Posted on

อนุมูลอิสระ(Free radicles) คือปัญหาของการชราของผิวพรรณ(Cutaneous ageing) จะการป้องกัน แก้ไขอย่างไร

ขบวนการชราของผิวหนัง(Cutaneous Ageing) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ความชราที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ (Intrinsic Ageing) โดยมีการเสื่อมไปตามกาลเวลา
  2. ความชราที่เกิดขึ้นภายนอกเซลล์(Extrinsic Ageing) เป็นความชราที่เกิดขึ้นภายนอกเซลล์ จากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด (Photoageing) มลภาวะ การสูบบุหรี่ อดนอน ความเครียด อายุ ภูมิคุ้มกัน ระดับฮอร์โมน และพันธุกรรม เศรษฐานะ ภูมิประเทศ ศาสนา อาชีพ วัฒนธรรม ดังนั้น ภาวะชราจากปัจจัยภายนอก จึงแตกต่างกันในแต่ละคน
    ภาวะ Cutaneous Ageing เป็นผลของความชรา จากเซลล์ภายใน และปัจจัยภายนอกร่วมกัน เช่น แสงแดด(ด้งนั้น การใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ สามารถป้องกัน และลดความแก่ได้ระดับหนึ่ง) และพบว่าตัวการสำคัญที่เกิดขึ้น เราเรียกว่า free radicles(อนุมูลอิสระ)
    Free radicles  คืออนุมูลอิสระ อาจเป็น อะตอม อิออน หรือ โมเลกุล ที่พร้อมจะทำปฏิกริยากับสารต่างๆ ในขบวนการเผาผลาญพลังงาน(Metabolism) ในขบวนการต่างๆ และมี ออกซิเจน เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วย และอนุมูลอิสระนี้เอง แบ่งได้เป็นหลายชนิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะชราของผิวหนังทั้งสิ้น
    ดังนั้น ในการแก้ไข ป้องกันภาวะชรา จึงต้องหาสารที่สามารถกำจัด อนุมูลอิสระ(free radicles)เหล่านี้ และสารดังกล่าวที่นำมาใช้กำจัด เราเรียกว่า Antioxidants

Antioxidants จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ 

1. สารต้านออกซิเดชันธรรมชาติ ได้แก่ สารเคมีจากพืช เช่น ผัก ผลไม้ เครื่องเทศ สมุนไพร ชา

  • Phenolic Compound ในเครื่องเทศ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ชา ขมิ้น
  • ยูจีนอล ใน กานพลู
  • วิตามินซี
  • วิตามินอี
  • กรดซิตริก
  • แอนโทไซยานิน
  • ซีลีเนียม
    2. สารต้านออกซิเดชันสังเคราะห์ สารกลุ่มนี้จะมีโมเลกุลเล็ก ทำงานทั้งภายในและภายนอกของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะทำงานภายนอกเซลล์ และในกลุ่มนี้เอง ที่ได้นำมาใช้ในทางการแพทย์ อย่างแพร่หลาย และได้มีการคิดค้นเพื่อใช้ป้องกันและรักษา ภาวะชราของผิวหนัง ซึ่งได้แก่
  • – Viamin C
  • – Vitamin E
  • – Vitamin A
  • – Beta carotene
  • – Coenzyme Q10

คุณสมบัติของสาร Antioxidants ที่ดี(Ideal) ควรมีดังนี้

1. กำจัด free radicles ได้หลายชนิด
2. หาง่าย
3. ไม่เป็นพิษ ไม่ระคายเคือง
4. ดูดซึมทางผิวหนังได้ดี
5. มีความคงตัว ไม่สลายง่าย
6. ออกซิไดซ์ ได้ง่ายในบริเวณที่ใช้

ดังนั้นเครื่องสำอาง หลายๆ ยี่ห้อ ได้นำ Antioxidants มาผสมเพื่อใช้ในการป้องกันและรักษาภาวะชรา การได้ทราบพื้นฐานของกลไกการทำงาน อาจเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ เลือกใช้ อย่างฉลาด

Posted on

Phonophoresis : โฟโน นวดหน้า ผลักยากระชับผิว ให้ขาวใส ไร้ริ้วรอย เหี่ยวย่น

โฟโน คืออะไร

คือ เทคนิคยกกระชับหน้า โดยเครื่อง อัลตราโซนิค หรือเสียงความถี่สูง ประมาณ 20,000 Hz แต่จะไม่ได้ยินเสียง เดิมทางการแพทย์ ใช้ช่วยในการนวดกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง ตลอดจนเนื้อเยื่อ และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถ ทายาที่ผิวหนัง แล้วใช้คลื่นความถี่ผลักยาให้ซึมลงสู่ผิวหนัง ไปออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเครื่องไอออนโต ที่ใช้การแตกประจุยา แล้วให้ประจุบวก หรือ ลบ ผลักยาลงไปที่ผิวหนัง

แก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง

  1. ใช้ผลักยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ข้ออักเสบ ข้อติด ซึ่งมักใช้โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  2. ยกกระชัับหน้า ลดการหย่อนคล้อย
  3. รักษารอยด่าง ดำ บริเวณผิวหน้า
  4. รักษาริ้วรอยเหี่ยวย่น รอบดวงตา รอยตีนกา รอยย่นที่มุมปาก รอยย่นที่หัวคิ้ว และลำคอหย่อนยาน
  5. ใช้นวดลดถุงไขมันใต้ตา ขอบตาดำคล้ำ เพราะจะกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต นวดเซลล์ ทำให้สารอาหารมาหล่อเลี้ยงได้มากขึ้น

ข้อห้ามในการทำ Phonophoresis 

  1. ผิวหนังที่มีการติดเชื้อ
  2. ไม่ควรใข้ในบริเวณท้อง ในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจกระตุ้นให้แท้งบุครได้
  3. ไม่ใช้ในตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง เพราะอาจทำให้มะเร็งแพร่กระจายได้
  4. ไม่ควรใข้ในผู้ป่วย ที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ( cardiac pacemaker

การทำ Phonophoresis ได้นำมาใช้ยกกระชับหน้าประมาณปี พ.ศ. 2542 และได้รับความนิยม เพราะราคาไม่แพง และช่วงนั้นมีเครื่องมือให้เลือกไม่กี่อย่าง แต่ ปัจจุบันลดความนิยมลง เพราะบางคนทำแล้วไม่ได้ผล เมื่อเทียบกับเครื่องมือใหม่ๆ ที่ออกมาภายหลัง เช่น Thermage, Ulthera,HIFU แต่ก็อาจจะถือว่าเป็นทางเลือกแรกสำหรับคนงบน้อย และมีปัญหาหน้าแห้ง ขาดความชุ่มชื้น ต้องการกระชับผิวแบบทำได้ทุกอาทิตย์

Posted on

Chemical Peeling : การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี ให้หน้าขาวใส ไร้ริ้วรอย ด่างดำ รูขุมขนกระชับ

Chemical Peeling  คือ

คือ การเร่งให้ผิวหนังหลุดลอกออกเร็วขึ้น โดยใช้สารเคมี อาทิ กรดผลไม้AHAs,BHAs,PHA,และ TCA ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน แล้วแต่จุดประสงค์ของแพทย์ ในการใช้แก้ปัญหาด้านผิวพรรณ
โดยมีหลักการรักษา คือทำให้เกิดการทำลายเซลล์ผิวหนังให้น้อยที่สุด และมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้มากที่สุด
การทำ Peeling แบ่งการผลัดผิวได้เป็น
1.Very Superficial Peeling การผลัดผิว อย่างบางๆ ลอกเฉพาะเซลล์ผิวชั้นนอก(Stratum Corneum) ของชั้นหนังกำพร้า( Epidermis) มักใช้ 30-50 % Glycolic acid ( AHA) หรือ 10 % TCA ทานาน 1-2 นาที
2. Superficail Peeling ผลัดผิวลึกลงกว่า วิธีที่ 1 ทำให้เซลล์ในชั้นหนังกำพร้า( Epidermis) บางส่วน หรือทั้งหมด จนถึงบริเวณ รอยหยัก หลุดลอกออก มักใช้ 30-50 % Glycolic acid ทานาน 2-20 นาที หรือ 10-30 % TCA

3. Medium Peeling ลอกลึกถึงเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า( Epidermis) บางส่วน หรือทั้งหมด มักใช้ 70 % Glycolic acid ทานาน 3-30 นาที หรือ 30-50 % TCA
4. Deep Peeling ผลัดผิวลึกที่สุด ทำให้เซลล์ในชั้นหนังกำพร้า( Epidermis) ทั้งหมด จนถึงบริเวณ รอยหยัก หลุดลอกออก มักใช้ 100 % Glycolic acid ทานาน 1-3 นาที หรือ 70 % TCA

ประโยชน์ในการผลัดผิวหน้า ด้วยการทำ Peeling 

  1. ลดรอยหมองคล้ำ รอยดำ ทำให้ผิวหน้าขาวเนียนขึ้น
  2. รักษาฝ้า กระ ให้สีจางลงได้
  3. ข่วยให้รอยหลุมจากสิวตื้นขึ้น และ แผลเป็นรอยนูนราบลงได้
  4. แก้ไขปัญหารูขุมขนกว้าง ทำให้ผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น
  5. ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น แก่ก่อนวัย

การทำ Peeling นี้ แต่ละคลินิกจะได้ผลแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ 

  1. วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ลอก ลึกแค่ระดับใด
  2. ชนิดของสารเคมีที่ใช้
  3. ความเข้นข้นของสารเคมี
  4. จำนวนครั้งการทา
  5. PHของสารเคมีที่ใช้
  6. เทคนิคการทา
  7. สีผิวหรือปัญหาของผิวหนังแต่ละคน
  8. ระยะเวลาในการทาทิ้งไว้
  9. ความสะอาดของผิวหน้า
  10. ประวัติรักษาที่เคยทำมาก่อน

ข้อแนะนำหลังการรักษา 

  1. ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด หรือ โฟม หรือ สบู่อ่อนๆ งดใช้ครีมทุกชนิด ในวันแรกที่ทำการรักษา
  2. หลีกเลี่ยงการออกแดด เพราะอาจจะทำให้หน้าเกรียมแดด หมองคล้ำลงได้ แต่ถ้าจำเป็นให้ใช้ครีมกันแดดทาก่อนออกแดด ควรเลือกที่มี SPF > 50
  3. ผิวหน้าจะลอกภายใน วันที่ 3-5 หลังการทำ Peeling ไม่ควรแกะออกเอง ให้หลุดลอกตามธรรมชาติ อาจใช้ครีมบำรุงกลบรอยขุยที่หลุดลอกได้
    ข้อควรระวัง : แม้ว่าการลอกผิวด้วยสารเคมี จะเป็นที่นิยม เพราะราคาไม่แพง แต่ก็ควรระวังในคนที่สีผิวคล้ำ หรือผิวแพ้ง่าย เพราะมีผลข้างเคียง อาจจะทำให้เกิดรอยดำชั่วคราวหรือถาวรได้ จากการระคายเคืองจากสารเคมีได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจทำ
Chemical peeling before after 2 weeks
Chemical peeling before after 2 weeks

Posted on

ขมิ้นชัน(Turmeric) : สมุนไพรมหัศจรรย์ ที่รักษาได้หลายโรค จนเราไม่คาดคิด ไม่มีพิษต่อร่างกาย

ขมิ้นชัน รู้จักกันโดยทั่วไปในด้านการใช้ประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะในภาคใต้ และสารสีเหลืองในขมิ้นชันนี่เองที่ชาวอินเดียและชาวตะวันออกกลางใชัทำเครื่องแกงที่เรียกว่า curry โดยมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Curcuma longa Linn. ในวงศ์ Zingiberaceae

ประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ 

  1. เคลือบแผลในกระเพาะอาหาร เหมือนยาลดกรด เมื่อรับประทานเหง้าของชมิ้นชัน จะมีสาร Curcumin สามารถกระตุ้นการหลั่งสาร mucin ออกมาในกระเพาะอาหาร จึงสามารถใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้
    ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง แต่ยังสู้ยาลดกรดทั่วไปไม่ได้ เนื่องจากในขมิ้นชัน จะมีสาร curcumin ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทำให้ปรับขนาดยาได้ไม่แน่นอน
  2. ลดการอักเสบได้ เมื่อนำมาทาที่ผิวหนัง จึงใข้รักษาโรคผิวหนังพุพอง กลาก เกลื้อน ทาแก้ยุงกัด ลดสิวอักเสบ
  3. มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี และฆ่าเชื้อแบดทีเรียในลำไส้ จึงช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการอุจจาระร่วงได้
  4. ลดการหดเกร็ง ปวดท้อ เพราะ มีฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเรียบ
  5. ป้องกันตับอักเสบ เนื่องจากตับเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำย่อยหลายชนิด การที่ curcumin สามารถป้องกันการอักเสบเนื่องจากสารพิษ จึงอาจเป็นการลดอาการแน่นจุดเสียดทางอ้อม

ความเป็นพิษ
ขมิ้นชันจัดเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง ถึงแม้จะมีรายงานว่า curcumin เองก็อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ และผงขมิ้นชันทำให้เกิดพิษต่อตับในสัตว์ทดลอง แต่ก็เป็นการให้ในปริมาณที่สูงมาก ดังนั้นหากจะใข้ประโยชน์จากขมิ้นชันในการรักษาโรค แนะนำว่าไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากกว่า 500 มก.ต่อครั้งที่รับประทาน

อ้างอิงจากหน่วยข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับมหิดล

Posted on

เชื้อราที่เล็บ (Fungal Nail Infection : Onychomycosis ) สาเหตุจากอะไร สังเกตยังไง รักษาแบบไหนดี

การติดเชื้อราที่เล็บ เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบกันบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เกิดในสตรี มากกว่าบุรุษ โดยพบที่เล็บเท้า บ่อยกว่าเล็บมือ เพราะมีความอับชื้นสูงกว่า ทำให้เชื้อโรคมีโอกาสก่อโรคมากกว่า

