อาร์จินีน (Arginine ) กรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนที่สำคัญ โดยเฉพาะผู้ชาย

สุขภาพ-งานวิจัย

4 สิงหาคม 2005


Arginine คือ กรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เป็น non-essential amino acid ที่ร่างการสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ จากโปรตีนที่รับประทานเข้าไป

Arginine พบมากในอาหาร

  • เนื้อสัตว์ ส่วนที่เป็นเนื้อแดง เนื้อจากสัตว์ปีก รวมทั้ง อาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า (1.7 g ต่อ 100 g)ปลาแซลมอน (1.2 g ต่อ 100 g) รวมทั้งกุ้ง ปู เป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน และกรดแอมิโนทุกชนิด รวมทั้งอาร์จินินด้วย
  • เมล็ดถั่วแห้ง เป็นแหล่งของอาร์จินีนในพืช ถั่วลิสงเป็นแหล่งที่ดีของอาร์จินีน โดย ถั่วเหลือง 100 กรัม มีปริมาณอาร์จินีนถึง 3.1 กรัม almonds (2.5 g ต่อ 100 g), walnuts (2.3 g ต่อ100 g), hazelnuts (2.2 g ต่อ 100 g) และ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (2.1 g ต่อ 100 g) นอกจากนั้นยังพบมากใน  Brazil nuts, pistachios และ งา
  •  ผักโขม แม้ว่าผักทั่วไปจะไม่ใช่แหล่งที่ดีของอาร์จินีน แต่ผักโขมเป็นแหล่งที่ดีของอาร์จินีน โดยผักโขมแช่แข็งมีอาร์จินีน 3.3 g ต่อ 100 g
  • เมล็ดพืชที่ไม่ขัดสี (Whole Grains) รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพืชที่ไม่ได้ขัดสี เช่น ขนมปัง พาสต้า ข้าวสาลีที่ไม่ได้ขัดสี ปริมาณอาร์จินีน 650 mg ต่อ 100 g.ถ่
  •  ถั่วเหลือง และโปรตีนจากถั่วเหลือง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เป็นแหล่งอุดมของอาร์จินีนน
  • ไข่ โดยเฉพาะไข่แดง เป็นแหล่งที่ดีของอาร์จินีน (1.10 g ต่อ100 g) ขณะที่ ไข่ขาว มี  0.65 g ต่อ100 g
    ประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • คุณสมบัติเป็น Nitric Oxide ที่มีประโยชน์ในการขยายหลอดเลือด เพื่อการส่งออกซิเจนและสารอาหารแก่เซลล์
  • ช่วยลดปริมาณ ไขมัน Cholesterol ในเลือด
  • ช่วยการขับถ่ายของเสีย แอมโมเนีย ที่เกิดจากการออกกำลังกาย
  • การรักษาบาดแผล
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • Arginine เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนหลายตัว เช่น Glucagon,Insulin ซึ่งเกี่ยวกับควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย , Growth hormone เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • สามารถเพิ่มจำนวนอสุจิในผู้ชายด้วย

แต่ขณะเดียวกัน ถ้ารับประทานอาหารเสริมที่มี Arginine สูงเกินไป อาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น เพิ่มการเกิดโรคเริมที่ปาก และทำให้การดูดซึมกรดอะมิโน Lysine ลดลง ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารเสริมที่มี arginine ให้เหมาะสม ควรอยู่ที่ ประมาณ 500 มก.ต่อวัน

Related