ท่านเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เวลาที่เรารับประทานอาหารบางอย่างเข้าไปแล้ว เกิดอาการผิดปกติ ไม่สบาย เช่นอาจจะท้องอืด ท้องเฟ้อได้ง่าย เกิดสิว เกิดผื่นแพ้ ทำให้ภาวะเซ็บเดิร์มรุนแรงขึ้น น้ำหนักขึ้นได้ง่ายหรืออ้วนง่ายมาก นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ปวดข้อ ฯลฯ หรือ อาจจะเกิดอาการที่เราอธิบายไม่ได้หลายอย่าง และบางครั้งเมื่อเกิดอาการที่ไม่ทราบสาเหตุแล้วไปพบแพทย์ อาจจะได้รับการรักษาทางด้านจิตใจมากกว่า เนื่องจากคิดว่าเป็นอาการที่เกิดจากสภาวะทางจิตใจหรือความเครียด
ในความเป็นจริง อาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วร่างกายรับไม่ได้ ที่เรียกว่าการแพ้อาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่รุนแรง หรือเกิดภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ( Food Intolerance)
อาการเหล่านี้พบว่าจะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วหลายวัน เช่น เรารับประทานนมหรือขนมปังเข้าไปในวันนี้แต่เกิดอาการปวดข้อหลังจากนั้น 3 วัน หรือเป็นอาทิตย์ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะสรุปว่าเกิดจากอาหารชนิดไหน ซึ่งจะแตกต่างจากการแพ้อาหารแบบทันที (Food Allergy) ซึ่งอย่างหลังเราจะสังเกตได้ง่ายกว่า เพราะจะรุนแรงกว่า เกิดได้เร็วกว่า เช่น เกิดผื่นแพ้ ลมพิษ คัน หน้าเห่อ บวมแดง
ภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ( Food Intolerance)
พบได้ถึง 45% ของคนปกติ การเกิดภาวะนี้มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นกับอาหาร และยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจเกิดจากการติดเชื้อราในระบบทางเดินอาหาร, การมีพยาธิ, การติดเชื้อในลำไส้, ความไม่สมดุลของสารอาหารที่บริโภคเข้าไป, การดื่มแอลกอฮอล์ หรือผลมาจากยาซึ่งอาจไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างต่ออาหารมากเกินไป ในภาวะปกติภูมิคุ้มกันจะไปจับกับโปรตีนในอาหารและจะถูกขจัดไปโดยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแต่ถ้าระบบภูมิต้านทานทำงานมากผิดปกติร่างกายจะขจัดไม่หมดและจะไปสะสมอยู่ตามข้อหรือระบบย่อยอาหารทำให้เกิดอาการรับอาหารบางชนิดไม่ได้
อาการของภาวะรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ( Food Intolerance)
– ระบบทางเดินหายใจ – ไอ, จาม, หายใจลำบาก, ภูมิแพ้, ติดเชื้อในหู, กรน, หยุดหายใจขณะ นอนหลับ, ปอดบวม, หลอดลมอักเสบ
– ระบบภูมิคุ้มกัน – มีไข้ หรือติดเชื้อได้ง่าย, เป็นแผลในปาก, ติดเชื้อรา
– ระบบประสาท – เชื่องช้า, ซุ่มซ่าม, ปวดหัว, ไมเกรน, เครียด, มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ, โรคจิตเสื่อม
– ผิวหนัง, ผม และ เล็บ – โรคเรื้อน, ผิวหนังอักเสบ, ลมพิษ, ผื่นแดง, ผมร่วง. เล็บฉีกหัก, รังแค
– ระบบเผาผลาญ – หงุดหงิด, น้ำหนักเกิน, น้ำหนักลด, หนาวสั่น, ไทรอยด์เป็นพิษ
– ระบบกล้ามเนื้อ – กล้ามเนื้อหรือข้อล็อค, เอ็นหรือข้ออักเสบ, กระดูกบาง, กระดูกแตก, กระดูกพรุน
– ขาดสารอาหาร – อ่อนเพลีย, สมาธิสั้น, ขาดวิตามิน, ขาดธาตุเหล็ก, โลหิตจาง, ขาด แคลเซียม
– ระบบทางเดินอาหาร – ลำไส้แปรปรวน (IBS), ท้องเสีย, ท้องผูก,อาหารไม่ย่อย, แผลใน กระเพาะอาหาร, แผลในลำไส้,อ้วนได้ง่าย
– ระบบสืบพันธ์ – ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, มีบุตรยาก, แท้ง
– ที่สำคัญ โรคเรื้อรังที่สำคัญอาจจะเกิดตามมาได้ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1,โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis),โรคแพ้กลูเทน (Coeliac disease),โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis),โรคโลหิตจาง (Anemia),มะเร็งลำไส้และกระเพาะอาหาร (Bowel cancer and Stomach cancer),โรคหลอดเลือดหัวใจ (Atherosclerosis),โรคความดันโลหิตสูง,โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hashimoto’s thyroiditis) ถ้าหากเราไม่รักษาอาการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ หรือไม่เลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร่างกายรับไม่ได้
Food Intolerance Test
ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้เราสามารตรวจสอบการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ที่เรียกว่า Food Intolerance Test โดยใช้เทคโนโลยี Microarray ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากประเทศอังกฤษ ที่มีความแม่นยำสูงมาก ที่สำคัญคือใช้เลือดเพียงปริมาณเล็กน้อย ผลการทดสอบสามารถบ่งบอกชนิดของอาหารที่ร่างกายรับไม่ได้ได้ถึง 221 ชนิด
การใช้ประโยชน์จากผลการทดสอบ Food Intolerance Test
จากผลการทดสอบภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ ถ้าผลการทดสอบของคุณเป็นบวก บ่งบอกได้ว่าคุณมีปฏิกิริยาการต่อต้านอาหาร ซึ่งจากผลการทดสอบนี้คุณสามารถนำมาปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารที่คุณรับประทานให้ถูกต้องและเหมาะสมกับภาวะสุขภาพ เพื่อให้การรับประทานอาหารแล้วเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย และยังเป็นการดูแลสุขภาพจากภายในเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย นอกจากนี้การตรวจหาชนิดของอาหารที่ก่อให้เกิดอาการที่แท้จริง ยังถือว่าเป็นการป้องกัน ที่ดีกว่าการแก้ปัญหาโดยการรักษาอาการของโรคซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย แต่สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารควรอยู่ภายใต้การควบคุมและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อความถูกต้องครบถ้วนในการได้รับสารอาหารในแต่ละวัน