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดเชื้อราที่เล็บ คือ

1. เบาหวาน
2. ความชรา
3. ภาวะการไหลเวียนของเลือดต่ำ
4. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาทิ โรคเอดส์ ซึ่งในปัจจุบัน คนไข้ที่มาพบแพทย์ผิวหนัง ด้วยเชื้อราที่เล็บ ทั้งมือ และเท้า และเป็นมากๆ ทุกนิ้ว และพบว่าผู้ป่วย อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ไม่มีอาการของโรคอื่นๆ มักแนะนำให้ตรวจเลือดหาเชื้อ เอชไอวี
สาเหตุ: ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา Dermatophyte แต่อาจเกิดจากยีสต์ก็ได้ เช่น C.albicans
ลักษณะอาการที่พบ มักเกิดจากบริเวณปลายเล็บ หรือ ซอกเล็บด้านข้างก่อน แล้วเชื้อราจะลุกลามแทรกเข้าไปใต้เล็บ ทำให้เกิดการแยกตัวของเล็บกับเนื้อข้างใต้ และมีขุยใต้เล็บมาก ทำให้ตัวเล็บดูขุ่นขาว ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจลุกลามทั่วเล็บ ทำลายเล็บ ทำให้เล็บเสียรูปทรง ทำให้ดูไม่สวยงาม และมักไม่ค่อยมีอาการอื่น เช่นการอักเสบ หรือ ปวดเล็บ

แนวทางการป้องกัน คือ ต้องระวังไม่ให้เล็บมือ เล็บเท้าอับชื้น หลีกเลี่ยงการแช่มือ เท้า ในน้ำนานๆ เช่น บางคนชอบไปทำเล็บที่ร้านเสริมสวย และมักติดเชื้อราที่เล็บกลับมาเป็นของแถม ได้บ่อยๆ ไม่ควรใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับคนอื่น

แนวทางการรักษา 

1. ยาฆ่าเชื้อรา ชนิดรับประทาน เป็นการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีหลายตัว ที่ได้ผลดี ระยะเวลาในการรักษาก็แตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของยา กรณีที่รับประทานสะดวก ใช้เวลาไม่มากนัก ก็จะราคาแพง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ดีกว่าจะเลือกซื้อยามารับประทานเอง
2. ครีมทาฆ่าเชื้อรา ใช้ทาที่เล็บมักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจาก ตัวยาไม่สามารถซึมผ่านเล็บไปได้ ยกเว้นกรณีที่พบเป็นขุยๆ ที่ขอบเล็บไม่มาก
3. ในปัจจุบัน ในยุโรป ได้มียาทารักษาเชื้อราที่เล็บชนิดใหม่ เรียกว่า Ciclopirox nail laqure ซึ่งตัวยาทาเล็บนี้ จะติดทน และซึมผ่านเล็บไปยับยั้งเชื้อราได้ โดยให้ทาวันเว้นวันในช่วงแรก แล้วค่อยๆ ลดความถี่ในการทาลง ภายใน 6 เดือน
4. ไม่แนะนำให้ถอดเล็บ เนื่องจากไม่ได้ผล ฆ่าเชื้อราไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้เจ็บปวด และทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ ( Nail matrix) ทำให้เล็บที่จะงอกใหม่บูดเบี้ยว หรือผิดรูปอย่างถาวรได้

Posted on

Hair Transplantation : การผ่าตัดปลูกย้ายรากผม สำหรับผมร่วงบางรุนแรง ยากินเอาไม่อยู่

การปลูกย้ายเซลรากผม ( Hair transplantation)

เป็นการแก้ปัญหาผมบาง ศีรษะล้านโดยการทำศัลยกรรมตกแต่ง โดยการปลูกผมทดแทน คือ การย้ายหนังศีรษะรวมทั้งตุ่มผม( hair follicles) จากบริเวณที่มีผมดกไปทำการปลูกทดแทนในบริเวษหนังศีรษะที่ไม่มีผม ผมบาง หรือตุ่มผมไม่ทำงาน ระยะเวลาและจำนวนครั้งในการทำผ่าตัดขึ้นอยู่กับขนาดของบริเวษศีรษะที่ไม่มีผม โดยเซลล์ผมที่ย้ายมาปลูก จะมีลักษณะเหมือนกับเส้นผมที่ท้ายทอย ซึ่งทนทานไม่ร่วงหลุดได้ง่ายเหมือนผมด้านหน้า
วิธีการปลูกผมแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ

1.การปลูกผมแบบตัดหนังศีรษะ (Follicular Unit Strip Surgery: FUSS) เป็นวิธีปลูกผมที่นำหนังศีรษะบริเวณที่มีผมขึ้นมาเย็บติดกับหนังศีรษะบริเวณที่ไม่มีผม โดยบริเวณท้ายทอยที่ได้ทำการผ่าตัดเอาหนังศีรษะออกมาจะถูกเย็บปิดแผลและกลายเป็นแผลเป็นต่อไป
2. การปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด (Follicular Unit Extraction: FUE) เป็นวิธีการปลูกผมที่นำเอากอผมจากบริเวณหนังศีรษะของผู้เข้ารับการปลูกผม ฝังลงบนหนังศีรษะ โดยวิธีนี้จะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทย่อย ๆ ได้แก่

  • การปลูกโดยใช้รากผมในปริมาณที่มาก (Slit Grafts) โดยจะใช้รากผม 4-10 รากต่อหลุมผมในแต่ละหลุม
  • การปลูกโดยใช้ปริมาณผมน้อย (Micro-Grafts) ใช้รากผมเพียง 1-2 รากต่อหลุมผมในแต่ละหลุม

ในปัจจุบัน การปลูกผมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการปลูกผมแบบถาวร (FUE) เนื่องจากเป็นวิธีที่ได้ผลดี อีกทั้งยังไม่ทำให้มีแผลเป็นจากการปลูกผมอีกด้วย

ใครควรจะผ่าตัดปลูกผม

มักทำใน คนไข้ที่มีผมล้าน เกรด 4 ขึ้นไป หรือทำในคนอายุมากพอสมควรก่อน ( ส่วนใหญ่ก็อายุเกินสี่สิบไปแล้ว) จนอิทธิพลจาก ฮอร์โมนเพศชาย DHT (ซึ่งเป็นสาเหตุของผมร่วง) น้อยลงแล้ว และแนวเส้นผมจะร่นล้านขึ้นไปคงที่แล้ว จึงพิจารณาทำการย้ายรากผม จำนวน การปลูกย้ายรากผม จะมีปริมาณมากน้อย ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
ข้อห้ามในการปลูกผม

แม้ว่าการปลูกผมจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีเสมอไป โดยการปลูกผมด้วยวิธีศัลยกรรมนั้นถือเป็นข้อห้ามของคนกลุ่มดังต่อไปนี้

  • ผู้หญิงมีลักษณะศีรษะล้านทั่วหนังศีรษะ
  • ผู้ที่มีปริมาณผมที่ใช้ในการปลูกไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องแผลเป็น หรือคีลอยด์ได้ง่าย
  • ผู้ที่มีสาเหตุของโรคประจำตัว เช่น SLE, มะเร็ง หรือ ศีรษะล้านจากเคมีบำบัด
    การปลูกย้าย รากผม ปัจจุบัน มีเทคนิคหลายๆ อย่างที่แพทย์ผู้เชี่ยวขาญได้เลือกใช้ และมีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ผ่าตัดด้วยแพทย์​ จนถึงการผ่าตัดปลูกย้าย ด้วยหุ่นยนต์​
    ดังนั้นก่อนจะทำการผ่าตัดปลูกย้ายรากผม ควรจะพิจารณาให้ดี ว่าควรทำแบบไหน เพราะแต่ละวิธี ผลการรักษาแตกต่างกันมาก และค่าใช้จ่ายในการทำการปลูกย้ายรากผม ก็แตกต่างกันแล้วแต่คลินิก หรือ รพ. รวมทั้งเทคนิคในการทำผ่าตัด นอกจากนี้ หลังทำการผ่าตัด ผมขึ้นดีแล้ว ยังควรแนะนำให้ทานยาป้องกันการร่วง เช่น Finasterdie ,Dutasteride ไว้ด้วย เพื่อมิให้ผมร่วงกลับมาร่วงได้อีก
Posted on

โรคปากนกกระจอก( Angular stomatitis) เป็นก็ง่าย หายก็ยาก สาเหตุมีมาก ไม่ใช่เฉพาะขาดวิตามิน

โรคปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบบริเวณมุมปาก เกิดแผลบริเวณมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน มีรอยแตก และแยกออกจากกัน ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดจากการขาดวิตามินบี 2 ( Riboflavin) แม้แต่แพทย์ทั่วไปหลายๆ ท่าน ก็ทำการรักษาโดยให้วิตามินบี 2 ทั้งๆ ที่สาเหตุจากการขาดวิตามินดังกล่าว พบได้น้อยมาก
ลักษณะอาการที่พบ คือ จะมีการหลุดลอกของเซลล์หนังกำพร้าบริเวณมุมปาก แล้วต่อมาเกิดเป็นแผล และอาจติดเชื้อแบดทีเรียแทรกซ้อน อักเสบ ปวดเจ็บได้

สาเหตุของโรคปากนกกระจอก แบ่งได้ดังนี้

  1. ปัญหาของโรคผิวหนังเอง เช่น Atopic dermatitis, Seborrheic dermatitis ทั้งสองแบบนี้ เป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอกที่พบได้บ่อยที่สุด 
  2. ผู้ป่วยสูงอายุ ที่ไม่มีฟัน ทำให้รูปปากผิดปกติ ทำให้เกิดการอับชื้นที่มุมปาก เกิดการติดเชื้อจากเชื้อราได้
  3. การขาดอาหาร ได้แก่ การขาดวิตามินบี 2 การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินซี และการขาดโปรตีน(พบได้น้อย)
  4. การติดเชื้อแทรกซ้อน จากเชื้อแบคทีเรีย
  5. ภาวะน้ำลายมากกว่าปกติ ( Hypersalivation)

แนวทางการป้องกันและรักษา 

  1. หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แล้วรักษาที่สาเหตุ อาการดังกล่าวจะหายได้
  2. ทำความสะอาดช่องปาก เช็ดมุมปากให้แห้งตลอดเวลา
  3. กรณีที่ไม่ได้ใส่ฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา
  4. การใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น kenalog in oral base ได้ผลดีในแง่แผลที่เกิดจากภาวะอักเสบจากภูมิแพ้

ดังนั้น กรณีที่เป็นปากนกกระจอก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรคขาดอาหารเสมอไป ควรมองหาสาเหตุข้างต้นด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ตรงสาเหตุ 

Posted on

Winter itch : ผิวแห้ง คัน แตกลายตามขวาง ในผู้สูงอายุ หรือคนที่อาศัยในที่หนาวจัด นานๆ

Winter Itch คือ ภาวะผิวหนังอักเสบ แห้ง แตกเป็นขุย และมีรอยแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามขวาง( cracking ) มักไม่ค่อยมีอาการคัน พบได้บ่อยบริเวณ หน้าแข้ง รองลงมาก็คือ ต้นขา แขน มือ และลำตัว
ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดนี้ มักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อาศัยในบริเวณที่หนาวจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว หรือผู้ที่มีปัญหาผิวหนังแห้ง และอยู่ในห้องแอร์นานๆ
กลไกการเกิดโรค ที่แท้จริง ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้จากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น
– ภาวะผิวแห้ง
– การลดลงของไขมันใต้ผิวหนังในคนสูงอายุ
– ภาวะทุพโภชนาการ
– การลดลงของระดับฮอร์โมน
– การระเหยของน้ำจากผิวเพิ่มขึ้นเมื่ออากาศแห้ง ในฤดูหนาว
– การอุ้มน้ำของผิวหนังลดลงจากการถูกทำลายยสารระคายเคือง หรือการแพ้

แนวทางการป้องกันและรักษา 

  1. แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด
  2. ใช้สบู่ที่มีความเป็นกลาง ไม่มีฟอง หรือเลือกสบู่อาบน้ำที่มีสารเคลือบผิวกันการสูญเสียน้ำ เช่น Bath oil ที่ผสม Ceramide หรือสาร Emolients อย่างอื่นเช่น Lanolin
  3. ถ้าผิวหนังอักเสบ คัน อาจให้ทาด้วยครีมที่ผสมเสตียรอยด์ชนิดอ่อน หรือ ที่ผสมยูเรีย ให้ความชุ่มชื้น เช่น Urea in TA cream
  4. ทาครีมบำรุงเป็นประจำ
Posted on

Vitamin E ( Alpha-tocopherol) : วิตามินอี กับบทบาทการปกป้องผิวจากแสงแดด และความเหี่ยวย่นก่อนวัย

วิตามินอี  ถือเป็น Antioxidants อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมนำมารักษาปัญหาด้านผิวพรรณ วิตามินดี พบใน Plasma และเม็ดเลือดแดง โดยปกติจะช่วย ปกป้องเซลล์บุผิว จากการถูก Peoxidation ให้เกิด อนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์
จากการศึกษาพบว่า ผิวหนังในบริเวณที่มีต่อม Sebaceous glands ( ต่อมไขมัน) มาก เช่น ใบหน้า จะมีปริมาณของวิตามินอี มากกว่าบริเวณแขนถึง 20 เท่า เนื่องจากต่อม Sebaceous glands เป็นช่องทางที่สำคัญ ในการหลั่งวิตามินอี ออกสู่ผิวหนัง
แหล่งอาหารที่มีวิตามินอี
พบในผัก น้ำมันพืช เมล็ดพืช ข้าวโพด ถั่ว แป้งสาลี เนยเทียม เนื้อสัตว์ และนม ซึ่งร่างกาย ต้องการวิตามินอี ในรูปของ alpha-tocopherol ประมาณ 10 มก.ต่อวัน
วิตามินอี ประกอบด้วย Tocopherols และ Tocotrinols โดยมี Alpha-tocopherol และ Gamma-tocopherol เป็นตัวที่ Active ที่สุด ซึ่งร่างกาย

ประโยชน์ของการทาครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินE ในการป้องกันและรักษาผิวพรรณ 

  1. ช่วยลดอัตราการทำลายของแสงแดด ( Phtoprotection ) ที่ทำให้เซลล์เกิด Sunburn รอยแดงไหม้ ( erythema ) chronic UVB damage
  2. ลดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด ( photocarcinogenesis)
  3. ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
  4. ลดความหยาบกร้านของผิวพรรณ

ประโยชน์ของการรับประทานวิตามิน E 

  1. ในสัตว์ทดลองพบว่า วิตามินอี สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนัง ( basal cell carcinoma) ได้ถึง 70 % โดยเฉพาะรับประทานควบคู่กับวิตามินเอ
  2. ช่วยสมานแผล ( wound healing) เมื่อรับประทานวันละ 400 มก. ทำให้แผลหายได้เร็ว
  3. สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกาย โดยมีฤทธิ์ในการรักษาการอักเสบ ( anti-inflammatory effects ) และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ( immunostimulatory effects )

