โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร
ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ที่เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ 1.กระดูกและข้อ 2.เส้นประสาท และ 3. กล้ามเนื้อ ซึ่งทำงานประสานกันอยู่ เป็นอาการของโรคที่พบบ่อยในคนที่ทำงานในออฟฟิศ คนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ และกลุ่มคนไอทีทั้งหลาย ที่ต้องทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งวัน คนรุ่นใหม่ที่ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตตลอดเวลา ซึ่งการทำงานติดต่อกันนานๆ แทบไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายไปไหนมาไหน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงเครียด หดเกร็ง เมื่อนาน ๆ เข้าจะก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยหลัง ไหล่ คอ บ่า แขน ข้อมือ บางรายปวดเกร็งอย่างรุนแรงจนหันคอ หรือก้มเงยไม่ได้เลย
อาการออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อยๆ มีดัง
1. อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่ : หนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ มักมีอาการปวด ตึง บริเวณคอ บ่า และไหล่ บางรายอาจมีอาการปวดเกร็งจนอาจหันคอ ก้ม หรือเงยไม่ได้เลย
2. อาการยกแขนไม่ขึ้น : อาการนี้เกี่ยวเนื่องมาจากข้อแรก ซึ่งจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อตั้งแต่คอ บ่า จนถึงไหล่ และร้าวลงไปที่แขน จนเป็นเหตุให้ยกแขนไม่ขึ้น เนื่องจากว่ามีพังผืดมาเกาะที่บริเวณสะบักและหัวไหล่นั่นเอง และบางรายอาจมีอาการชาไปที่มือหรือนิ้วมือด้วย
3. อาการปวดหลัง :เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยสุด เกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันนานๆ หรืองานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณสาวๆ ที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงตลอดทั้งวันด้วยแล้ว ยิ่งเกิดอาการปวดหลังได้ง่าย การยกของหนักเป็นประจำหรือการออกกำลังกายหักโหมเกินไปก็เป็นสาเหตุให้ปวด หลังได้เช่นกัน โดยอาจเกิดอาการเคล็ด ขัด ยอก หรือปวด ตึง กล้ามเนื้อบริเวณหลัง จนบางรายอาจไม่สามารถเอี้ยวหรือบิดตัวได้
4. อาการปวดและตึงที่ขา: เกิดจากการนั่ง เดิน หรือยืนนานๆ จนทำให้ปวดตึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั่วทั้งขา บางรายปวดร้าวไปที่เข่าและข้อเท้าก็มี ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้งานขาหนักทุกวันจนเกิดอาการล้าสะสม
5. อาการปวดศีรษะ: ในแต่ละวันคนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่จะเกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ อาจจะปวดข้างเดียวแบบไมเกรน หรือปวดร้าวไปทั้งศีรษะ ท้ายทอย จนทำงานไม่ได้ก็มี
ฉีดโบ ช่วยให้หายไว ไม่ต้องทานยา
การรักษาโรค office syndrome มีดังนี้
1. รักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ และปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
2. การรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม และ การนวดแผนไทย
3. การรักษาด้วยยารับประทาน :การรักษาด้วยยา แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
3.1 ยารับประทาน :โดยทั่วไปจะใช้เพื่อบรรเทาอาการ เช่น เมื่อมีอาการปวด หรืออักเสบมาก หรือในกรณีที่อาการที่เกิดขึ้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิต ผู้มีอาการควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยา เพื่อเลือกยาที่เหมาะสมกับสาเหตุและอาการของตนเอง ยารับประทานที่ใช้บ่อย มี 4 กลุ่ม คือ ยาแก้ปวดและต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ,ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxants),ยาแก้ปวดที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เช่น พาราเซตามอล,ยาคลายกังวล
