน และยังคงมองเห็นเป็นจุดสีขาวที่อุดตันอยู่บนผิวหนัง
3. สิวจากสเตียรอยด์ ( Steroids acne) หรือยาบางชนิด อาหารเสริมที่มีฮอรโมนเพศฃายผสม เช่น อาหารสำหรับนักเพาะกาย
ผลข้างเคียงจากการเกิดสิวอุดตัน มักเกิดจากการพยายามแกะ แคะ บีบเพื่อให้สิวอุดตันหลุด และขาดความชำนาญในการกดสิว มักพบได้บ่อยคือ
1.รอยดำสิว
2.รอยหลุมสิว
3.สิวอุดตันเรื้อรัง เนื่องจากการกดหรือบีบ แล้วทำให้ท่อไขมันเกิดการอักเสบ มีพังผืด การระบายไขมันไม่ดี

การรักษาสิวอุดตัน

1. ครีมทาละลายสิวอุดตัน กลุ่ม Tretinoin (เช่น Retin-A,Tretinoin,Diffein ) กรดอะซีลาอิค (Azelaic Acid)กรดไกลโคลิค (Glycolic Acid)
2. การกดสิว มักจะทำได้เฉพาะกลุ่มสิวหัวดำ เพราะจะหลุดออกได้ง่าย และควรทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นภายหลัง หรือถ้าจะกดเอง ควรจะเลือกใช้เครื่องมือกดสิว ส่วนสิวหัวขาว ไม่แนะนำให้กด ควรจะเจาะออกด้วยเข็มหรือเลเซอร์
3.การทำ Peeling ด้วย 30-50% TCA จะช่วยทำให้ผิวหน้าแห้งลง ผนังสิวบางลง ทำให้สิวอุดตันฝ่อตัว และหลุดออกได้ง่าย
4. เลเซอร์ ชนิด Finescan 1550,Fraxel Refine กลุ่มนี้สามารถรักษาสิวอุดตัน ได้ทุกชนิดทั้งสิวหัวดำ สิวหัวขาว รวมถึงสิวอุดตันเรื้อรัง โดยลำแสงเลเซอร์จะยิงไปรักษาท่อไขมันที่ผิดปกติ ซึ่งพบเป็นสาเหตุบ่อยสุด ที่ทำให้เกิดสิวอุดตัน วิธีนี้ เท่านั้น ทำให้สิวอุดตันหายขาดได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดหน้ามัน กระชับรุขุมขน และรักษาแผลเป็นรอยดำ รอยหลุมสิวได้ด้วยในคราวเดียว

Posted on

ขั้นตอนการเกิดสิว (Acne Vulgaris) แต่ละชนิด มีสาเหตุจากอะไร จะป้องกันอย่างไรไม่เป็นสิว

สาเหตุของการเกิดสิว

  1. ท่อไขมันผิดปกติ : ปัญหานี้พบได้บ่อยในสิวที่เป็นเรื่องรัง เป็นๆ หายๆ มักจะเกิดจากการไปกดสิว บีบสิว จนท่อไขมันอักเสบเรื้อรัง ทำให้ไขมันระบายออกไม่ดี เกิดการอุดตัน
  2. ฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะ ฮอร์โมนเพศชายสูง จะทำให้ร่างกายหลั่งไขมันมากผิดปกติ จึงก่อให้เกิดการอุดตันได้ง่าย ถ้าระบายไขมันออกมาไม่ดีพอ
  3. ผิวแพ้ง่าย( Sensitive skin) ก็ทำให้เกิดอาการระคายเคือง มักพบเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้บ่อยเช่นกัน
  4. ความผิดปกติของการลอกผิวในท่อขุมขนเอง แล้วทำให้เกิดการอุดตัน
  5. สิวจากเครื่องสำอาง(Acne cosmetica) มักเกิดจากการใช้เครื่องสำอางบางชนิด แล้วเกิดอาการแพ้
  6. สิวจากแสงแดด(Actinic acne) เกิดได้ในบางคนที่เมื่อตากแดด จะเกิดสิวลักษณะเป็นตุ่มแดงอักเสบ เข้าใจว่าเกิดจาก แสงอุตราไวโอเลต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการสร้างเซลล์ในท่อไขมัน
  7. สิวจากสเตียรอยด์ หรือยาบางชนิด อาหารเสริมที่มีฮอรโมนผสม เช่น อาหารสำหรับนักเพาะกาย
  8. ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  9. โรคบางอย่าง ที่ทำให้ฮอรโมนเปลี่ยนแปลง เช่น เนื้องอกในรังไข่ วัยหมดประจำเดือน
ขั้นตอนการเกิดสิว