วิตามินอี จะเสื่อมสภาพได้เร็ว เมื่อถูกแสงแดด หรือออกซิเจน แต่จะทนต่อความร้อนได้ถึง 100 องศาเซลเซียส และภาวะความเป็นกรดด่าง การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด และยาระบาย จะทำให้ฤทธิ์ของวิตามินอี ในรูปรับประทานลดลงเช่นกัน

ขนาดในการรับประทานวิตามินอี ควรเริ่มที่ขนาดต่ำๆ ก่อน ประมาณ 100 มก.ต่อวันก็น่าจะได้ สาร alpha-tocopherol เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
แม้จะมีความปลอดภัยสูง เมื่อรับประทาน ขนาด ประมาณ 3,000 มก.ต่อวัน ได้เป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่แนะนำให้รับประทานเกิน 4,000 มกต่อวัน

Posted on

กลิ่นตัว ( Body Odor) : กลัวคนรอบข้างรังเกียจสาเหตุจากอะไร การแก้ไขได้อย่างไร ได้ผล

การมีกลิ่นตัว เป็นภาวะที่เจ้าของกลิ่นเอง มักไม่ค่อยรู้สึก เพราะคนที่ได้กลิ่น คือคนรอบข้าง แต่ถ้าไม่สนิทกันจริงๆ ก็คงไม่ค่อยมีใครกล้าบอกความจริงให้เราทราบ ( นิสัยคนไทย) แต่ท่านจะโดนรังเกียจจากสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นการทราบถึงปัญหาดังกล่าว ควรขอบคุณแก่คนที่บอกความจริงให้ทราบ ไม่ควรโกรธนะครับ แล้วรีบหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ด้วยตนเอง

สาเหตุของกลิ่นตัว: เกิดจากสารคัดหลั่งที่มาจาก ต่อมเหงื่อ(Apocrine gland) ที่บริเวณรักแร้ เป็นส่วนใหญ่ ขาหนีบ ซอกนิ้ว แต่ปกติจะไม่มีกลิ่นรุนแรง ยกเว้นจะมีพวกแบคทีเรีย พวก Aerobic bacteroid เจริญเติบโต ทำให้เกิดกลิ่นได้ นอกจากนี้ ไขมันที่เป็นส่วนประกอบของต่อมไขมัน ก็ทำให้เกิดกลิ่นได้เช่นกัน เพราะไขมันในSebum นี้ อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียกรัมบวก บริเวณรักแร้ เกิด Ph เป็นด่าง แล้วทำให้กลิ่นรุนแรงขึ้น

แนวทางการแก้ไข 

  1. อาบน้ำ ด้วยสบู่ที่มีส่วนประกอบของ Triclosan trichocarbon จะช่วยให้กลิ่นตัวลดลงได้
  2. ทาสารที่มีส่วนประกอบของ 20% Aluminium chlorhydrate ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดการสร้างเหงื่อ หรือ หยุดยั้งสารคัดหลั่งจากเหงื่อ จะช่วยลดกลิ่นตัวบริเวณรักแร้ได้มาก จากประสบการณ์พบว่า การใช้สารจำพวกนี้ทาบริเวณรักแร้วันละครั้งในสัปดาห์แรก หลังจากนั้นทาสัปดาห์ละครั้ง จะลดกลิ่นตัวได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
  3. ใช้ยาแอนตี้เซพติด หรือ Antibiotic อาทิ Gentamycin,Clindamycin เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  1. การฉีดสาร botox : สาร Btlulinum toxin นอกจากจะ สามารถยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท Acethylcholine ทำให้กล้ามเนื้อคล้ายเป็นอัมพาตชั่วคราวแล้ว ยังทำให้ต่อมเหงื่อบริเวณดังกล่าวทำงานได้ช้าลงด้วย เหงื่อจึงลดลง มักได้ผล ในการฉีดสารนี้ที่บริเวณ รักแร้ ฝ่ามือ และฝ่าเท้า ซึ่งสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้นาน 6-12 เดือน และต้องมาฉีดซ้ำ แต่ก็เป็นที่นิยมในต่างประเทศ มากกว่าการทำการผ่าตัด เพราะเจ็บน้อยกว่า ไม่ต้องนอนรพ.
  2. การผ่าตัดต่อมเหงื่อทิ้ง มักใช้กรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการฉีดโบทอกซ์ โดยการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณทรวงอกโดยการส่องกล้อง ที่เรียกว่า endoscpoic thoracic sympathectomy ซึ่งพบว่าเป็นวิธีที่ได้ผล และหายขาด เกือบ 90-97 % แต่ได้ผลดีเฉพาะเหงื่อออกบริเวณรักแร้ มีความปลอดภัยสูง แต่ต้องทำโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
โบทอกซ์ฉีดลดกลิ่นเตา
Posted on

กลิ่นปาก ( Bad mouth ) อยากแก้ไขให้ดีขึ้น สาเหตุจากอะไร ทำยังไง จึงจะได้ผล

การมีกลิ่นปาก เป็นภาวะกระอักกระอ่วนใจ และสร้างคนไม่มั่นใจ ของทั้งเจ้าของกลิ่นเอง และคนรอบข้าง ดังนั้นการเกิดปัญหาดังกล่าว จึงควรหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข เพื่อตนเอง และคนรอบข้าง นอกจากนี้การแก้ไขที่ถูกต้อง ตรงกับสาเหตุที่เกิด จะทำให้เรา ไม่ตกเป็นเหยื่อของสินค้าประเภทนี้ อาทิ ยาสีฟัน ยาอมบ้วนปาก ยาฉีดสเปรย์ หรือยาอมดับกลิ่น ที่มีการโฆษณากันเป็นจำนวนมาก และยังเสริมบุคลิกภาพที่มั่นใจ หอมสดชื่นทั้งภายนอกและภายใน

สาเหตุของกลิ่นปาก 

  1. พบว่า 85% ของคนไข้ที่มีกลิ่นปาก มาจากช่องปาก (โดยพิสูจน์ง่ายๆ ด้วยการบ้วนปากบ่อยๆ) แล้วทำให้กลิ่นปากลดลงได้ การเกิดการอักเสบ ของช่องปาก ฟันและเหงือก โดยมักมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
  2. ทอนซิล หรือระบบทางเดินหายใจ พบได้ ประมาณ 12 %
  3. ระบบทางเดินอาหาร พบได้น้อย นอกจากจะมีการเรอ หรือ อาเจียน
  4. โรคระบบภายในอื่นๆ พบได้น้อย อาทิ การอักเสบของระบบหายใจ ไต ตับ มะเร็งในช่องปาก หรือเหงือก

คนที่มีกลิ่นปาก บางคนไม่ทราบว่าตนเองมีกลิ่นปาก( อาจเกิดจากความเคยชินอยู่กับกลิ่น) เช่นเดียวกับคนที่ใช้น้ำหอม ใช้ใหม่ๆ จะมีความรู้สึกดีมาก แต่พอชินแล้วก็จะรู้สึกลดลง การพิสูจน์ว่ามีกลิ่นปากรุนแรงหรือไม่ ทำได้โดยการเลียที่ต้นแขน แล้วดมดู หลังจากแห้งแล้ว ถ้ามีกลิ่นแรง ถือว่ามีกลิ่นปากจริง! หรือ การใช้กระดาษลิตมัสที่ทดสอบความเป็นกรดด่าง หากกระดาษเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงิน แสดงว่าลมปากสะอาดดี แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงบ่งบอกว่าปากมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุจาก แบดทีเรีย

สารที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดจากสารระเหยที่มีส่วนประกอบของกำมะถัน(Velatile sulfur components) เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟล์ เมตทิลเมอร์แคบแทน เป็นสารหลักที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ซึ่งสร้างขึ้นจากแบคทีเรีย กลุ่ม Fusobacterium,Treponema,Pophyromonas species ซึ่งสามารถเพาะเชื้อในช่องปากได้

แนวทางการรักษา 

  1. แปรงฟันทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อลดแบคทีเรียในช่องปาก เหงือก ฟันและลิ้น
  2. ทำความสะอาดซอกฟันด้วย ด้ายขัดฟัน อาทิ Dental floss
  3. หมั่นพบทันตแพทย์ ทุก 3-6 เดือน เพื่อขูดหินปูน เช็คสุขภาพฟัน
  4. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสงสัยว่ามีกลิ่นปากที่ไม่ได้เกิดจากภายในช่องปาก
  5. บ้วนปากบ่อยๆ และดื่มน้ำมากๆ
  6. เคี้ยวหมากฝรั่งปลอดน้ำตาล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของน้ำลาย ลดการสะสมของแบคทีเรีย
Posted on

รำข้าวโอ๊ต ( Oat bran) กับบทบาทอาหารเสริม ลดน้ำหนัก ลดโรค ลดไขมันในเลือด

รำข้าวโอ๊ต ลดน้ำหนัก ลดโรคได้อย่างไร

ข้าวโอ๊ต ( Oat ) เป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูล Avena sativa ที่นิยมเพาะปลูกในแถบยุโรปตอนเหนือ เนื่องจากเจริญเติบโตได้ดี ในเขตหนาว ชาวยุโรปนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า ข้าวโอ๊ต เป็นพืชที่ให้เมล็ดซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย โดยเฉพาะจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต
รำข้าวโอ๊ต ( Oat Bran ) เป็นเส้นใย Fiber ที่ได้จากการขัดสีข้าวโอ๊ตให้ขาว หรือ คือเส้นใยบางๆ ที่ห่อหุ้มเมล็ดข้าวโอ๊ตนั่นเอง โดยเราพบว่า รำข้าวโอ๊ตจะให้เส้นใยอาหาร หรือ fiber 2 ชนิด คือ

  1. เส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้( Soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 95-98% ของปริมาณ เส้นใยอาหารทั้งหมด ซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วจะทำให้เกิดสารละลายที่มีลักษณะเป็นเจล โดยเมื่อรับประทานเข้าไป ไฟเบอร์นี้จะละลายในสารอาหารก่อนที่ สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นเจลของไฟเบอร์จะเกาะติดกับสารอาหาร โดยเฉพาะไขมัน ทำให้ไขมันและสารอาหารอื่นๆ ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และจะเอาอาหารขับออกทางอุจจาระ จึงทำให้ลดไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดได้
  2. เส้นใยชนิดที่ไม่ละลายน้ำ( Non-soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 2-5 % ของ ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด โดยจะมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำ โดยจะดูดซับน้ำใว้กับตัวเองทำให้พองตัว เมื่อรับประทานเข้าไปจึงจะส่งผลให้ จึงทำให้ ปริมาตรของสารที่ต้องการขับถ่ายเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้เร็วขึ้น ป้องกันและรักษาปัญหาท้องผูกได้

ดังนั้นประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่ผลิตจากรำข้าวโอ๊ต จึงนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลและไขมันในเลือด อาทิ ผู้ป่วยเบาหวาน โรค ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึง สารอาหารและวิตามินที่จำเป็นบางอย่างในอาหาร อาจ ถูกขับถ่ายออกไปด้วย

ขนาดที่รับประทานครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม โดยรับประทานก่อนอาหาร 20-30 นาทีทั้ง 3 มื้อ และดื่มน้ำตามประมาณ 1-2 แก้ว

Posted on

ลมพิษ ( Urticaria) ตุ่มนูน คัน ทำไมยิ่งเกา ยิ่งลาม

ลมพิษ เป็นภาวะที่เกิดตุ่มนูน คัน ผื่นแพ้ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งมีอาการคัน เป็นอาการนำ ซึ่งถ้ายิ่งเกา อาการคันจะยิ่งมากขึ้น และอาจลุกลามให้เป็นมากขึ้น ขนาดโตขึ้น อาจพบอาการแพ้รุนแรง จนเกิดอาการบวมขึ้น บริเวณใบหน้า หนังตา และปาก บางครั้งอาจทำให้หลอดลมบวมได้ ซึ่งเกิดผลต่อระบบหายใจ ทำให้หายใจลำบากได้
– การเกิดผื่นที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูน ขอบเขตไม่เรียบนี้ ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบการบวมของเซลผิวหนัง จากการไหลซึมเข้าของน้ำเหลือง จากหลอดเลือด ซึมผ่านเข้าไป เนื่องจาก เมื่อเกิดปฏิกริยาแพ้ จากสารที่ทำให้แพ้ ที่เรียกว่า แอนติเจน
ซึ่งเมื่อสัมผัส หรืออยู่ในร่างกาย แอนติเจนจะทำการจับกับสารต้าน ที่เรียกว่า Immunoglobulin E แล้วหลั่งสารที่เรียกว่า Histamine ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ผนังหลอดเลือดขยายตัว จึงทำให้น้ำเหลืองใหลออกนอกเส้นเลือด เข้าสู่ผิวหนังข้างเคียง เมื่อปฏิกริยาสิ้นสุดลง หรือได้รับการรักษา น้ำเหลืองจะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในหลอดเลือด ผื่นจึงยุบลง ไม่หลงเหลืออาการให้เห็น

ทำไมยิ่งเกา ยิ่งลาม
การที่ลมพิษ ยิ่งเกายิ่งลุกลาม เนื่องจากการเกา จะกระตุ้นให้ปฏิกริยาการแพ้เป็นมากขึ้น สารจะหลั่ง histamine มากขึ้น จึงทำให้เกิดการลุกลามขยายใหญ่ ของตุ่มนูน เนื่องจากน้ำเหลืองใหลออกจากผนังหลอดเลือดเข้าเซลล์มากขึ้น จึงไม่ควรเกาถ้าเกิดลมพิษ
สาเหตุการเกิด
แอนติเจน หรือ สารก่อการแพ้ อาจเกิดจาก อาหาร ยา ( ที่พบบ่อย คือ เพนิซิลิน แอสไพริน และยาซัลฟา) ฝุ่นละออง เชื้อโรค ความเย็น ฯลฯ ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพ้ ควรสังเกตว่า แอนติเจนใดที่ก่อให้เกิดการแพ้ ลมพิษ ให้พยายามหลีกเลี่ยง
แนวการการแก้ไข 

1. ยาทา เช่น calamine lotions หรือ ครีมสเตียรอยด์ ในกรณีที่เป็นไม่มาก
2. ยารับประทาน ที่นิยมใช้บ่อยๆ ก็คือ ยากลุ่มต้านอีสตามิน( antihistamine) ที่รู้จักกันดี ก็คือ ยาคลอเฟนฟีนีคอล(CPM) เม็ดสีเหลือง เพราะหาง่าย ราคาถูก( ต้นทุน ประมาณ 30 สตางค์ต่อเม็ด) แต่มักมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนได้ ดังนั้น อาจเลือกไปใช้ยากลุ่ม antihistamine ที่มีอาการง่วงน้อย เช่น hiamanol แต่ก็จะมีราคาแพง(ต้นทุน ประมาณ เม็ดละ 4-5 บาท)
3. กรณีที่เป็นรุนแรง ที่วตัว ควรพบแพทย์เพื่อใช้ยาฉีด
4. หลีกเลี่ยงสาเหตุที่เกิด ในกรณีที่เป็นบ่อยๆ อาจต้องพบยาทา และยากินไว้ติดตัวตลอดเวลา