3.2 ยาทาเฉพาะที่: มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ครีม เจล น้ำมัน ซึ่งมีส่วนผสมและการออกฤทธิ์ต่างๆกันดังนี้ ยาทาที่ลดการระคายเคือง (Counter-Irritant),ทำให้เกิดความรู้สึกร้อน หรือเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวด มักมีส่วนผสมของแคปไซซิน(พริก) และ เมนทอล เป็นต้น แต่หากการปวดนั้นมีการอักเสบด้วย การใช้ยาทาเฉพาะที่ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบจะช่วยบรรเทาอาการฯได้ดีกว่า;ยาทาบรรเทาอาการปวด และอักเสบที่กล้ามเนื้อ (Topical NSAIDs)
4 การรักษาด้วยการฉีด-Botulinum toxin : เดิมใช้การฉีดยาชา หรือยาฉีดแก้ปวดข้อไปตรงตำแหน่งที่ปวด แต่พบว่า ได้ผลแค่ชั่งคราว เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็กลับมาปวดได้อีก ปัจจุบัน หลายประเทศได้นำเอา Botulinum toxin มารักษาอาการปวดเมื่อยจากโรคออฟฟิศซินโดรม กันมากขึ้น โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasm) โดยอาศัยฤทธิ์ของBotulinum toxin ที่มีผลต่อการคลายกล้ามเนื้อเฉพาะจุดได้ดีและไวกว่าวิธีอื่นๆ ข้างบน เห็นผลทันทีหลังฉีด และอยู่ได้นานถึง 4-6 เดือน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหรือหายขาดได้นานๆ และผลข้างเคียงจากการฉีดโบทอกซ์ในตำแหน่งกล้ามเนื้อเหล่านี้ก็น้อยมาก เมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่นๆ
แต่ควรจะเลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการฉีดโบทอกซ์รักษาโรคนี้นะครับ เพราะไม่อย่างนั้น ถ้าฉีดผิดตำแหน่งแม้เพียงนิดเดียว อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มาก เช่น ขยับคอไม่ได้ หรือคอเอียงไม่เท่ากัน
ป้องกันมิให้การเกิด office syndrome ทำอย่างไร
การรักษาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ถ้าจะป้องกันและรักษาในระยะยาว ต้องแก้ไขที่สาเหตุ ซึ่งสาเหตุของ Office Syndrome นั้นเกิดขึ้นจากการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เป็นธรรมชาติ มีการจัดโต๊ะทำงานและเก้าอี้นั่งอย่างไม่เหมาะสม การอยู่ในท่าเดียวนานๆ เป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดเดียวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นหดตัว ขมวดกัน เมื่อไม่ได้พักหรือออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อยืดตัว และยังใช้งานต่อในท่าเดิมๆ กล้ามเนื้อยิ่งหดเข้าไปจนเกิดเป็นก้อนแข็ง ไม่มีความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นการบาดเจ็บ และอักเสบของกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่ไม่ควรละเลย ดังนั้นเมื่ออาการดีขึ้นจากการรักษาข้างต้นแล้ว ควรจะป้องกันการเกิดซ้ำอีกของโรคนี้ ดังนี้
หลักป้องกันการเกิด office syndrome ง่ายๆด้วยตัวเอง
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ในที่ทำงาน ที่ไม่เหมาะสม มีความสำคัญมากในการป้องกันและบรรเทาอาการ office syndrome ที่แก้ไขได้ตรงสาเหตุ
- ทุก 1-2 ช.ม. ควรพักจากการทำงาน 2-3 นาที อาจจะเดินไปดื่มน้ำ หรือออกกำลังกายยืดเส้น ยืดสาย ง่ายๆ ซัก 10-15 นาทีทำงานผสมหรือสลับ เช่น งานหน้าจอ งานจัดเอกสาร หรือ อื่นๆร่วมกัน
- เหยียดกล้ามเนื้อในระหว่างวัน เช่น ก่อนเลิกงาน วิธีง่ายๆ ก็ คือการบีบนวดต้นคอ ยืดกล้ามเนื้อคอ หรือเอียงซ้าย-ขวา ก้มและเงยหน้า ฯลฯ แต่ละท่าควรทำค้างไว้สัก 10 วินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นยืดตัวได้
- ควรนั่งเก้าอี้ให้เต็มเก้าอี้ ซึ่งสาวออฟฟิศส่วนใหญ่ชอบนั่งแค่ครึ่งหรือปลายเก้าอี้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม อย่า กำ เกร็ง อุปกรณ์ต่างๆ
- ฝึกการใช้งาน การพิมพ์ให้คล่อง ฝึกการใช้แป้นลัดในการเข้าถึงคำสั่ง
- นอกจากนี้การจัดที่นั่งที่ดีจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการต่างๆได้มาก โดยจุดหลักของการจัดท่านั่งในการทำงานที่เหมาะสมคือ ต้องปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ให้ขอบตามองแล้วได้ระดับเดียวกับขอบบนของจอ คอมพิวเตอร์ รวมถึงต้องมีที่รองรับแขนซึ่งจะเป็นการช่วยไปถึงไหล่ และต้องมีที่รองรับเท้าด้วย