แคลเซียม (Calcium) : แร่ธาตุที่ทุกคนต้องการ อยากเพิ่มแคลเซี่ยม แต่ไม่ได้ผล เพราะอะไร

ดูแลผิวพรรณ

4 สิงหาคม 2005


ทำไมต้องรับประทานแคลเซี่ยม
แคลเซียมมีประโยชน์มากมาย มีความจำเป็นมากกับความแข็งแรงและความหนาแน่นของกระดูก ในภาวะปกติ ร่างกายต้องการแคลเซียมประมาณ 800-1000 มก.ต่อวัน
แต่เนื่องจาก ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมเองได้ เราต้องเพิ่มแคลเซี่ยม จากภายนอก ซึ่งมี 2 ทางได้แก่
1. การรับประทานที่มีแคลเซี่ยมสูง
ได้แก่ นม, กุ้งแห้ง, กะปิ, ปลาเล็กปลาน้อย, ปลาสลิด, หอยนางรม, ผักใบเขียวที่มีลักษณะแข็ง (คะน้า, ใบยอ, ใบชะพลู), งาดำ ฯลฯ
2. อาหารเสริม
ได้แก่ แคลเซียม ซิเตรต แคลเซียมฟอสเฟต แคลเซียมแลกเตต แคลเซียมคีเลต ไบโอแคลเซียม แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต ซึ่งปริมาณแคลเซียมและการดูดซึมของแคลเซียมต่างรูปแบบก็จะต่างกัน โดยพบว่า แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต จะดูดซึมได้ 90% และรับประทานได้แม้ตอนท้องว่าง
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ
อายุ < 40 ปี 800 mg / วัน = นม 3 – 4 แก้ว
วัยทอง (~50 ปี) 1000 mg / วัน = นม 4 – 5 แก้ว
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์, อายุ > 60ปี 1200 mg / วัน = นม 6 – 7 แก้ว
ผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากถึง 30  – 40% ส่วนผู้ชาย 10%
10 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน กระดูกจะบางลงเร็วมาก เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง หรือ Estrogen การเสริม Calcium จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน 

ปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซี่ยม

  1. การขาดวิตามินดี เพราะวิตามินดี มีส่วนช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น
  2. ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบ มะเร็งลำไส้ การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ท้องเสีย
  3. ภาวะความเป็นกรดของกระเพาะสูงเกินไป ทำให้แคลเซียมแตกตัวเป็นอิออนมาก และดูดซึมน้อยลง
  4. ความเครียด ทำให้กรดในกระเพาะหลั่งมากขึ้น
  5. การรับประทานอาหารพวกไขมัน หรือโปรตีนในปริมาณสูงๆ ทำให้ไปบดบังการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร
  6. อาหารบางอย่างที่ให้กรด Oxalic acid ในปริมาณสูง ทำให้กรดนี้ไปจับกับแคลเซียมในทางเดินอาหารทำให้การดูดซึมเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งกรด Oxalic acid นี้พบได้มากใน ผักขม โกโก้ ถั่วเขียว เป็นต้น
  7. การได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป จึงเกิดการแย่งกันดูดซึมกับแคลเซียม
  8. คาเฟอีนและแอลกอฮอร์ จะทำให้ร่างกายเร่งการขับถ่ายแคลเซียมออกจากร่างกายได้
  9. การสูบบุหรี่ ทำให้สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วขึ้น และทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง

Related