Posted on

เริม ( Herpes Simplex ) ตุ่มน้ำพองใส เริ่มเป็นเมื่อไหร่ ทำใจเลยว่า ไม่หายขาด

เริม (Herpes) คืออาการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) โดยเชื้อไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Virus type 1: HSV-1) ก่อให้เกิดอาการ เริมที่ปาก (Herpes Orolabialis)
  • เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 2 (Herpes Simplex Virus type 2: HSV-2) ก่อให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ (Herpes Genitalis)
    การติดต่อ
    – เริมที่ปาก ติดต่อ โดยการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ หรือ การใช้ภาชนะอาหารที่ไม่สะอาดเพียงพอร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเริม และไม่มีอาการให้เห็นขณะที่มีการติดเชื้อ โดยพบว่าในน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อเริมที่ไม่ปรากฏตุ่มน้ำให้สังเกตเห็น สามารถติดต่อได้ ถึงร้อยละ 5 ในผู้ใหญ่ และร้อยละ 20 ในเด็ก ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะป้องกัน
    – เริมที่อวัยวะเพศ ติดต่อ โดยการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ โดยทางเพศสัมพันธ์ ไม่ค่อยพบว่าติดต่อโดยวิธีอื่นๆ

อาการของเริม
โดยรวมแล้วอาการของเริมที่ปาก และเริมที่อวัยวะเพศนั้นค่อนข้างคล้ายกัน โดยจะมีตุ่มน้ำใสบริเวณที่ติดเชื้อ ได้แก่ ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก บั้นท้าย หรือต้นขา มีอาการเจ็บปวด แสบที่บริเวณแผล หากเป็นการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการค่อนข้างรุนแรงและหายช้า แต่ถ้าหากเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เร็วกว่า
– เริมในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มักพบได้รุนแรง อาจจะเป็นแผลเรื้อรังและเกิดการอักเสบหนองลุกลาม

แนวทางรักษา: 

1. ในการรักษาโรคเริมที่มักไม่หายขาด เนื่องจากเชื้อมักจะหลบอยู่ที่ไขสันหลัง เมื่อเกิดภาวะร่างกายอ่อนแอ เครียด อาจมีอาการซ้ำได้
2. ในรายที่เพิ่งได้รับการติดเชื้อเริมครั้งแรก แพทย์อาจให้รับประทานยา Acyclovir วันละ 200 มก. ทุก 5 ชั่วโมง นาน 7-10 วัน พร้อมกับการทายาบริเวณรอยโรค อาจทำให้อาการรุนแรงลดลง และย่นระยะเวลาการหายของโรค
3. ในรายที่เป็นซ้ำ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา ใช้ยาทาบริเวณแผล ก็จะทำให้หายได้ภายใน 2-3 วัน
4. ในรายที่ติดเชื้อรุนแรง และมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจต้องพบแพทย์ และนอนรพ. เพื่อให้ยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เพื่อป้องกันการลุกลามรุนแรง



Posted on

Vitamin C ( Ascorbic acid) : วิตามินซี มีคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพและผิวพรรณ

วิตามินซี มีฤทธิ์เป็น Antioxidants ที่สำคัญตัวหนึ่ง และมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีความจำเป็นต่อชีวิต
หน้าที่สำคัญ คือ กำจัดอนุมูลอิสระ(Free radicle scavenger) และเป็น ปัจจัยร่วม(Cofactors) ของเอนไซม์ต่างๆ อาทิ Procollagen hydroxylase ซึ่งต้องใช้วิตามินซี ในการทำงานสร้างคอลลาเจน นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นในการทำงานของเม็ดเลือดขาว( neutrophils) ในการกำจัดเขื้อโรคอีกด้วย ซึ่งมีหลายผลงานวิจัยที่พบว่า วิตามินซีช่วยในการป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดได้ดี

แหล่งอาหารของวิตามินซี พบมากใน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะมาว องุ่น และ ผักใบเขียว เช่น บอคเคอรี่ แอสปารากัส คะน้า ผักบุ้ง ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสง ความชื้น และออกซิเจน แต่ทนความร้อนได้ดีถึง 100 องศาเซลเซียส

บทบาทสำคัญของวิตามินซี ต่อผิวพรรณดังนี้

  1. ป้องกันอันตรายจากแสงแดด UV โดยพบหลักฐานว่า ถ้าทาวิตามินซี ก่อนออกแดด สามารถลดปัญหาSun Burn ได้ และพบว่าเมื่อทาร่วมกับ วิตามินอี และ ครีมกันแดด ที่มี Oxybenzone สามารถป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้เกือบ 100 %
  2. ช่วยลดการอักเสบ ลดการเกิดสะเก็ดหนา ของโรคผิวหนังเรื้อนกวาง( Psoriasis) ได้
  3. ช่วยลดอัตราการดื้อต่อการใช้แสงแดดรักษา ในผู้ป่วยผื่นแพ้สัมผัส ( Contact allergic dermatitis)
  4. กำจัดอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากภาวะชราของผิวหนัง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ได้มีการทดลองทาวิตามินซี ที่ใบหน้า เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ทำให้ริ้วรอยเหี่ยวย่นที่เป็นไม่มาก( fine wronkle ) ดีขึ้น ผิวหน้านุ่มเนียนขึ้น จึงคาดว่าจะช่วยทำให้ภาวะชราจากแสงแดด( photoageing) ดีขึ้น
  5. ใช้เป็นสารฟอกสีผิวให้ขาว ( whitening agents ) ในคนที่เป็นฝ้า กระ รอยดำ ทั้งในรูปของครีม โลชั่น สารละลาย จึงนำมาใช้ในการทาผิวหน้า และรักษาด้วยเครื่องไอออนโต
  6. ช่วยในการสมานแผล
  7. ป้องกันโรคมะเร็งผิวหนังได้

วิตามินซี ประเภท Ascorbyl palmitate สามารถละลายน้ำและไขมันได้ จึงนิยมนำมาผสมใน water cream,lotions และ Oils โดยสารนี้จะมี pH เป็นกลาง จึงไม่ระคายผิว

ได้มีการแนะนำให้รับประทานวิตามินซี ในรูปของยาเม็ดเป็นประจำ เพื่อป้องกันและรักษาภาวะทางผิวพรรณ ได้หลายอย่างตามที่กล่าวข้างต้น แต่ร่างกายปกติ ต้องการวิตามินซี ประมาณ 50- 60 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งชายและหญิง ( แต่ในคนที่สูบบุหรี่ อาจต้องการถึง 140 มก.ต่อวัน ) ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินซี มากกว่านี้ แม้จะมีหลักฐานว่า การรับประทานวิตามินซี ในระยะยาว ค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้ารับประทานปริมาณสูงมากๆ ติดต่อกัน อาจเกิดทำให้เกิด ระดับ Oxalate ในปัสสาวะสูง และเกิดนิ่วในไตได้ภายหลัง นอกจากนี้ ยังมีข้อดี คือ หาง่าย ราคาถูก มีผลข้างเคียงน้อย

Posted on

โรคด่างขาว(Vitiligo) : ความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสี มีการรักษาอย่างไร ให้ดีขึ้น

โรคด่างขาว เป็นภาวะของโรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ที่ทำให้ร่างกายสูญเสียเซลล์สร้างเม็ดสีผิว( Melanocyte) ทำให้เกิดลักษณะบริเวณดังกล่าว เกิดเป็นรอยด่างสีขาว มีขอบเขตชัด ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับรอยด่างในเกลื้อนแดด(P.alba) ในบทความที่ผ่านมา จะมีขอบเขตไม่ชัด และสีไม่ซีดขาวมากเหมือนภาวะโรคด่างขาว
มักพบในวัยหนุ่มสาว ซึ่งเชื่อว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรม หรือ ภาวะภูมิคุ้มกัน เกี่ยวข้องกับสาเหตุของโรคด้วย
ลักษณะ สีผิวตรงรอยด่างขาว จะพบเป็นผื่นราบ( macule) หรือ เป็นปื้นๆ( patch) สีขาวเหมือนน้ำนม มีขอบเขตชัดเจน มีรูปร่างและจำนวนรอยด่างแตกต่างกัน และขนาดไม่แน่นอน ภายในรอยด่าง อาจมีสีน้ำตาลของสีผิวหลงเหลืออยู่
ตำแหน่งที่พบ พบได้บ่อยที่ ใบหน้า มือ เท้า และผิวหนังเหนือข้อ แต่อาจพบที่รอบทวารหนัก หรือ อวัยวะเพศได้ มักมีการกระจายเท่ากัน ทั้งซ้าย ขวาของร่างกาย และเมื่อเกิดมักจะไม่หายขาด แต่โดยทั่วไป สุขภาพร่างกายจะยังแข็งแรง ประกอบอาชีพได้ตามปกติ
โรคด่างขาวแยกจากโรคกลากเกลื้อนได้อย่างไร โรคด่างขาว แยกได้ง่ายจาก โรคเกลื้อนจากเชื้อรา( Tinea vesicolor) และเกลื้อนแดด( P.alba) เพราะลักษณะที่เห็นขอบเขตชัด ถ้าต้องการยืนยัน การตัดชิ้นเนื้อไปส่องกล้องจุลทรรศน์ โรคด่างขาวจะไม่พบเซลล์สร้างเม็ดสี(melanocyte) และเม็ดสีเมลานิน ในขณะที่โรคกลาก เกลื้อน ยังพบเซลล์เม็ดสีปกติ

การรักษาโรคด่างขาว
โรคด่างขาวไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาจะเป็นการประคับประคองอาการหรือทำให้รอยด่างขาวที่ปรากฏดูดีขึ้น คนที่เป็นโรคนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพด้านอื่น หรือระบบอื่น และไม่ติดต่อไปยังคนรอบข้าง หรือคู่สมรส ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการและความต้องการของผู้ป่วย
แนวทางการรักษา
ที่แพทย์ผิวหนังใช้พิจารณา มีหลักการดังนี้
1. ป้องกันแสงแดด โดยให้พยายามหลบเลี่ยงแสงแดด หรือ ทาครีมกันแดดบริเวณรอยด่างขาว เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้ และรอยโรคเป็นมากขึ้น ในอตีดได้มีการให้ยาทา Meladinnine แล้วให้ผู้ป่วยไปตากแดด ไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะอาจเกิดการอักเสบไหม้ แสบคันได้
2. กระตุ้นสีผิวให้กลับคืน ทำได้กรณีที่บริเวณรอยด่างขาว ยังพอมีเซลล์สร้างเม็ดสีหลงเหลือบ้าง โดยการฉายแสงแบบ PUVA (psovalen+UVA) ได้ผลประมาณ 50 %
3. การปลูกถ่ายผิวหนัง เพื่อให้มีเซลล์สร้างเม็ดสีเมลานินใหม่มาทำหน้าที่ทดแทน แต่ยังเป็นเทคนิดที่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่
4. การรักษาด้วยเลเซอร์ เป็นการรักษาที่จะช่วยให้เกิดการสร้างเม็ดสีผิวขึ้นมาใหม่โดยการใช้เอ็กซ์ไซเมอร์ เลเซอร์ (Excimer Laser) แต่เป็นวิธีที่ใช้กับพื้นที่ขนาดเล็กเท่านั้น และมักใช้รักษาร่วมกับการใช้ยาทาผิว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แดงและแผลพุพอง
5. วิธีฟอกสีผิว (Depigmentation) เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีด่างขาวแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างและการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล โดยจะใช้ยาที่มีส่วนประกอบของโมโนเบนโซน (Monobenzone) ทาลงไปบนผิวหนังที่ยังมีสภาพปกติ ซึ่งจะช่วยทำให้สีผิวค่อย ๆ ขาวขึ้นจนใกล้เคียงกับผิวที่เกิดด่างขาว
5. การใช้เครื่องสำอาง ทาบดบังรอยโรค กรณีรายที่รักษาไม่ได้ผล

Posted on

หูดหงอนไก่ (Genital warts) : ติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด

หูดหงอนไก่ (Genital warts, Condyloma acuminata) คือ หูดที่พบขึ้นบ่อยบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus – HPV) โดยจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด
ส่วนใหญ่จะพบได้ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ 17-33 ปี ทั้งหญิงและชาย แต่ส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้หญิงมากกว่า ในบางครั้งอาจเรียกโรคนี้ว่า “หงอนไก่“, “หูดอวัยวะเพศ” หรือ “หูดกามโรค” และมักพบการติดเชื้อได้สูง ในกลุ่มที่ภูมิต้านทานบกพร่อง เช่น กลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวี
ลักษณะอาการ : มักพบเป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อน คล้ายหงอนไก่ มีจำนวนและขนาดแตกต่างกัน อาจพบได้มากกว่า 1 แห่ง พบบ่อยที่บริเวณ คอคอดของอวัยวะเพศชาย หรือเส้นสองสลึง ,แคมช่องคลอด และปากมดลูกของเพศหญิง ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ ที่อาจพบได้บ้างก็ได้แก่ ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ช่องปาก ลำคอ หลอดลม เป็นต้น
ปกติไม่มีอาการอะไร ยกเว้นมีการฉีกขาดเลือดออก หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้อักเสบเป็นหนอง

แนวทางการรักษา 

1. จี้ด้วย น้ำยา 20-40 % Podophylline หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จะมีวิธีการใช้อธิบายอย่างละเอียดในกล่อง ทำใด้ทุกอาทิตย์ จนกว่าจะหลุดหมด
2. แต้มด้วย 50 % TCA แต่ต้องไปทำที่คลินิกแพทย์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ถ้าแต้มเกิน 6 ครั้ง ยังไม่หายขาด
3. จี้ด้วยไฟฟ้า หรือจี้ด้วยความเย็น หรือทำ เลเซอร์ ด้วย CO2 laser
หากคู่นอนมีอาการของหูดหงอนไก่ ควรพาอีกคนมาพบแพทย์และรักษาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำไปมาซึ่งกันและกันหลังการรักษา
ในกรณีที่แพทย์ยืนยันว่าเป็นหูดหงอนไก่จริง ผู้ป่วยควรตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วยเสมอ เช่น โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ หนองใน พยาธิในช่องคลอด ฯลฯ เพราะมักพบเกิดร่วมกันได้
วิธีป้องกันหูดหงอนไก่
1.มีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่นอนของตน
2. หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง แม้การใช้ถุงยางอนามัยอาจไม่สามารถป้องกันหูดหงอนไก่ได้ 100% แต่ก็เป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
3. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ได้ตามรพ. หรือคลินิกที่มีให้บริการ โดยแนะนำให้ฉีดได้ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุระหว่าง 11-12 ปี เพื่อการป้องกันหูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก

