โภชนาการสำหรับผู้สูงวัย : รับประทานอย่างไร จึงจะปลอดภัย ไร้โรค สุขภาย สุขใจ

เวชศาสตร์ชะลอวัย

8 สิงหาคม 2005


วัยสูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งจัดเป็นวัยแห่งความสำเร็จของชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานหนักสร้างฐานะในวัยหนุ่มสาว เป็นวัยที่มีฐานะเป็นปึกแผ่นมั่นคง มีลูกหลานรักใคร่และใกล้ชิด

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในกลุ่มคนสูงอายุ
เป็นขบวนการที่สลับซับซ้อนที่อธิบายได้ 4 ประการดังนี้

  1. เป็นสิ่งที่ต้องเกิดตามธรรมชาติ
  2. การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปในข้างหน้า อย่างไม่หยุดนิ่ง
  3. เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อม
  4. เกิดขึ้นภายในเซลล์ โดย เซลล์บางส่วนหยุดการแบ่งตัวทดแทนเซลล์เก่าที่หมดอายุไป และ ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อลดลง ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น จึงเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในวัยสูงอายุ ที่มีผลต่อภาวะโภชนาการไ ด้แก่

  1. ร่างกายมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารลดลง จึงมีอาหารท้องอืดเฟ้อได้ง่าย
  2. ขบวนการสร้างและหลั่งน้ำดีจากตับบกพร่อง ทำให้การย่อยอาหารบางประเภทผิดปกติ ทำให้มีผลกระทบต่อการสะสมของวิตามินและเกลือแร่บางชนิด
  3. ความรู้สึกอยากอาหารลดลง เพราะประสาทสัมผัสการรับรสและกลิ่นลดลง
  4. การบดเคี้ยวอาหารลดลง จากปัญหาเหงือกและฟัน
  5. โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้มีการจำกัดอาหารบางประเภท จึงทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

  1. ลดอาหารเค็มทุกชนิด เพราะการลดเกลือโซเดียม จะช่วยเสริมผลของยาลดความดันโลหิต พร้อมกับการลดน้ำหนักตัว
  2. ลดอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง
  4. รับประทานผักผลไม้มากขึ้น

    ทำอย่างไรจึงจะหยุดบริโภคนิสัยเกี่ยวกับรสเค็มได้
  1. ขวดใส่เกลือ หรือ น้ำปลาที่หมดแล้วไม่ต้องเติมอีก
  2. ไม่วางน้ำปลา หรือ น้ำพริกไว้ที่โต๊ะอาหาร
  3. งดการใช้อาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะอาหารกระป๋อง ซอสปรุงรส บะหมี่สำเร็จรูป
  4. เลือกอาหารว่าง ที่เป็นพวกผลไม้สด
  5. รับประทานอาหารที่ไม่มีผลชูรส ระมัดระวัง ในการใช้ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ ปรุงอาหาร ใช้มะนาว ขิง และเครื่องเทศแทน

เลือกอาหารอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากไขมัน

  1. ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร
  2. เลือกใช้มาการีนที่ทำมาจากน้ำมันพืช
  3. เลือกใช้เนื้อส่วนที่เป็นเนื้อแดง ตัดส่วนที่เป็นมันออก
  4. จำกัดอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ ควรบริโภคในปริมาณน้อยๆ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เนื้อปลา เนื้อไก่แทน งดพวกเครื่องในสัตว์ ตับ
  5. ดื่มนมพร่องมันเนย
  6. จำกัดไข่เพียง 3 ฟองต่อสัปดาห์
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ถั่วลิสง เนย ช๊อกโกแลค
  8. หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์เปลือกแข็ง เช่น หอย กุ้ง ปู

    เลือกอาหารอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากน้ำตาล
  1. ไม่ควรวางขวดน้ำตาลไว้ในโต๊ะอาหาร
  2. เลือกใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลปกติ
  3. เลี่ยงผลไม้บางอย่างที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
  4. งดของหวานทุกชนิด
  5. งดดื่ม สุรา น้ำอัดลม แบ่งรับประทานอาหารเป็น 5 มื้อต่อวัน ในปริมาณที่น้อยและคงที่ งดกินอาหารจุกจิก

Related