ขั้นตอนการเกิดสิว
– ปกติ ร่างกายจะผลิตไขมันจากต่อมไขมัน เพื่อให้ความชุ่มชื้นกับผิว โดยปริมาณไขมันที่ผลิตออกมา มากน้อย ขึ้นอยู่กับระดับฮอรโมนเพศชายเป็นหลัก แต่ถ้าท่อไขมันระบายได้ดี ไม่เกิดการอุดตัน ก็จะมีเฉพาะผิวมันง่าย แต่ถ้าเกิดการอุดตันของต่อมไขมัน จากสาเหตุต่างๆ ก็จะทำให้เกิดการอุดตัน เกิดเป็นสิวขึ้น โดยมีลำดับการเกิดดังนี้
หน้ามัน > ท่อไขมันอุดตัน ระบายไขมันไม่ดี > สิวอุดตันหัวขาวหรือหัวปิด > ถ้าไขมันอุดตันสะสมมากขึ้น ก็จะดันให้รูขุมขนเกิด ไขมันเจอออกซิเจน เกิดออกซิไดซ์ให้เกิดเป้นสิวหัวดำ > ถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ทำให้เกิดการออักเสบเป็นสิวอักเสบ

แนวทางการปฏิบัติสำหรับการป้องกันการเกิดสิว

  1. ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า เช่น สบู่ เจล โฟม ควรเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวมัน และมีตัวยาป้องกันการเกิดสิว
  2. เครื่องสำอาง ไม่ควรมีส่วนผสมของน้ำหอม สารดีทอร์เจ้นท์
  3. หลีกเลี่ยงการเช็ดหน้า หรือ นวดหน้าแรงๆ
  4. หน้ามันมาก อาจต้องใช้โลชั่นเช็ดหน้า หรือใช้ยารับประทานกลุ่ม Retionoids หรือ ยาคุมกำเนิดกลุ่ม Dian-35 เพื่อลดหน้ามัน /font>
  5. เลือกครีมกันแดด SPF ประมาณ 15 เพื่อป้องกันความมันของเนื้อครีม
  6. ครีมบำรุง เลือกที่ไม่มีส่วนผสมของ น้ำมัน และไม่ควรมัน ไม่มีฮอร์โมนผสมในครีมบำรุง
  7. ครีมแก้แพ้ หรือ สบู่ล้างหน้าสำหรับผิวแพ้ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผิวแพ้ง่าย( Sensitive skin)
  8. งดอาหารที่ทำให้เกิดสิวง่าย เช่น อาหารมัน อาหารรสจัด ทุเรียน ขนมหวาน ไอสครีม
  9. พักผ่อนให้เพียงพอ
  10. ไม่เครียด
  11. ห้ามกด หรือ บีบสิวเอง กรณีที่เกิดสิ
Posted on

สิวที่เกิดจากผลของการรับประทานยา (Acneiform eruptions) ไม่ใช่สิวธรรมดา รักษาอย่างไรให้หาย

สิวที่เกิดจากยา (Acneiform eruptions)

คือ สิวอีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากผลของการรับประทานยารักษาโรคบางชนิด เป็นระยะติดต่อกันนานๆ แล้วทำให้เกิดสิวขึ้น ซึ่งการรักษาสิวแบบปกติ ไม่สามารถดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถ้าไม่หยุดยาที่รับประทานอยู่ประจำ มักจะเป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องรับประทานยาดังกล่าวด้วย คือถ้าหยุดยาก็อาจจะทำให้อาการของโรคแย่ลง หรือไม่ดีขึ้น
ลักษณะสิวที่เกิดจากยาบางชนิด(Acneiform eruptions) มักจะมีลักษณะเป็นเม็ดนูนเท่าๆกันทุกเม็ด แบบตุ่มแดงอักเสบ(papules) หรืออาจจะมีเป็นตุ่มหนองได้ (pustules) เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กระจายไปในตำแหน่งที่สิวปกติมักจะไม่เกิด เช่น ตามแขน หลัง ขา ก้น เป็นต้น