Posted on

โรคหิด (Scabies) ติดแล้วจะคันมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน ป้องกัน รักษาอย่างไร

โรคหิด(Scabies) เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อหิด หรือจากเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ซึ่งอาจจะมีหิดตัวเมียเกาะอยู่ ซึ่งอยู่ได้นานถึง 24-36 ชั่วโมง โดยหิดจะเคลื่อนเข้าหาอุณหภูมิที่อุ่นกว่าและสภาพแวดล้อม เมื่อได้กลิ่นคน
ตัวหิด(Sarcoptes scabiei var.homonis) คือแมง 8 ขา ในกลุ่มเดียวกับ ไร(mites) เล็นไร(Demodex) และเห็บ(Ticks) ปกติจะอยู่ในโพรงเล็กๆของหนังกำพร้าใต้ต่อชั้นขี้ไคล ตัวอ่อนโตเต็มที่ใช้เวลา 14-17 วันเมื่อผสมพันธุ์แล้ว หิดตัวผู้จะตาย
พบได้บ่อยแค่ไหน พบชายมากกว่าหญิง 2:1.7 และมีการระบาดทุก 10-15 ปี พบได้บ่อยในชุมชนแออัด หรือที่มีสุขอนามัยไม่ดี เช่น สลัม คุก ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากติดหิดแล้ว ประมาณ 1 เดือนในการติดครั้งแรก และจะมีอาการทันทีเมื่อมีการติดหิดครั้งต่อๆมา
อาการที่พบ :  ผื่นของหิดจะคันมาก เกิดหลังติดเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์โดยเฉพาะเวลากลางคืน อาการคันและผื่นเกิดจากปฏิกิริยาไวเกินของร่างกายต่อตัวหิดหรือสิ่งขับถ่ายของหิด
      ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มแดงคัน ผื่นจะกระจายไปทั่วตัว บริเวณที่พบผื่นได้บ่อยคือ ง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับแขน รักแร้ เต้านม อวัยวะเพศ รอบสะดือ และก้น ในเด็กอาจพบผื่นบริเวณหน้าและศีรษะ
ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ป่วยสูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จะทำให้การขยายพันธุ์ของหิดเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทำให้เกิดผื่นมีสะเก็ดแห้งขุยหนา ภายในสะเก็ดแห้งมีตัวหิดอยู่เป็นจำนวนมหาศาล ทำให้แพร่เชื้อได้ง่าย

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นหิด ?
          1. การซักประวัติ ผื่นที่มีอาการคันมาก และพบสมาชิกครอบครัวหรือคนใกล้ชิดที่มีอาการพร้อมๆกัน
            2. การตรวจร่างกาย พบผื่นที่มีลักษณะจำเพาะเห็นเป็นเส้นเล็กๆ คดเคี้ยวที่ง่ามนิ้วเรียกว่า อุโมงค์หิด 
            3. การตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยขูดบริเวณผื่นคันหรืออุโมงค์หิด จะพบตัวหิด,ไข่ หรือสิ่งขับถ่ายของหิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างร่วมกัน           
การรักษาหิด
ยาทา
การทายาควรสวมถุงมือยางเมื่อทายาให้ผู้ป่วย ทายาหลังอาบน้ำตอนเย็น ทายา”ทั้งตัว”ตั้งแต่คอลงไป ไม่ควรเลือกทาเฉพาะส่วนที่มีผื่นเท่านั้น เด็กเล็กให้ทาทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะ หน้า คอ ใบหู โดยเฉพาะหลังหู ร่องก้น ง่ามนิ้วและใต้เล็บ  ทายาทิ้งไว้ 8-14 ชั่วโมงแล้วล้างออกในตอนเช้า ทาซ้ำตามรายละเอียดของยาแต่ละตัว
            1. Permethrin cream  ใช้ได้ดีกับผู้ใหญ่และเด็กมากกว่า 2 เดือน ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน ทาทั่วตัว 1 ครั้งและทาซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์
            2. 5-15% sulfur เป็นยากำมะถัน ใช้ได้ดีและค่อนข้างปลอดภัย ใช้ได้ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ควรทายาทั่วตัว 3 วันติดต่อกัน ข้อเสียคือ ยามีกลิ่นเหม็นและเหนอะหนะ
            3. 10-25% Benzyl benzoate ใช้ได้ในเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ควรใช้ในเด็กเล็ก ทาทั่วตัว 1 ครั้งและทาซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ ยาอาจมีแสบระคายเคืองได้
ยารับประทาน
        
  1. Ivermectin รับประทาน 200 ไมโครกรัม/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม มีประสิทธิภาพรักษาหิดได้ดี มีผลข้างเคียงน้อย
         
2. การรับประทานยาแก้คัน จะช่วยบรรเทาอาการคันได้
         
3. ฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ถ้าหลังได้รับการรักษาหิดแล้ว ยังพบตุ่มคัน นูนไม่หาย
          4. ยาปฏิชีวะนะ
กรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จากการเกาจนเป็นแผล

การป้องกันการแพร่กระจายของหิด
            – ควรรักษาสมาชิกทุกคนในครอบครัวพร้อมๆกัน โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ถึงแม้ไม่มีอาการ ก็จำเป็นต้องรักษา เพราะอาจจะอยู่ในระยะฟักตัว
            – ทำความสะอาดเครื่องใช้ ส่วนตัวทุกอย่าง ด้วยการซักน้ำร้อนอย่างน้อย 5 นาที สำหรับเครื่องนุ่มหุ่มที่ซักไม่ได้ เช่น หมอนและพรม ควรอบแห้ง 50oC 20 นาที หรือเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดปากแน่น อย่างน้อย 7 วัน
            – ทำความสะอาดพื้น ดูดฝุ่นพรมและเฟอร์นิเจอร์
            – แยกของใช้ส่วนตัว หวี ผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม และที่นอน ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
            – ตัดเล็บสั้นและตะไบเล็บให้ไม่คม ไม่แคะแกะเกาผื่นคัน ให้เชื้อหิดกระจาย

Posted on

นวดหนังศีรษะอย่างไร ให้เกิดประโยชน์ และแปรงผมวิธีไหน ให้เส้นผมแข็งแรง

หนังศีรษะเป็นศูนย์กลางของปลายเส้นประสาท และเส้นเลือดมากมาย การนวดหนังศีรษะ จึงเป็นการผ่อนคลายและการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้ลดอาการผมร่วงที่เกิดจากความเครียดได้ หลักการนวด แนะนำให้นวดด้วยปลายนิ้วและอุ้งมือ ไม่ควรใช้เล็บเกาหรือนวดแทนโดยเด็ดขาด

หลักการนวดหนังศีรษะด้วยตนเอง มีดังนี้

  1. เริ่มจากหน้าผาก – ด้วยการใช้มือซ้ายรองต้นคอไว้ ปล่อยศีรษะตามสบาย ใช้อุ้งมือขวาวางพาดไว้บนหน้าผาก กางนิ้วโป้งและนิ้วชี้ แล้วกดไปบนบริเวณคิ้ว ค่อยๆ เลื่อนมือขึ้นไปช้าๆ จนเลยแนวเส้นผมประมาณ 1 นิ้ว ทำเช่นนี้ประมาณ 5 ครั้ง
  2. นวดหนังศีรษะ– โดยการวางอุ้งมือทั้งสองข้างแนบข้างศีรษะตรงเหนือใบหู ใช้อุ้งมือยกหนังศีรษะขึ้นแล้ว เลื่อนมือในลักษณะวนเป็นวง มือหนึ่งเลื่อนไปทางด้านหน้า อีกมือหนึ่งไปที่กลางกระหม่อม แล้วจึงเลื่อนไปทางศรีษะด้านหลังที่บริเวณท้ายทอย นวดจนทั่วศีรษะ
  3. นวดด้วยปลายนิ้ว– เริ่มจากหนังศีรษะด้านข้างทั้งสองด้าน ค่อยๆไล่ขึ้นไปทางด้านหน้า ให้ทั่วหนังศีรษะ ทำเช่นนี้ 5 ครั้ง
  4. นวดรอบไรผม– โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลางของแนวผมด้านหน้าผาก ใช้ปลายนิ้วนวดเป็นวงไปรอบๆ จนถึงแนวผมข้างขมับ ด้านข้างจนถึงด้านหลังท้ายทอย ทำเช่นนี้ 5 ครั้ง
  5. นวดบริเวณกลางกระหม่อม– วางปลายนิ้วที่กลางกระหม่อมนวดวนเป็นวงจากกลางกระหม่อมมาที่ขมับ และจากข้างขมับสู่กลางกระหม่อม ทำเช่นนี้ 5 ครั้ง
  6. นวดจากหลังใบหู– ก้มหน้าใช้อุ้งมือซ้ายรองรับหน้าผากไว้ ใช้ปลายนิ้วมือหรืออุ้งมือขวา เริ่มนวดในลักษณะวนเป็นวงจากหลังใบหูไปทางท้ายทอย จนจดหลังใบหูอีกด้านหนึ่ง ทำเช่นนี้ 2 ครั้ง
  7. นวดซิกแซ็ก– ใช้ปลายนิ้วนวดสลับจากกลางกระหม่อมสู่ท้ายทอย จากต้นคอด้านซ้ายไปด้านขวา
  8. ดึงเส้นผมเบาๆ– ด้วยการกอบเส้นผมด้วยนิ้วมือ ดึงช้าๆ นับ 1-3 แล้วปล่อย ทำเช่นนี้ ให้ทั่วศีรษะ

การแปรงผมให้ถูกวิธี หลักการก็เพื่อขจัดเส้นผมที่หลุดร่วงตามอายุ เซลล์หนังศีรษะเก่า ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกจากมลภาวะ และเพื่อช่วยการไหลเวียนโลหิต

  1. เลือกแปรงที่มีคุณภาพ ขนแปรงกลมไม่แหลมคม และโอนอ่อนตามแรงหวีได้ เช่น หวีที่ทำจากขนสัตว์ที่มีความยืดหยุ่น
  2. ความถี่ห่างของซี่แปรง นั้นเลือกให้เหมาะกับสภาพและขนาดของเส้นผม
  3. ก้มศีรษะขณะหวีผม จะช่วยกระตุ้นการทำงานของหนังศีรษะ แล้วเริ่มแปรงผมย้อนจากต้นคอไปทางหน้าผาก
  4. จากนั้นแปรงผมจากด้านข้างทั้งสองข้าง แล้วปิดท้ายด้วยการหวีจากด้านหน้าผากไปด้านหลัง
  5. ถ้าหากผมพันกันให้เริ่มแปรงผมจากปลายผมก่อน แล้วแปรงอย่างทะนุถนอมและเบามือที่สุด
  6. หลังแปรงผมทุกครั้ง ทำความสะอาดด้วยแชมพูอย่างอ่อน เพื่อให้คราบความสกปรกจากผลิตภัณฑ์แต่งทรงผม หรือน้ำมันได้หลุดลอกออกง่ายและหมดจด
Posted on

แผลร้อนใน (Aphthous ulcer) กินอะไรไม่ได้ เป็นบ่อยๆ ป้องกัน รักษาอย่างไรให้หายขาด

38105393 – close up children with aphtha on lip

แผลร้อนใน อาการเจ็บปาก ปากเปื่อยเป็นแผล เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ก็คือ แผลแอฟทัส (Aphthous Ulcer)
ลักษณะ เป็นแผลเล็กๆ ตื้นๆ มีอาการเจ็บ มักเกิดบริเวณ เยื่อบุช่องปาก อาจมีแผลเดียว หรือหลายแผลก็ได้ มักหายโดยไม่มีแผลเป็น ภายใน 5-10 วัน
สาเหตุของการเกิดแผล ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และอาจเป็นอาการของโรคใดโรคหนึ่งได้ ดังนั้นถ้าเป็นบ่อยๆ อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพิ่มเติม

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแผลในปาก 

1. การติดเชื้อ – เชื้อที่พบมักเป็นจำพวกแบคทีเรีย แกรมบวก-Streptpcoccus sanguis
2. การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน เช่นในช่วงมีประจำเดือน
3. ความเครียด
4. การพักผ่อนไม่เพียงพอ
5. มีการระคายเคืองภายในช่องปาก เช่น สารบางชนิดในยาสีฟันหรืออาหาร : ถือว่าพบบ่อยที่สุด และมักจะพบได้หลายๆ ที่ อาจจะที่ลิ้น หรือเพดานปาก
6. การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก ฯลฯ

การวินิจฉัยแยกโรค
โรคนี้เป็นสิ่งที่สามารถวินิจฉัยได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม อาการปากเปื่อยเป็นแผลยังอาจมีสาเหตุอื่นๆ เช่น
– ถูกแปรงสีฟันครูดหรือกระแทก
– ถูกฟันกัด ถูกฟันปลอมเสียดสี
– แผลเริมขึ้นที่ปาก จะขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสๆ ขึ้นเป็นกระจุกเดียวตรงริมฝีปาก แล้วแตกเป็นแผลตื้นๆ เจ็บเล็กน้อย
– แผลมะเร็งในช่องปาก พบมากในวัยกลางคนขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่กินหมาก จุกยาฉุน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเพียวๆ มีลักษณะขอบหนา สกปรก มีกลิ่น และมักไม่เจ็บ

แนวทางการรักษา 

  1. บ้วนปากให้สะอาด ด้วยน้ำเกลืออุ่น แล้วทายาป้ายแผลในปาก อาทิ Kenalog in Oralbase เพื่อลดการอักเสบ
  2. ยารับประทาน พวกปฎิชีวนะ อาทิ Metronidasole 200 มก. รับประทาน 2 เม็ด 3 เวลา หลังอาหาร กรณีที่มีการอักเสบมาก และป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย เพื่อระงับ การมีกลิ่นปาก
  3. เปลี่ยนยาสีฟันที่ใช้อยู่ประจำ มักพบคนไข้บางคน แพ้สารที่ทำให้เกิดความรู้สึกซ่า สดชื่น ในยาสีฟันบางชนิด เช่น ดาร์กี้ คอลเกต หรือ ใกล้ชิด ฯลฯ แนะนำให้ใช้ยาสีฟัน รสจืด แทน
  4. ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อย วันละ 10-12 แก้ว เพื่อลดการอักเสบ และทำความสะอาดช่องปาก
  5. รับประทานอาหานที่มีวิตามิน บี 12 ธาตุเหล็ก ในกรณีที่ขาดสารอาหาร
  6. ถ้าแผลเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์ และปฏิบัติตาม ที่แนะนำแล้วยังไม่หาย อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุอย่างอื่น
Posted on

