อยากสูงทำอย่างไร ฉีดโกรทฮอร์โมน จะช่วยมั้ย และมีปัจจัยอะไรอีก ที่ทำให้เราสูงขึ้นได้
Growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร
โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) เป็นฮอร์โมนชนิดที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Lobe of Pituitary Gland ) เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการ Metabolism ของร่างกาย โดยพบว่า
1. กระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย
Growth Hormone ในการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นการกระตุ้นตับและเนื้อเยื่ออื่นๆ ให้สร้าง IGF-I(insulin-like growth factor-I)
IGF-I กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างกระดูกอ่อน ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก นอกจากนี้ IGF-I จะกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและจะมีผลโดยตรงกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนเกิดการพัฒนาจำแนกชนิดต่อไป ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก จึงช่วยให้สูงขึ้นได้ตามวัย
ระยะการเจริญเติบโตและพัฒนาของร่างกาย
1. การเจริญเติบโตในวัยเด็ก ในขวบปีแรก เด็กจะเจริญเติบโตมากที่สุด ในช่วง 4 เดือนแรก ความเพิ่มขึ้น 3 ซม./เดือน หลังอายุ 4 เดือน ถึง 12 เดือน ความยาวเพิ่มขึ้น1.5 ซม./เดือน อายุ 1 – 2 ปี เด็กจะมีความยาวเฉลี่ย 1 ซม./เดือน หลังอายุ 2 ปี จนถึงอายุ 10 ปี อัตราการเจริญเติบโตจะคงที่ ความสูงเพิ่มขึ้น 5 – 6 ซม./ปี
2. การเจริญเติบโตในวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นการเจริญเติบโตในเพศชายและเพศหญิงจะแตกต่างกันชัดเจน เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ดังนี้
– เด็กหญิงไทยมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยสาว อายุ 10 – 10.5 ปี เริ่มมี growth spurt (โตอย่างรวดเร็ว) อายุ 11 ปี ความสูงเพิ่มขึ้น 7 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 14 – 15 ปี ความสูงลดลงเหลือเพียง 0.5 – 1 ซม./ปี ความสูงเฉลี่ยของผู้หญิงไทยขณะมีประจำเดือนครั้งแรก คือ 148.8 ซม. และสูงเต็มที่วัยผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 6.2 ซม.
– ในเพศชายเข้าสู่วัยรุ่นช้ากว่าเด็กผู้หญิง คือ อายุประมาณ 12 – 12.5 ปี เริ่มมีความสูงอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้น 6 ซม./ปี อายุ 14 ปี เริ่มมีการเพิ่มความสูงมากที่สุด 8 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงช้าลง อายุ 17 – 18 ปี ความสูงของคนไทย โดยเฉลี่ย 169.6 ซม
ดังนั้น หลายคนมาที่นึกอยากสูงขึ้น ถ้าอายุเลยวัยรุ่นไปแล้ว จึงไม่สามารถจะทำได้ เพราะกระดูกได้ปิดไปแล้ว ดังนั้นถ้าอยากจะเพิ่มความสูง ต้องเร่งทำก่อน ที่สายเกินไป ที่จะแก้ไข
ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงของคนเรา
1.กรรมพันธุ์ รูปร่างของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เป็นตัวกำหนดโครงสร้างพื้นฐานของลูกหลาน หากพ่อแม่สูงหรือเตี้ย ลูกก็มีแนวโน้มที่จะมีรูปร่างแบบนั้น ความสูงของลูกสามารถกะคร่าวๆ ได้ ด้วยการนำความสูงของพ่อรวมกับของแม่ แล้วหารสอง (บวก-ลบ ได้ 10 เซนติเมตร)
2. ภาวะโภชนาการ อาหารมีผลต่อความแข็งแรงของกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น ควรได้รับอาหารครบ 5 หมู่อย่างพอเพียง สารอาหารที่สำคัญในการทำให้กระดูกแข็งแรง ก็คือแคลเซียม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม แต่บางคนดื่มนมแล้วท้องเสีย ก็ให้เลี่ยงไปรับประทานปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งก้าง กุ้งแห้ง ผักที่มีสีเขียวเข้มๆ ถั่วเหลือง และงา เป็นต้น
3. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่ง growth hormone ได้เหมือนกัน และยังกระตุ้นให้เซลล์ที่สร้างเนื้อกระดูกดึงแคลเซียมจากเลือดมาสร้างกระดูก และสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกด้วย นอกจากนี้การได้รับแสงแดดอย่างพอเพียงในตอนเช้าหรือเย็น จะช่วยให้มีการสร้างวิตามินดีในร่างกาย เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้ คนที่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ พัฒนาการของกระดูกจะช้ากว่าคนที่เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
4.การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้สนิทและนานพอ จะทำให้ร่างกายหลั่ง growth hormone ออกมาได้อย่างเต็มที่ และพบว่าควรนอนก่อน 5 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ร่างกายจะหลั่ง growth hormone ออกมาได้สูงสุด การนอนดึกมีผลทำให้ hormone หลั่งออกมาน้อย และมีผลต่อความสูงได้ ในอนาคต
5. สุขภาพร่างกายและจิตใจ การดูแลสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ การเจ็บป่วยบ่อยๆ จะทำให้การเติบโตหยุดชะงัก การใช้ยาบางชนิดก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นตัวบั่นทอนการเจริญเติบโตได้เช่นกัน
6. ฮอร์โมน ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คือ
6.1 Growth hormone จากการที่ฮอร์โมนตัวนี้ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตดังกล่าวข้างต้น คนที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้จะมี รูปร่างเตี้ยเล็กกว่าปกติ
ซึ่งจะทราบได้ ก็ต่อเมื่อมีการเจาะระดับฮอร์โมนตัวนี้ว่าต่ำกว่าปกติจริงหรือไม่ คนที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้ หากได้รับการฉีด growth hormone ตั้งแต่เด็ก จะทำให้สูงขึ้นได้ แต่ในคนที่มีระดับฮอร์โมนตัวนี้ ปกติ ถึงแม้จะฉีด growth hormone ก็ไม่ได้ทำให้สูงขึ้นอีกแต่อย่างใด
6.2 Thyroid hormone ไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งสร้างจากต่อมไทรอยด์ ก็มีผลต่อสมองและความสูงอย่างมาก ถ้าขาดฮอร์โมนตัวนี้ มักจะมีพัฒนาการช้าและเตี้ย
6.3 Sex hormone ฮอร์โมนเพศก็สำคัญเช่นกัน หากเด็กเป็นสาวเป็นหนุ่มเร็ว จะส่งผลให้กระดูกปิดเร็วและค่อยๆ หยุดเจริญเติบโตในที่สุด พบว่าเด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว มีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สูง ส่วนมากเด็กหญิงที่มีประจำเดือนแล้ว 3 ปี และเด็กชายที่เสียงแตกมาแล้ว 3 ปี มักจะหยุดโตและหมดโอกาสที่จะสูงได้อีก นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนบางชนิดก็อาจทำให้เด็กเตี้ยได้ ได้แก่ การมีฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตมากเกินไป เด็กจะมีรูปร่างอ้วนเตี้ย
7. อาหารเสริมกลุ่ม Amino acid : พบว่าอาหารเสริมบางตัว สามารถที่จะเพิ่มระดับ GH ได้ แต่ควรจะทานช่วงที่ท้องว่าง หรือช่วงเช้า และ ก่อนนอน เพราะจะเพิ่มการออกฤทธิ์ได้ดีกว่า
7.1 Arginine : ขนาด 7-12 กรัมต่อวัน
7.2 Ornithine: ขนาด .5-8 กรัมต่อวัน
7.3 Lysine ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน พบว่า อาหารเสริมในข้อ 3.1-3.3 มักจะเพิ่มระดับ GH ได้คนหนุ่มสาว อายุระหว่าง 20-35 ปี และพบว่าหลายยี่ห้อ ได้นำ กรดอะมิโนทั้ง 3 ตัว จะผสมกันเพื่อให้ทานง่าย บางคนเรียกว่า Tri-amino Acids ดู
7.4 Glycine ขนาด 5-7 กรัมต่อวัน
7.5 L-tryptophan :ขนาด 5-10 กรัมต่อวัน
7.6 L-glutamine: ขนาด 2 กรัมต่อวัน จัดเป็นกรดอะมิโนที่สามารถเพิ่มระดับ GH ได้ทุกกลุ่มอายุ แม้แต่คนสูงอายุ ( 32-64 ปี)