สิวจากยารักษาวัณโรค

กลุ่มยาที่ทำให้เกิดสิวประเภทนี้ ได้แก่
1. กลุ่มยาฮอร์โมน ได้แก่ Gonadotropins,androgen ,Anabolic Steroics ซึ่งพบบ่อยในอาหารเสริมสำหรับเร่งกล้ามเนื้อในคนที่เล่นกล้ามหรือเพาะกาย
2. ยาเสตียรอยด์ ซึ่งใช้รักษาโรคภูมแพ้เรื้่อรัง หรือโรคทาระบบ Immune เช่น SLE
3. กลุ่มยารักษาวัณโรค ได้แก่ Isoniacid,Rifampicin
4. กลุ่มยาซึ่งใช้ในการดมยาสลบ ( Halogen )ได้แก่ Bromide,Iodides,Halothanes
5. กลุ่มยารักษาและป้องกันโรคลมชัก ได้แก่ Dilantin,Phenobarbitone
6. กลุ่มยารักษาโรคทัยรอยด์ ได้แก่ Thiourea,Thiouracil
7. กลุ่มยาอื่นๆ ได้แก่
– Choral hydrate( ยากระตุ้นให้หลับในเด็ก)
– Lithium(ในผู้ป่วยรักษาโรคซึมเศร้า ในคนไข้ทางจิตเวช),
– วิตามินบี 12,
– ยาควินิน (ในการรักษาโรคมาลาเรีย),
– PUVA ( ในการรักษาโรคเรื้อนกวาง),
– Cyanocobalamine ( ในการรักษาโรคโลหิตจางบางชนิด)
แนวการการรักษา: ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษา ถ้าสงสัยว่าสิวที่เกิดขึ้น เป็นจากการรับประทานยาประจำหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่จำเป็นมาก ก็ให้หยุดยาที่รับประทาน หรือเลี่ยงไปใช้ยาตัวอื่นแทน หรือถ้าต้องคงการรักษาไว้เพื่อมิให้อาการกำเริบ ก็อาจจะต้องทำการรักษาสิว หรือพบแพทย์ผิวหนังร่วมด้วย

Posted on

สิวหิน (Syringoma) หรือสิวข้าวสาร แต่ไม่ใช่สิว แล้วคืออะไร แก้ไขและรักษาได้อย่างไร

สิวหิน (Syringoma) คืออะไร

สิวหิน คือ เนื้องอกของต่อมเหงื่อที่บริเวณใต้ตา ไม่ใช่สิว จะะเอาเข็มไปบ่งหรือเจาะออก จะไม่พบว่ามีหนองหรือหัวสิวหลุดออกมาแต่ประการใด
เกิดได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จนถึงวัยหนุ่มสาว และมักจะมีประวัติคนในครอบครัว เช่น มารดาหรือพี่น้องที่เป็นผู้หญิงมีเนื้องอกชนิดนี้ด้วย
สาเหตุที่แท้จริง ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่เกิดจากเซลล์บุของท่อต่อมเหงื่อในชั้นหนังแท้ มีจำนวนท่อมากผิดปกติ
ลักษณะที่พบ เป็นเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรงลักษณะเป็นก้อนสีเนื้อหรือสีออกเหลืองเล็กน้อย ขนาดเล็กประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มีความแข็งเล็กน้อย เมื่อใช้นิ้วคลำดูจะรู้สึกคล้ายๆ เม็ดสิวแข็ง แต่ไม่เจ็บ บางคนก็เลยเรียกว่า สิวข้างสาร
ตำแหน่ง ที่พบบ่อย คือ บริเวณรอบดวงตา ทั้งหนังตาบน, หนังตาล่าง มักขึ้นเป็นกลุ่มบางครั้งอยู่ติดกัน จนดูคล้ายเป็นแผ่นหนาใต้ตา เนื้องอกชนิดนี้ยังพบได้ที่อื่น เช่น รักแร้, สะดือ, แผ่นอกด้านบน, หัวหน่าว ในบางรายที่เป็นมาก อาจจะกระจายที่ด้านหน้า ลำตัว ท้องและแขน
การรักษา สามารถทำได้ดังนี้
1. การใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า: ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม เพราะจำกัดขอบเขตได้ไม่ชัดเจน อาจจะมีผลต่อผิวข้างเคียงได้
2. การกำจัดด้วยเลเซอร์ CO2 : ปัจจุบันมักจะเจาะออกด้วยเลเซอร์ CO2 เพราะรูเล็ก ไม่มีแผลเป็น แล้วกดออก
3. การแต้มด้วยกรด TCA เข้มข้น ในกรณีที่ก้อนเล็กขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็เสี่ยงต่อรอยดำ และ อาจจะมีผลต่อผิวข้างเคียงได้

Posted on

คีลอยด์ (Keloids) แตกต่างจาก แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) อยากหาย รักษาอย่างไร ให้ผิวกลับมาปกติ