Telangiectasia: เส้นเลือดฝอยขยายตัวผิดปกติ ทำให้ผิวหน้า ผิวกาย แดงง่าย ไม่ขาวใส

Telangiectasia เป็นภาวะความผิดปกติ จากการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย(capillaries) มีลักษณะเห็นเป็นเส้นแขนงเส้นเลือดฝอยสีแดง แตกเป็นกิ่งก้านสาขาบริเวณผิวหนัง ภาวะนี้จากเกิดเฉพาะที่ หรือเกิดทั่วร่างกายก็ได้ ลักษณะของเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. Facial Telangiectasias เป็นลักษณะที่พบได้บ่อย มักอยู่ตามบริเวณแก้มและปีกจมูก
สาเหตุที่เกิด 
1. ภาวะโรคตับอักเสบเรื้อรัง หรือโรคตับแข็ง จะพบลักษณะเส้นเลือดฝอยแบบนี้ได้บ่อยๆ
2. การใช้ยาทาแก้แพ้ ที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์นานๆ
3. การใช้ยาทาฝ้า ที่มีส่วนผสมของสารไฮโดรคลิโนนความเข้มข้นสูงๆ เช่น 5% Hydroquinone
4. โรคทางพันธุกรรม
5. โรค SLE
6. ไม่ทราบสาเหตุ
2. Spider Telangiectasias มีลักษณะเป็นเส้นใยแมงมุม มีจุดแดงตรงกลางและมีเส้นเลือดฝอยแผ่กระจายกิ่งก้านสาขา เมื่อสัมผัสจะรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ
สาเหตุที่เกิด 
มักจะเกิดจากฮอร์โมนEstrogen สูงกว่าปกติ เช่น ในผู้หญิงตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด

การรักษา 
– ถึงแม้ว่าเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้คงดูไม่ดีแน่ จึงควรหาวิธีการรักษาก่อนที่เส้นเลือดฝอยจะลุกลามไปทั่วแก้ม เพราะจะทำให้หน้าเป็นรอยแดง และอาจจะเห็นชัดมาก เวลาร้อนจัด หรือดื่มอัลกอฮอล์ จนคนอื่นอาจเข้าใจผิดคิดว่าไปโกรธใครมาถึงได้เลือดขึ้นหน้าขนาดนี้ วิธีการรักษามีดังนี้
1. รักษาตามสาเหตุของโรคที่ตรวจพบร่วมด้วย
2. การจี้ด้วยไฟฟ้า (Electric cautery) ทำให้เส้นเลือดอุดตันหรือฝ่อไป มักใช้ในกรณีที่เส้นเลือดขนาดเล็กกว่า 1 มม. และไม่อยู่ในบริเวณใบหน้า
3. การใช้ เลเซอร์ Pulsed Dye Laser (V-Beam ) ซึ่งความยาวคลื่น 595 นาโนเมตร ปัจจุบันถือว่าเป็น Gold Standard Treatment ที่นิยมในปัจจุบัน เพราะได้ผลดี ผลข้างเคียงน้อยและได้ผลเร็ว เหมาะกับลักษณะของเส้นเลือดที่มีขนาด 0.2 – 1 มิลิเมตร
4. เลเซอร์ Long pulse Nd:YAG ( Genle YaG laser ) ที่มีความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร เหมาะกับลักษณะของเส้นเลือดที่มีขนาด 1 – 2 มิลิเมตร
5. การฉีดสาร Sclerosing agents หรือ Hypertonic saline มักใช้ในกรณีที่เส้นเลือดขนาดมากกว่า 1 มม. และไม่อยู่ในบริเวณใบหน้า

Posted on

โลน (Crab louse ) แมลงตัวเล็ก ในร่มผ้า สาเหตุที่ทำให้คัน ติดต่อกันทางเพศสัมพันธุ์

โลน ( Crab louse หรือ Phthiriasis pubis) เป็นปรสิตที่พบเฉพาะในมนุษย์ ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโลน โดยพบว่าเพียง 1 ครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อโลน จะมีโอกาสติดได้ถึง 95 %
ลักษณะอาการที่พบ คือ มีผื่นสีน้ำเงินเทาๆ เล็กๆ ตามตัว เส้นผ่าศูนต์กลางไม่เกิน 1 ซม. โดยเชื่อว่าเกิดจากปฏิกริยาของน้ำลายโลนกับเลือด และจะพบตัวโลนได้ถึง 30 วันก่อนจะมีอาการดังกล่าว
บริเวณที่พบตัวโลนและไข่ พบบ่อยที่ขนในอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ถ้ามีจำนวนมาก อาจพบบริเวณขนสั้นๆ ได้ เช่น ที่รักแร้ ขนตามตัว คิ้ว ขนตา (โดยเฉพาะในเด็ก)
การวินิจฉัยว่าติดเชื้อโลน ก็คือ การได้พบตัวโลน (ดังในภาพที่1) และไข่โลนติดที่ขน โดยบางครั้งในนิ้วมือสางขน อาจรู้สึกสากมือเหมือนลูบด้วยเม็ดทราย ตัวโลนจะมีลักษณะสีขุ่นขาว ขนาดประมาณ 0.5-1 มม.มี 4 ขา

แนวทางการรักษา 

1. ฟอกตัวด้วยแชมพู ที่ผสม 1% Gamma benzene hexacholride (Lindane) ประมาณ 4 นาทีแล้วล้างออก แล้วทำซ้ำอีก 1 สัปดาห์ต่อมา
2. ทา 5% Pyretrin creams ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมงแล้วล้างออก
3. ทา Jacutin creams (HEXACHLOROCYCLOHEXANE ISOMERE GAMMA) บริเวณขนที่สงสัย ทั้งไว้ทั้งคืน ติดต่อกัน 3 วัน
4. ฟอกตัวด้วย Pyretrin shampoo ฟอกทิ้งไว้ 10 นาที วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วันกรณีที่เป็นทั้งตัว
5. โลนที่ขนตา อาจจะต้องจับออก หรือทา Petrolatum วันละ 2 ครั้ง เพื่อรบกวนการหายใจของตัวโลน
6. ยารับประทานกลุ่ม Cotrimoxazole (Bactrim) ได้มีรายงานว่าได้ผล เพราะไปรบกวนการสร้างวิตามินบี ที่จำเป็นสำหรับโลน
7. กรณีไม่หายขาด ควรรักษาคู่นอนด้วย หรือ อาจจะทายาไม่หมด
8. ควรทำความสะอาดที่นอน เครื่องใช้ให้สะอาด และผึ่งตากแดด เพราะตัวโลน ถ้าอยู่นอกร่างกายมนุษย์มักจะตายภายใน 1 วัน

Posted on

เล็นไร (Demodex spp.) ไรขนที่คนคิดไม่ถึง ว่าจะชอนไชใบหน้า สาเหตุปัญหาผิวอักเสบ

เล็นไร (Demodex spp.) คืออะไร

เล็นไร หรือไรขน เป็นปรสิตใน Class Arachnida,Order Acarina ที่อาศัยบริเวณต่อมขน (Hair follicles) หรือ ที่ท่อนำไขมัน (Secretory ducts of Sebaceous gland) ซึ่งพบได้อยู่ 2 ชนิดคือ D.folliculosum,D.brevis มักจะพบในผู้ที่มีอายุเกิน 30 ปี และไม่พบในเด็กเล็กต่ำกว่า 5 ปี
บริเวณที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ร่องจมูก รองมาก็บริเวณ โหนกแก้ม หน้าผาก คาง ศีรษะ
อาการแสดง เล็นไร ทำให้ผิวหน้าเกิดผื่นแดง หรือต่อมขนอักเสบได้ ผื่นเกิดจากร่างกายมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเล็นไร มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงขนาดน้อยกว่า 1 ซม.(Papule) หรือมากกว่า 1 ซม.( Nodule) หรือเป็นตุ่มหนอง (Pusetule)
– ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้นกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอดส์ อาจจะพบอาการรุนแรงมาก จนเกิดเป็นตุ่มน้ำ (Vesicles) หรือสะเก็ดหนอง

ตรวจอย่างไรถึงจะเจอ โดยการขูด หรือกดสารที่อยู่ในท่อไขมัน บริเวณที่สงสัย หรืออักเสบเป็นผื่นแดง ไปเกลี่ยลงในสไลด์แก้ว แล้วหยด glycerin 1 หยด ปิดด้วย cover slip แล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์หัวต่ำ
– โดยในคนปกติ จะมีตัว Demodex ขนาด 0.1-0.9 มม. อยู่ประมาณ 2-3 ตัวต่อกำลังขยาย 4X
– แต่กรณีที่ทำให้เกิดโรค หรืออาการ (Demodicosis) จะพบตัวเล็นไรมากกว่านี้หลายเท่า
แนวทางการรักษา ปกติถ้าไม่มีอาการใด ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะตัวเล็นไร พบได้ปกติในผิวหน้าคนเราอยู่แล้ว แต่ถ้าพบมากกว่า 4 ตัวต่อกำลังขยาย4X และพบ อาการอักเสบ ตุ่มแดง อาจจะต้องรักษาดังนี้
1. ทา 25% BP emulsion วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3-5 วัน
2. ทา 1% Lindane วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3-5 วัน หรือ
3. ทา 5% BP lotions ร่วมกับ 5% Sulhur ลดการอักเสบ เป็นเวลา 3-5 วัน หรือ
4. ทา 1% Premethrin cream ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออกทุกวัน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือ
5. ทา Clotamiton วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3-5 วัน
6. ล้างหน้าด้วยสบู่ที่มีตัวยา antiseptic ทุกวัน

Posted on

งูสวัด( Herpes zoster) คืออะไร ถ้าเป็น รอบตัวครบวง ทำให้เสียชีวิตได้ ชัวร์หรือมั่วนิ่ม

งูสวัด เป็นการติดเชื้อไวรัส ชื่อ Varicella zoster virus ซึ่งมักพบว่าเป็นอาการหลังจากผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคอีสุกอีใสมาก่อนแล้ว
– เชื้อไวรัสนี้ ไม่หายขาด และซ่อนตัวอยู่ที่ปมประสาทไขสันหลัง( sensory gangion of nerve fiber) เมื่อภูมิต้านทานร่างกายลดลง เช่น พักผ่อนน้อย เครียด จะเกิดการกำเริบของเชื้อไวรัส แพร่กระจายมาตามบริเวณที่ร่างกายที่เส้นประสาทนั้นควบคุมอยู่
ถ้าเป็นรอบวง จะทำให้เสียชีวิตจริงหรือไม่
งูสงัด เป็นรอยตุ่มน้ำใส ตามร่างกายและเป็นแนวเดียวกับที่เส้นประสาทนั้นควบคุมอยู่ ซึ่งแนวเส้นประสาท ไม่สามารถจะพันรอบตัวเป็นวงกลม ดังนั้นโอกาสเกิดแบบนี้ แทบไม่มีเลย

อาการที่เกิดขึ้น แบ่งได้ดังนี้

  1. ระยะเตือน ( Prodromal phase) เป็นช่วงที่มีการอักเสบของเส้นประสาท แต่ยังไม่มีตุ่มน้ำ มักมีอาการปวดแสบร้อน ตามเส้นประสาท คล้ายไฟช็อต ปวดแปล๊บๆ เป็นพักๆ หรือ ปวดตลอดเวลา มักเป็นอยู่ 1-3 วัน ก่อนมีตุ่มน้ำ
  2. ระยะเฉียบพลัน( Acute phase) เกิดตุ่มน้ำใสอยู่กันเป็นกลุ่ม( ดังภาพ) ฐานของตุ่มเป็นสีแดงจากการอักเสบ มักอยู่เป็นกลุ่มๆ เรียงต่อเป็นแนวยาว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นตุ่มหนอง และจะตกสะเก็ดภายใน 2 สับดาห์ มักไม่เกิดแผลเป็น ยกเว้นจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ตำแหน่งที่พบส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ทรวงอก หลัง แต่บริเวณที่อันตรายเมื่อเกิดการติดเชื้องูสวัด คือบริเวณใบหน้า หน้าผาก และหนังศีรษะส่วนบน เพราะอาจลุกลามเข้าตา และเกิดรอยโรค กระจกตาอักเสบ ม่านตาอักเสบ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที อาจทำให้ตาบอดถาวรได้
  3. ระยะเรื้อรัง( Chronic phase) แม้รอยตุ่มน้ำจะหายแล้ว ในบางคน อาจยังมีอาการปวดแปล็บๆ คล้ายไฟช็อดเป็นพักๆ ได้ ที่เรียกว่า post herpetic neuralgia ได้เป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความรำคาญอย่างยิ่ง

แนวทางการรักษา 

  1. มักหายได้เอง ยกเว้นมีภาวะแทรกซ้อน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจต้องให้ยาทา หรือยารับประทานช่วยเสริม
  2. อาจมีอาการปวดเหมือนตามร่างกาย หรือมีไข้ได้ อาจให้รับประทานยา paracetamol วันละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมงก็ได้
  3. ยาทา Acyclovir จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบร้อน ได้บ้าง และช่วยลดความรุนแรง และย่นระยะการหายของโรคให้เร็วขึ้น
  4. ยาทา สมุนไพรพญายอ หรือเสลดพังพอน ได้มีคณะวิจัยจากกรมการแพทย์ รพ.บางรัก และรพ.ตากสิน ได้นำมาทำการทดลองใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ จำนวน 77 ราย จนได้ข้อสรุปว่า ครีมที่ผสมด้วยสมุนไพรพญาลอ มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเริม และงูสวัด ไม่แตกต่างจากยา Acyclovir และดีกว่าตรงที่ เมื่อทาตรงแผลแล้วจะรู้สึกเย็น ในขณะที่ acyclovir cream ทาแล้วจะรู้สึกแสบ
  5. ยารับประทาน Acyclovir มักจะต้องใช้ กรณีที่มีอาการมาก ตุ่มน้ำรุนแรง และปวดแสบร้อนมาก ควรรับประทาน ครั้งละ 800 มก.วันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วัน แต่ค่ายาค่อนข้างแพง ( ราคาทุนประมาณ 1,000+ บาท) ดังนั้นถ้าไปพบแพทย์แล้วต้องรับประทานยา คงต้องเตรียมสตางค ์ประมาณ 2 พันบาทนะครับ ค่าต้นทุนยาเค้าแพงอยู่แล้ว
  6. กรณีที่มีอาการปวดตามเส้นประสาท หลังตุ่มน้ำหายแล้ว ยังไม่มียาตัวใดที่รักษาให้หายขาดได้แน่นอน แต่มีการทดลองใช้ยาหลายกลุ่ม เช่นยาทางจิตเวช คือ Tregital แต่ก็ยังไม่ได้ช่วยลดอาการได้มากนัก
  7. ไม่แนะนำให้แกะ หรือ เกาตุ่มน้ำ เพราะอาจติดเชื้อแทรกซ้อน เกิดอักเสบ เป็นแผลเป็นภายหลังได้
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดคืออะไร?

              จากการศึกษาพบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ร้อยละ 69.8 และยังสามารถป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนคือ อาการปวดปลายประสาทหลังเป็นโรคงูสวัดได้ถึงร้อยละ 66.5 โดยทั่วไปจะฉีดเข้าใต้ผิวหนังเพียงเข็มเดียว ข้อมูลจากการศึกษาพบว่าภูมิคุ้มกันโรคจะอยู่ได้นานถึง 10 ปี และในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดกระตุ้นของวัคซีนนี้ โดยภูมิคุ้มกันจะขึ้นเต็มที่หลังฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณ 4 สัปดาห์
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเหมาะกับใคร ?
    ทุกคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถรับวัคซีนนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติการเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เนื่องด้วยอายุที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดและอาการแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด

Posted on

โรคเกลื้อน (Tinea vesicolor) : ด่างขาว บนใบหน้า หรือ ตามลำตัว จากเชื้อรา การป้องกันและรักษา

เกลื้อน( Piryriasis vesicolor or Tinea vesicolor) เป็นภาวะการติดเชื้อราที่ชั้นนอกสุดของผิวหนัง คือ Stratum corneum โดยที่ผู้ป่วยไม่ค่อยมีอาการและมักเป็นเรื้อรัง โดยเชื้อราที่พบ คือ Malassezia furfur ( Pityrosporum ovale)
ปกติเชื้อราประเภทนี้ พบได้ทั่วไปตามรูขุมขนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก บริเวณ หน้าอก หลัง ไหล่ ต้นคอ ใบหน้า บางครั้งอาจพบที่รักแร้ หรือ โคนขาได้
ปัจจัยที่ชักนำให้เกิดโรคเกลื้อน ซึ่งจะทำให้เชื้อรากลุ่มนี้เจริญเติบโตจากเชื้อยีสต์ เป็นสายหรือเป็นแท่งที่เรียกว่า hyphae ซึ่งทำให้เกิดโรคเกลื้อน ได้แก่
1. ภาวะผิวมัน
2. ภาวะเหงื่อออกมาก
3. ใส่เสื้อผ้าอับชื้นหรืออับเหงื่อเป็นเวลานานๆ
4. ภาวะอากาศมีความชื้นสูง เช่น ในหน้าร้อน หรือหน้าฝน
5. การรับประทานยาหรือทายากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
6. ภาวะทุพโภชนาการ ขาดอาหาร

พบบ่อยแค่ไหน สังเกตอย่างไร
โรคเกลื้อน พบได้บ่อยในวัยหนุ่มสาว ทั้งเพศชายและหญิง แต่ก็อาจพบในทารกจนถึงวัยสูงอายุได้ โดยอาการทางคลินิก จะมีลักษณะเป็นดวงเล็กๆ สีน้ำตาล สีขาว หรือ แดง มีขอบเขตชัดเจน ผิวมีขุยละเอียด ต่อมาอาจจะเป็นปื้นขนาดใหญ่ มีรูปร่างเป็นวงกลมๆ หลายวง หรือรูปร่างไม่แน่นอน อาจคัน หรือไม่คันก็ได้
รอยด่างขาวที่หน้า ส่วนใหญ่เป็นเกลื้อนหรือไม่
เกลื้อน มักไม่ค่อยพบที่ใบหน้า เนื่องจากว่า คนส่วนใหญ่ล้างหน้าบ่อยๆ และซับให้แห้ง ถ้าพบรอยด่างที่ใบหน้า ให้นึกถึงอย่างอื่นก่อน เช่น โรครอยด่างจากแดด หรือเกลื้อนแดด หรือ เกลื้อนน้ำนม( P. alba) หรือ โรคด่างขาว( vitilligo) มากกว่าจะเป็นโรคเกลื้อน
วินิจฉัยโรคเกลื้อนอย่างไร
ถ้าจะยืนยันการเป็นเกลื้อนจริงหรือไม่ ควรขูดเอาขุยบริเวณรอยโรค ไปส่องกล้องจุลทรรศน์ ด้วยน้ำยา KOH จะพบลักษณะยีสต์เซลล์ รูปร่างกลมหรือรี หรือสายใยเป็นท่อนๆ ( fragmented hyphae) ของเชื้อราชัดเจน

รักษาอย่างไร
1. หลีกเลี่ยงภาวะหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกลื้อนดังกล่าวข้างต้น เช่น ภาวะเหงื่อออก การอับชื้น
2. การใช้ครีมทาภายนอก ฆ่าเชื้อรา ได้แก่
2.1 กลุ่ม Imidazole derivatives เช่น Tonaf,Canesten cream,Cotrimazole ทาบริเวณที่เป็น ครีมจะใช้ได้ผลดีกรณีที่เป็นไม่มาก แต่ราคาค่อนข้างแพง
2.2 Selenium sulfide หรือ Selsun ใช้ฟอกตัว ถ้าเป็นมาก โดยทาทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาทีแล้วล้างออก โดยทาทั่วตัวประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ควรระวังอาจเกิดอาการระคายเคือง หรือแสบได้ ถ้าทิ้งไว้นานเกินไป และควรป้องกันการเกิดซ้ำ โดยทายาเดือนละ 1 ครั้ง
2.3 กลุ่มยาลอกขุย( Keratolytic agents) ได้แก่ Whitfield’s ointment,ขี้ผึ้งเบอร์ 28 โดยจะทำให้ผิวหนังลอกออก แล้วเชื้อราหลุดออกไป มีข้อดีคือ ราคาถูก แต่ก็ทำให้เกิดรอยคล้ำดำ จากการอักเสบได้ ( Post-inflammatory hyperpigmentation)
3. ยารับประทานฆ่าเชื้อรา มักใช้ใน กรณีที่เป็นมาก หรือ มีบริเวณกว้าง การทาครีมอาจจะไม่ทั่วถึง เช่น ภาวะโรคเกลื้อนทั่วไปที่หลัง และลำตัว
3.1 ยาฆ่าเชื้อรากลุ่ม Ketoconazole (Nizoral) 200 มก. วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 10-14 วัน และป้องกันการเกิดซ้ำ ด้วยการรับประทานยา เดือนละ 1 ครั้งในขนาด 400 มก. หรือ 200 มก.ติดต่อกัน 3 วันต่อเดือน
3.2 ยาฆ่าเชื้อรากลุ่ม Itraconazole (Spiral=100 Mg./แคบซูล) การรักษาแนะนำให้รับประทาน ขนาด 200 มก.ต่อวัน เป็นเวลานาน 5 วัน
3.3 ยาฆ่าเชื้อรากลุ่ม Griseofulvin (Fulvin) ,Terbinafine (Lamisil) ได้ผลไม่ค่อยดีนักในการรักษาโรคเกลื้อน

Posted on

Laser Resurfacing : เลเซอร์ลอกหน้า ผลัดผิว ให้เรียบเนียน ลดริ้วรอย ฝ้า กระ รอยหลุม

Laser Resurfacing คืออะไร

คือ การลอกผิว หรือผลัดผิวหนังด้วยเลเซอร์ แบ่งตามระดับความลึกของการลอกได้ 3 ระดับ คือ
1. Ablative laser resurfacing.: แบบนี้จะลอกได้ลึกสุด ลอกผิวหนังชั้นนอนกออกหมด ได้ผลสุด แต่ผลข้างเคียงก็มากสุด เลเซอร์ที่ใช้ก็คือ CO2 Laser 10,600 nm มักนิยมทำในคนผิวขาว ส่วนเอเซียไม่ค่อยนิยม เพราะระยะพักฟื้นนาน เป็น 1-2 เดือน หลังทำอาจจะมีเลือดซึม และอาจจะทำให้เกิดรอยดำถาวรได้
2. Semi-Ablative laser resurfacing.: เลเซอร์ชนิดนี้ จะลอกในผิวหนังชั้นนอกบางส่วน ระยะพักฟื้นน้อยกว่า 1-2 อาทิตย์ ได้ผลรองลงมา ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ตัว คือ Erbium Laser 2940 nm. กับ Fractional CO2 Laser 10,600 nm
3. Non-Ablative laser resurfacing.: เลเซอร์ชนิดนี้ จะลอกในผิวหนังชั้นกำพร้า หรือแทบไม่ลอก ระยะพักฟื้น 1-3 วัน ได้ผลน้อย แต่ผลข้างเคียงก็น้อย ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ตัว คือ Erbium Glass laser Laser 1550 nm. ( Fraxel,Finescan )

การกรอผิวหน้าด้วยเลเซอร์ ได้ผลดีกว่าวิธีอื่นอย่างไร

การกรอผิวหน้าด้วยเลเซอร์ จะได้ความแม่นยำในการลอกหน้า ความลึก และบริเวณที่ถูกต้อง แม่นยำกว่าการลอกด้วยสารเคมี หรือการกรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี และยิ่งแพทย์ที่ทำมีความชำนาญ มีประสบการณ์ จะได้ผลลัพธ์ที่ดี และผลข้างเคียงน้อยสุด โดยเชื่อว่าจะช่วยให้ผิวหนังมีคุณภาพดีขึ้น ดังนี้

1. ความร้อนจากเลเซอร์ ทำให้มีการลอกผิวหนังชั้นกำพร้าและส่วนบนของหนังแท้ใหม้หลุดออกไป จึงทำให้รอยย่น รอยหลุม บนใบหน้าลดลง (แม้จะไม่หมดก็ตาม)
2. ความร้อนจากเลเซอร์ทำให้เกิดจากหดตัวของ collagen fiber ทำให้ผิวหน้าเต่งตึงขึ้น ริ้วรอยจึงดูจางลง ซึ่งได้ผลดีในบริเวณรอบดวงตา และริมฝีปาก
3. ความร้อนจากเลเซอร์ ทำให้กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ได้อย่างช้าๆ ในเวลา 6-12 เดือน จึงทำให้รูขุมขน รอยหลุมดูตื้นและเล็กลงได้

ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง

1. ริ้วรอยย่น แบบ Static wrinkle คือรอยย่น ที่ฉีดโบทอกซ์แล้วยังมีร่องรอยเหลืออยู่ หรือบริเวณที่ไม่สามารถฉีดโบทอกซ์ได้
2. รอยหลุมสิว ทุกชนิด
3. รูขุมขนกว้าง
4. ฝ้า กระ ชนิดตื้น
5. ภาวะชราของผิวพรรณ เช่น กระเนื้อ กระแดด กระในคนสูงอายุ
6. รอยสักบางชนิด ที่เลเซอร์ลบรอยสัก กำจัดได้ไม่หมด

ผลข้างเคียง ของกรอผิวหน้าด้วยเลเซอร์

1. อาจมีอาการ หน้าบวมแดง หลังทำ นานมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับชนิดของเลเซอร์ที่ทำ
2. ภาวะอักเสบ น้ำเหลืองไหล มักจะเกิดจากการลอกผิว แบบ Ablative laser resurfacing
4. ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อนได้ มีน้ำหนอง ซึ่ง มักเกิดได้จากมักจะเกิดจากการลอกผิว แบบ Ablative laser resurfacing
5. รอยดำจากความร้อนของเลเซอร์ อาจจะ เกิดได้นานในคนเอเซีย ถ้าลอกลึกเกินไป
7. รอยแผลเป็น มักเกิดได้จากมักจะเกิดจากการลอกผิว แบบ Ablative laser resurfacing
8. การกรอผิวด้วยเลเซอร์รอบดวงตา ถ้าทำหลายครั้งหรือใช้พลังงานมากเกินไป อาจเกิดการดึงรั้งหนังตา ทำให้เกิดภาวะหลับตาไม่ได้( ectropion) มักเกิดได้จากมักจะเกิดจากการลอกผิว แบบ Ablative laser resurfacing

fractional CO2-Laser resurfacing
fractional Co 2 laser resurfacing
Posted on

Food of Hair : สุขภาพผมที่ดี มีลักษณะอย่างไร อาหารแบบไหน ทำให้เส้นผมแข็งแรง

สุขภาพเส้นผมดี อยู่อย่างไร

สุขภาพของเส้นผมที่ดี ควรมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการดังนี้

  1. ความพรุน (Porosity) เส้นผมที่ดีและแข็งแรง จะต้องมีลักษณะเกร็ดผม (cuticle) ที่ราบเรียบปิดสนิท ทำให้น้ำและสารอื่นๆ ซึ่งเข้าสู่แกนผม(hait shaft)ได้ยาก
  2. ความยืดหยุ่นและแข็งแรง (Elasticity and Strengh) โดยสุขภาพผมที่ดี ควรจะสามารถยืดได้ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปกติ และหดกลับได้ตามปกติ และสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 100 กรัมโดยไม่ขาด โดยต้องมีแกนใน(cortex) ที่แข็งแรง ซึ่งปกป้องด้วยเกร็ดผม(cutilce) อีกทีหนึ่ง
  3. เนื้อสัมผัส (Texture) ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นผม และความหยาบหรือความอ่อนนุ่ม โดยผมที่มีขนาดใหญ่และอ่อนนุ่ม จะเป็นผมที่มีสุขภาพที่ดี

ส่วนประกอบทางเคมีวิทยาและโครงสร้างของเส้นผม

  1. โปรตีน: พบได้ร้อยละ 65-95 ของน้ำหนักผม ในรูปของเคอราติน
  2. ไขมัน: พบได้น้อยกว่า ร้อยละ 5 ส่วนใหญ่ไขมันบนเส้นผม จะเป็นลักษณะไขมันเหลว(sebum) ที่ประกอบด้วย free fatty acid,neutral fat ester,glyceryl,wax และ saturated hydrocarbon ( ขออภัยไม่มีคำแปลเป็นไทยที่เหมาะสมนะครับ)
  3. น้ำ: มักมีปริมาณในเส้นผมไม่แน่นอน โดยผมแห้งจะดูดซึมน้ำได้ดีกว่าผมมัน
  4. แร่ธาตุ หรือสารเคมีต่างๆ (Trace elements): ซึ่งบางส่วนอาจจะมาจากภายในเส้นผม หรือร่างกายเอง และบางส่วนมาจากภายนอก เช่น จากผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม เช่น แชมพู ครีมนวดผม ยาย้อมสีผม โลชั่นบำรุงเส้นผม หรือจากมลภาวะ ที่พบบ่อยๆได้แก่กลุ่ม carbon 45.2%,hydrogen 6.6%,oxygen 27.9%,nitrogen 45.2%,sulfur 5.2%

