Melatonin : เมลาโทนิน ฮอร์โมนชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับ ปรับสมดุลร่างกาย
Melatonin เป็นฮอร์โมนธรรมชาติ ชนิดหนึ่งในร่างกาย ซึ่งผลิตจากต่อมไพเนียล(Pineal gland) ซึ่งอยู่ในสมอง โดยพบว่ามีหน้าที่หลักๆ ในการควบคุมการนอนหลับของร่างกาย โดยทำให้เรารู้สึกง่วงนอน (fall asleep) เพื่อที่จะให้เราได้พักผ่อนร่างกายหลังจากที่เราได้ตื่นมาทุกวัน
และยังทำให้ร่างกายมีการผ่อนคลายทั้งกล้ามเนื้อและระบบประสาทเพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง
กลไลการหลั่งฮอรโมน ปกติร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Melatonin ในช่วงเวลากลางคืน โดยจะหลั่งสูงสุดในช่วงประมาณ 22.00-23.00 น. จึงถือว่าเป็นช่วงที่ร่างกายควรจะเริ่มนอนหลับได้ ในขณะเดียวกัน จะมีผล ทำให้ เพิ่มการหลั่ง Growth hormone ให้มากขึ้นด้วยในช่วงนี้
ร่างกายจะหลั่ง ฮอร์โมน Melatonin ประมาณ 30-100 ไมโครกรัมต่อวัน โดยจะหลั่งสูงสุดในช่วงวัยเด็กและก่อนวัยรุ่น (Puberty) และจะเริ่มลดลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยพบว่าเมื่ออายุ 80 ปี ระดับ ฮอร์โมน Melatonin จะลดลงถึง 80% จึงพบว่าในผู้สูงอายุจึงมักจะมีปัญหาการนอนไม่หลับ
ประโยชน์ของฮอร์โมนเมลาโทนิน
- ชะลอความชราก่อนวัย เพราะพบว่ามีสมบัติเป็น Anti-oxidants (สารต้านอนุมูลอิสระ)
- สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรงมากขึ้น ทำให้อาการโรคภูมิแพ้เรื้อรังดีขึ้นได้
- บรรเทาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เช่น จากไมเกรน
- ช่วยลดระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- ขับล้างสารพิษในร่างกาย
- เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศแก่ร่างกาย
- ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
- แก้ปัญหาการนอนไม่หลับ ในช่วงระหว่างเดินทางข้ามทวีบ (Time zone) ที่เรียกว่า Jet Lag(Circadain rhythm disorder)
- ช่วยควบคุมความผิดปกติของเนื้อร้ายในร่างกาย ต่อต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ฮอร์โมนเมลาโทนิน ช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชาย Testosterone,ฮอร์โมนเพศหญิง Estradiole และโกรทฮอร์โมนเพิ่มขึ้นได้
- ฮอร์โมนเมลาโทนิน ไม่ใช่ยานอนหลับ แต่ช่วยทำให้คนไข้ที่ต้องใช้ยานอนหลับเป็นประจำ ลดการใช้ยานอนหลับลง ทั้งในแง่ขนาดและความถี่ในการใช้ยานอนหลับ
อาการและอาการแสดงของภาวะพร่อง ฮอร์โมน Melatonin (Melatonin Deficiency)
- คุณภาพการนอนหลับลดลง หลับยาก ตื่นง่าย และจะหลับลงอีกครั้งได้ยาก หลับไม่สนิท
- อารมณ์ปรวนแปร หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล อาจจะมีปัญหาซึมเศร้าได้
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่า รู้สึกนอนไม่พอ อยากจะงีบ และง่วงในช่วงบ่ายๆ
- หน้าแก่ก่อนวัย บางคนอาจจะมีผมหงอกก่อนวัย
- ในเด็กที่ขาด ฮอร์โมน Melatonin จะพบว่ามีการก้าวเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าปกติ (Precocious puberty in children)
- ภาวะพร่อง ฮอร์โมน Melatonin ทำให้มีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง , Jet Lag, โรคหัวใจขาดเลือด ,อ้วนได้ง่าย ,ข้อเข่าเสื่อม ,มะเร็งเต้านมหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก,โรคอัลไซเมอร์
การวัดระดับ ฮอร์โมน Melatonin ว่าพร่องจริงหรือไม่ การตรวจจากเลือด ทำได้ยาก เพราะสลายไปเร็ว แต่ก็ยังพอจะมีการตรวจสารใกล้เคียงได้ โดยตรวจวัดจากระดับ 6-sulfatoxy-melatonin ในปัสสาวะ ( เก็บตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมง –24 hours of urine) และตรวจวัดระดับ ฮอร์โมน Melatonin ในน้ำลาย ดังนั้นปัจจุบัน จึงอาศัยอาการ อาการแสดง และอายุ เป็นหลักพื้นฐานในการวินิจฉัยภาวะ พร่องเมลาโทนิน
แนวทางการรักษาภาวะ พร่อง ฮอร์โมน Melatonin (Melatonin Deficiency)
- อาหาร พบว่ามีผลไม้บางอย่าง สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ได้ เช่น กล้วย ข้าวโอ๊ต มะเขือเทศ ผลเชอรี่ เป็นต้น เลี่ยงอาหารที่มีผลรบกวนต่อการนอนหลับ เช่น อัลกอฮอล์ กาแฟ นม( ซึ่งอาจจะรบกวนระบบการย่อยอาหาร) ของหวาน
- สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการนอนหลับ ควรนอนในห้องมีมืดสนิท ไม่มีเสียงหรืออะไรรบกวน เป็นไปได้ แนะนำให้ใช้ที่ปิดตา ก่อนนอน และอากาศในห้องนอน ควรจะเย็นสบาย ไม่หนาวหรือร้อนเกินไป และพบว่าในช่วงที่ตื่น หรือตอนกลางวัน ควรจะอยู่ที่ที่แสงจ้า เพื่อให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินให้น้อยลง เพื่อที่จะให้ร่างกายกระตุ้นให้เมลาโทนิน หลั่งมากในตอนกลางคืนแทน (Light therapy)
- การให้ ฮอร์โมน Melatonin ทดแทน ปัจจุบันในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศทางยุโรป และอเมริกา ประชาชนจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้ยากมาก และพบว่าส่วนใหญ่จะมีภาวะพร่องเมลาโทนิน ทำให้บางประเทศจัดให้ ฮอร์โมน Melatonin เป็นกลุ่มอาหารเสริมที่ช่วยให้นอนหลับ เพราะ ฮอร์โมน Melatonin ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะทำให้ตื่นได้ยาก และมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน ขนาดที่รับประทาน ปกติจะประมาณวันละ 1-3 มก.ต่อวัน