คีลอยด์ (Keloids) คืออะไร

คีลอยด์ คือ แผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนและค่อนข้างแข็ง มีสีคล้ายสีของผิวหนัง หรืออาจสีคล้ำ หรือ แดง แม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ก็ส่งผลด้านความสวยความงาม ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เหมือนผิวพรรณมีตำหนิ คีลอยด์ส่วนใหญ๋ไม่มีอาการอะไร แต่บางครั้งอาจจะคัน ระคายเคือง หรือเจ็บ
สาเหตุของคีลอยด์ : เกิดจากการเรียงตัวผิดปกติ ของแผลที่หายแล้ว โดยเนื้อเยื่อและคอลลาเจนที่ซ่อมแซมบริเวณดังกล่าว เกิดการทำงานมากกว่าปกติ โดยอาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหายหรือหลังจากแผลหายดีสักพัก
ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ อกด้านบน ใบหู คาง ไหล่ คอ หลัง ท้อง และขา
ความแตกต่างของคีลอยด์ (Keloids) กับแผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar)
1. Keloids เป็นแผลนูนหนาที่เกิดเลยขอบเขตของแผลเดิม และ Hypertrophic Scar คือรอยแผลนูนหนาที่เกิดเฉพาะบริเวณแผลเดิม ไม่โตมากกว่าขอบเขตของแผลเดิม
2. Keloids มักไม่ค่อยหายขาด และอาจมีการอักเสบเป็นหนอง หรือ โตเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ ไม่ได้ถูกกระทบกระเทือน ส่วน Hypertrophic Scar หายขาดได้ อาจจะค่อยๆ ราบเหลือเป็นรอยสีขาวๆ และราบหายไป ภายใน 6-24 เดือน

Keloid ที่หัวไหล่ vs Hypertrohic scar ที่ท้อง

การป้องกันและรักษา

การป้องกันการเกิดคีลอยด์ ในคนที่มีประวัติ Keloids มาก่อน และป้องกันไม่ให้มี Keloids ในตำแหน่งอื่นๆ ได้อีก ควรปฏิบัติตนดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการผ่าตัดในผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นนูนหนา เพราะแผลผ่าตัดใหม่อาจเกิดKeloids ใหม่และเป็นมากขึ้น
2. หลีกเลี่ยงการจี้ด้วยกระแสไฟฟ้า ในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็น Keloids
3. เมื่อเป็นสิว หรือ ต่อมเหงื่ออักเสบ ควรรีบพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อให้ยาปฏิชีวนะ หรือ Isotretinoin อย่างเต็มที่ เพราะถ้าปล่อยให้แผลหายเอง อาจเกิด keloids ได้
4. ไม่ควรเจาะหูเพื่อใส่ตุ้มหู ในคนประเภทนี้ ถ้าทำควรระมัดระวัง เรื่องความสะอาด การติดเชื้อ เพราะจะเกิดรอยแผลเป็นนูนหนาได้ง่าย

การรักษาแผลเป็นนูนหนา ( Keloid) 

1. การฉีดยาให้ยุบ เป้นที่นิยมและได้ผลดี ยาที่ใช้เป็นกลุ่ม Corticosteroids เช่น Kenacort ยาจะไปลดการสร้างคอลลาเจน และเนื้อเยื่อบริเวณคีลอยด์ ลดอาการอักเสบ ทำให้ลดขนาดลง ไม่โตขึ้น และมักใช้กรณีที่ keloids มีเจ็บปวด หรือขนาดใหญ่มาก ฉีดได้ทุก 2 อาทิตย์ อาจผสม ยาชาร่วมด้วย
2. การแต้มด้วย 50 % TCA มักใช้ในกรณีที่ Keloids เริ่มยุบตัวได้ดี และทำให้หลุดลอกออกเป็นผิวปกติ
3. การทำเลเซอร์ ลดรอยดำ หรือรอยแดง มักจะใช้ในกรณีที่ฉีดคีลอยด์ยุบดีแล้ว ต้องการปรับสีผิวให้กลับมาใกล้เคียงปกติ เลเซอร์ที่ใช้ ก็เช่น V-beam,Revlite,Finecan
4. การจี้ด้วยไอเย็นจากไนโตรเจนเหลว มักทำร่วมกับการฉีดคีลอยด์ด้วยยา Corticosteroid
5. การผ่าตัดแล้วเย็บปิด แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นที่เดิมได้ 60 % มักป้องกันโดยฉีดยาให้ยุบก่อน ตรงแผลผ่าตัด และนัดมาฉีดยาซ้ำตามข้อ 1 แล้วนัดดูผลประมาณ 2 ปี
5. การตัดออกด้วยเลเซอร์( CO2 Laser) จะได้ผลดีเฉพาะคีลอยด์บริเวณใบหู ส่วนบริเวณอื่น ได้ผลไม่ดีนัก มักเป็นซ้ำและมากกว่าเดิม ประมาณ 55 %
6. การใช้ Silicone gel หรือ Plaster ที่ประกอบด้วย Polymethylsilicone polymer แปะบนผิวของคีลอยด์ พบว่าได้ผลดีเฉพาะในกรณีลดอาการคันและเจ็บ โดยแปะอย่างน้อย 12 ชม.ต่อวัน แต่การป้องกันและรักษา Keloids ยังไม่มีรายงานระบุชัดว่าได้ผลดี
7. ครีมรักษาแผลเป็นนูน : ได้แก่กลุ่มสารออกฤทธิ์ที่สำคัญสองชนิดคือ สารสกัดจากหัวหอมที่ชื่อว่า Cepalin และสาร Allantoin ส่วนใหญ่จะได้ผลดี ถ้าเกิดแผลใหม่ๆ