อาหารที่ดีต่อเส้นผม

กลุ่มอาหารที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อเส้นผม ได้แก่

  1. สังกะสี: ได้แก่ อาหารกลุ่ม สัตว์ปีก ถั่วทุกชนิด น้ำมันพืชจากธรรมชาติ น้ำมันงา จมูกข้าวสาลี
  2. วิตามินบี: ได้แก่ ผักใบเขียว ตับ ธัญพืชต่างๆ ปลา และไข่
  3. วิตามินเอ: ได้แก่ มะเขือเทศ แครอท ผักโขม ตับ บรอกโคลี่ มันฝรั่งชนิดหวาน หัวไขเท้า มะละกอ แคนตาลูป
  4. วิตามินซี: ได้แก่ กลุ่มผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม องุ่น แตงโม สตรอเบอรี่ ผักสีเขียว
  5. ทองแดง: ได้แก่ ตับ ถั่วเมล็ดแห้ง หอยนางรม อาหารทะเล ลูกพรุน ธัญพืช
  6. ธาตุเหล็ก: ได้แก่ ตับ ไข่แดง ข้าวโอ๊ต ผลไม้แห้ง เช่นลูกพีช ลูกเกด เนื้อแดง
  7. ธาตุไอโอดีน: ได้แก่ สาหร่าย อาหารทะเล หอมหัวใหญ่
  8. ธาตุซัลเฟอร์: ได้แก่ หัวหอม กระเทียม หัวผักกาด และหน่อไม้ฝรั่ง
    ควรที่ได้รับประทานอาหารให้สมดุล ในจำนวนที่เหมาะสม โดยเน้นการรับประทานอาหารมื้อเช้า เป็นมื้อที่สำคัญ เพราะร่างกายจะได้ใช้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือว่าเป็นการรับประทานที่ถูกสุขลักษณะ โดยมื้อเย็นให้รับประทานแต่น้อยๆ เพราะร่างกายกำลังจะพักผ่อน ไม่ต้องการพลังงานมากนัก และที่สำคัญควรรับประทานให้ครบหมู่ทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต สังกะสี และวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
  1. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ไขมันสัตว์ นมสด เพราะจะไปเพิ่มอนุมูลอิสระจากปฏิกริยาออกซิเดชั่น ทำให้เกิดการอักเสบต่อผิวพรรณ เส้นผมได้
  2. อาหารที่มีคารโบไฮเดรตสูง เช่น แป้งและน้ำตาล
  3. งดคาเฟอีน ในบุหรี่ กาแฟ
  4. งดดื่มอัลกอฮอล์ทุกชนิด
  5. หลีกเลี่ยงภาวะเครียดทุกกรณี
Posted on

Anorexia nervosa : โรคกลัวอ้วน เป็นความผิดปกติในการกิน ที่ไม่ควรมองข้าม

โรคกลัวอ้วน ( Anorexia nervosa) คืออะไร

โรคกลัวอ้วน ( Anorexia nervosa) เป็นโรคการผิดปกติในการกิน ที่เริ่มขึ้นในวัยรุ่นหนุ่มสาว โดยผู้ป่วยพยายามลดน้ำหนักตนเองอย่างมาก และมีอาการกลัวอ้วนทั้งๆ ที่ตนเองผอมแห้งอย่างมาก
พบได้ร้อยละ 95 ชองเพศหญิง มักพบช่วงอายุวัยรุ่นตอนต้นหรือช่วงปลาย ในอัตรา 1:100-1:800 พบบ่อยในประเทศตะวันตก แต่ในประเทศไทย พบได้บ้างประปราย
เกณฑ์การตัดสินว่าเป็นโรคนี้ มีดังนี้
1. น้ำหนักตัวลดลงเกิน ร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัวมาตรฐาน โดยคำนวนจากค่า BMI ( body mass index) หรือค่าดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งมีการคำนวณอย่างไร ได้เขียนบทความนี้ให้แล้ว ( ลองไปคลิกค้นหน้าดูนะครับ)
2. มีความวิตกกังวล กลัวอ้วนอย่างมาก ทั้งๆ ที่ตนเองผอมมาก
3. มีความผิดปกติในการมองตนเองว่าอ้วน หรือคิดว่าบางส่วนของร่างกายมีไขมันมากเกินไป
4. ในเพศหญิงมีการขาดประจำเดือน เกิน 3 รอบติดต่อกัน
สาเหตุของโรคกลัวอ้วน มีปัจจัยหลายอย่างดังนี้ 
1. ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยเอง- มักมีบุคลิกภาพที่เป็นแบบ ดีเลิศ(Perfectionist) เป็นเด็กตัวอย่างของครอบครัว ย้ำคิดย้ำทำ แต่ขาดทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
2. ปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว- มักถูกเลี้ยงดูแบบใกล้ชิด หรือปกป้องมากเกินไป ไม่ปล่อยให้เป็นตัวของตัวเอง บิดามารดามีความขัดแย้งกันบ่อยๆ และนำเด็กเข้าไปเกี่ยวด้วย
3. ปัจจัยทางสังคม- ค่านิยมของสังคมบางแห่ง ถือว่าผู้หญิงที่ผอมบางมีคุณค่า แต่ในขณะที่ผู้หญิงอ้วนเป็นคนที่ไม่รู้จักดูแลตนเอง

Anorexia nervosa
Anorexia nervosa

ลักษณะอาการที่พบ: -มักเริ่มต้นด้วยการพยายามลดน้ำหนัก ไม่ยอมกินอาหาร แต่พอน้ำหนักเริ่มลดลง ก็ยังไม่ยอมหยุดอดอาหาร ทำให้น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ พร้อมกับการพยายามออกกำลังกายมาก แต่บางคนก็ยังอยากกินอาหารเป็นพักๆ หรือบางคนไม่ยอมกินอะไรเลย แม้แต่อาหารแคลอรี่ต่ำ มีการพยายามชั่งน้ำหนักวันละหลายๆ ครั้ง ประจำเดือนขาด
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในผู้ป่วยโรคกลัวอ้วน 
1. ผิวหนังจะมีลักษณะแห้ง หยาบ ลอก มีขนเล็กๆ( lanugo) ขึ้นตามตัว แขน ขา ใบหน้า
2. มักบ่นว่าหนาวง่าย มีอุณหภูมิร่างกายต่ำ
3. อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที
4. มีความผิดปกติในระบบการย่อยอาหาร และการขับถ่าย
5. เวียนศีรษะเป็นลมได้ง่าย
6. ถ้ารุนแรง อาจถึงแก่ชีวิตได้
แนวทางการรักษา 
1. ต้องประเมินภาวะความสมบูรณ์ของร่างกาย
2. ดูภาวะทุพพลโภชนาการระดับใด
3. มักให้นอนรพ. เพื่อฟื้นฟูสภาพทางกาย และทางจิตใจ เพราะการรักษาด้วยยาอย่างเดียวได้ผลไม่ดีนัก ต้องควบคู่กับการรักษาจิตบำบัด
ดังนั้นสาวเจ้าทั้งหลาย การลดน้ำหนักแต่พอควรให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะมีตัวอย่าง ดาราฮอลลีวู้ดหลายนาง ได้เสียชีวิตด้วยโรคกลัวอ้วนมาแล้วนะครับ

Posted on

ผมหงอกก่อนวัย (Premature grey hair ) สัญญาณเตือนว่าเริ่มแก่ หรือแค่มีปัญหาโรคภัย

ผมหงอกก่อนวัย คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง

หมายถึง ภาวะที่มีผมหงอก ก่อนอายุที่ควรจะเป็น ส่วนที่จะอยู่ที่อายุเท่าใดนั้น เป็นตัวเลขโดยประมาณ โดยในฝรั่งผิวขาวถือว่า หากมีผมหงอกก่อนอายุ 20 ปี ถือว่าหงอกก่อนวัย แต่ในแถบเอเซียถือว่า ถ้าหงอกก่อนอายุ 30 ปี จึงจะเรียกว่ามีภาวะผมหงอกก่อนวัย
ผมหงอกก่อนวัย เกิดจากอะไร
1. ความเสื่อมของเซลล์เส้นผมปกติ: ปกติแล้วคนเราจะเริ่มมีผมหงอกตอนอายุ 30 ปลาย ๆ เกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสีเสื่อมสภาพ ทำให้สร้างเม็ดสีได้น้อยลงหรือหยุดการสร้างเม็ดสีเลย เส้นผมที่งอกขึ้นใหม่จึงเป็นเส้นผมที่มีสีเทาหรือสีขาว
2. กรรมพันธุ์: พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยจะพบว่าอาจจะมีผมหงอกก่อนวัยได้มากกว่าคนทั่วไป
3. โรคเรื้อรัง หรือความผิดปกติในร่างกาย:   โรคโลหิตจาง ภาวะทัยรอยด์เป็นพิษ เบาหวาน อารมณ์เครียดมาก หรือ หวาดกลัวเฉียบพลัน ฯลฯ
4. การขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น การขาดแร่ธาตุทองแดง วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) แร่มังกานีส
5. ยาบางตัว ที่มีผลต่อการสร้างเม็ดสีผม เช่น ยารักษามาลาเรีย Chloroquine

ป้องกันและรักษาอย่างไร

การป้องกันภาวะผมหงอกก่อนวัย
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเลือกที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
4. พยายามหาทางลดความเครียด เช่น กำจัดหรือเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เครียด ผ่อนคลายความเครียด ด้วยการ ดูหนัง ฟังเพลง พบป่ะเพื่อนฝูง
5. ตรวจสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังต่าง ๆ
5. ลดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
การรักษาผมหงกก่อนวัย เมื่อเกิดผมหงอกก่อนวัย ไม่มีทางป้องกันให้อัตราการเกิดผมหงอกลดลง และไม่มีทางรักษาให้หายได้
แนวทางแก้ไข 
– มีอยู่ทางเดียวก็คือ การเปลี่ยนสีผม หรือการย้อมผม แต่ในบางคน การมีผมสีขาวทั้งศีรษะ ก็ถือเป็นความเก๋ อีกแบบ
การย้อมผมบ่อยๆ มีผลเสียได้มั้ย
– การย้อมผมเพื่อปิดผมขาวบ่อย ๆ อาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพผม ทำให้ผมแห้งกร้าน อ่อนแอ เป็นสาเหตุของเส้นผมขาดหลุดร่วงง่าย ดังนั้นอาจต้องลองพิจารณาข้อดี-ข้อเสียในการย้อมผมปิดผมขาวดี ๆ หรือเลือกใช้ที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น กลุ่ม Henna extracts

Posted on

รังแค (Dandruff) เกิดจากอะไร ทำไมไม่หายซะที ขาดความมั่นใจ แก้ไขอย่างไรให้หาย

รังแค (Dandruff) คืออะไร

รังแค ( Pityriasis capitis) คือ ภาวะที่หนังศีรษะมีขุยเล็กๆ ออกมา มีลักษณะแห้ง หรือมีไขมัน เคลือบอยู่ก็ได้ โดยไม่พบความผิดปกติอื่นร่วมด้วย พบได้บ่อยในวัยรุ่นทั้งเพศชายและหญิง โดยพบอายุประมาณ 15-25 ปี
อาการของรังแค
1. มีสะเก็ดสีขาวหรือเหลือง ลักษณะเป็นแผ่นแบนและบางมันวาว มักพบบริเวณหนังศีรษะ เส้นผม หรือไหล่
2. มีอาการคันศีรษะ หนังศีรษะมัน แดงหรือเป็นสะเก็ด
3. มักจะพบว่าเป็นมากในช่วงฤดูหนาวและอาการจะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน
4. ถ้าเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อร่วมด้วย อาจมีกลิ่น และ หนังศีรษะบวมแดง
สาเหตุของรังแค
เกิดจากปัญหาฮอร์โมนแอนโดรเจนมีปริมาณสูง ทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันมากขึ้น แล้วเกิดการหลุดลอกในชั้นหนังกำพร้า( ขี้ไคล) ออกมาตลอดเวลา บางคนคิดว่าเกิดจาก จุลินทรีย์ที่พบในหนังศีรษะ ประเภท Pityrosporon ovale หรือ P.orbiculate

รังแคแห้งแตกต่างจากรังแคเปียกอย่างไร
รังแคเปียก คือ แผ่นความมัน ที่เกิดจากต่อมไขมันผลิตไขมันในปริมาณที่มากเกินไป แล้วเกิดการสะสมบนหนังศีรษะ มีความเหนียว มันจะเริ่มดึงดูดและเกาะติดกับสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
-รังแคแห้ง จะเป็นสะเก็ดสีขาวขนาดเล็กที่หลุดออกจากหนังศีรษะของคุณได้อย่างง่ายดายด้วยการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย ในทางตรงกันข้ามรังแคเปียกจะปรากฏเป็นสะเก็ดรังแคขนาดใหญ่สีเหลืองและเหนียวที่เกาะติดกันกับเส้นผมของคุณ พวกมันไม่หลุดง่าย
แนวทางการรักษา ต้องทำความเข้าใจว่า เป็นภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่งในวัยรุ่น ดังนั้นจุดมุ่งหมายในการรักษา คือการควบคุมมิให้รังแคเป็นมาก ดังนั้นแชมพูสระผม ควรมีคุณสมบัติในการชะล้างไขมันได้ดี และลอกขุยได้ เช่น แชมพูที่มีส่วนผสมของ Cold tar หรือ ทาโลชั่นที่มีส่วนผสมของ 2% Salicylic acid แล้วทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง แล้วสระออก การใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Ketoconazole เช่น Nizoral shampoo ก็สามารถรักษารังแคได้ดี เพราะเชื่อว่าทำให้เชื้อ Pityrosporon ovale หรือ P.orbiculate ลดลง
ที่สำคัญ จะต้องแยกให้ได้ว่า ไม่ใช่เกิดจากสาเหตุของความผิดปกติจากโรคอื่นๆ เช่น เซ็บเดิร์ม เชื่อราที่หนังศีรษะ เรื้อนกวาง หรือผิวหนังอักเสบจากการแพ้สารเคมี ดังนั้นถ้าไม่แน่ใจ แนะนำให้พบแพทย์