Posted on

สิวผด (Acne Estivalis) กดแล้วก็ไม่หาย สาเหตุจากอะไร อยากรักษาให้หายขาด

สิวผด คืออะไร

สิวผด (Acne Estivalis) เป็นสิวประเภทหนึ่ง พบได้บ่อย มีลักษณะคล้ายกับผดผื่นเม็ดเล็ก ๆ สีแดงและอาจมีอาการคันร่วมด้วย มักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะหน้าผากและขมับ ปกติมักจะไม่อักเสบ ยกเว้นจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียสิวร่วมด้วย
สาเหตุ : มีได้หลายสาเหตุ ที่พบบ่อย มีได้ดังนี้
1. สาเหตุจากความร้อน และแสงแดด แล้วเกิดจากอาการแพ้ โดนเมื่อผิวหนังโดนแสงแดดและความร้อน ทำให้ผิวหนังต้องเร่งการขับเหงื่อ แต่เมื่อต่อมเหงื่อไม่สามารถระบายเหงื่อออกได้หมด ก็จะทำให้เกิดการอุดตัน กลายเป็นตุ่มน้ำเล็ก ๆ คล้ายกับผดผื่น ถ้าอากาศร้อนขึ้น สิวผดก็จะเห่อขึ้น และอาการจะลดลงไปเองในตอนเย็นหรือตอนเช้า
2. การเช็ดถูหน้าบ่อยๆ หรือ การเช็ดถูหน้าแรงๆ
3. เครื่องสำอางบางประเภท
4. เชื้อราบางชนิด เช่น P.Ovale
5. พักผ่อนน้อยเกินไป
6. ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอหรือร่างกายไม่แข็งแรง

การป้องกันและรักษาสิวผด

  1. ลดการรบกวนต่อผิวหน้าให้น้อยที่สุด (Mechanical Irritation) เช่น การนวดหน้า, การขัดหน้า, หรือเช็ดถูหน้าบ่อยๆ
  2. ล้างหน้าเฉพาะที่จำเป็น หรือบริเวณที่ผิวมัน เพราะ การล้างหน้าบ่อยๆ จะทำให้สิวผด รุนแรงมากขึ้นได้
  3. ลด หรือหลีกเลี่ยง การใช้ครีมหรือยาที่ทำให้ผิวหน้าระคายเคืองมากขึ้น (Chemical Irritation) เช่น การใช้ยารักษาสิวประเภท Retinoic Acid, Benzoyel Peroxide AHA, BHA เป็นต้น
  4. ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า, หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ และไม่ควรใช้น้ำอุ่นล้างหน้า และควรล้างหน้าไม่เกิน 2-3 ครั้งต่อวัน
  5. ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด และใช้ครีมกันแดดทุกครั้งที่ต้องออกนอกบ้าน ควรเลือกกันแดดที่มี SPF >15-30 และมีค่า PA++ เป็นอย่างน้อย
  6. ไม่ควรซื้อยามารักษาผื่นเอง เพราะมักทำให้เป็นมากขึ้น และยาที่หาซื้อได้จากร้านขายยา มักเป็น STEROID ซึ่งมีผลข้างเคียงมาก
  7. เลเซอร์วีบีม ช่วยลดรอยแดง การอักเสบของสิวผด ให้หายเร็วขึ้น

สิวผดเมื่อไหร่จะหาย :
สิวผดเป็นสิวที่ขึ้นง่าย หายเร็ว มักไม่อักเสบเป็นหัวหนอง หรือสิวอุดตัน แต่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ จนเป็นที่รำคาญ การได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนัง จะทำให้สิวผดหายเร็ว และสามารถป้องกันไม่ให้ขึ้นมาอีกได้ ในระยะยาว