Posted on

ฝ้า (Melasma) อยากหาย ให้หน้าใส รักษาอย่างไร ให้ถูกจุด หยุดปัญหาเรื้อรัง ป้องกันไว้ก่อน

ฝ้าคืออะไร ชนิดของฝ้าและสาเหตุการเกิดฝ้า

ฝ้า (melasma) คือ ปื้นสีน้ำตาลที่เกิดบริเวณแก้มจมูกหน้าผากคาง ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกแสงแดด (แต่อาจเกิดที่แขนได้) มักเป็นเหมือนกันทั้ง 2 ข้างของใบหน้า
สาเหตุของการเกิดฝ้า
1. แสงแดดเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือทำให้ฝ้าเป็นมากขึ้น
2. ผิวแห้งขาดการบำรุง จะทำให้เกิดฝ้าได้ง่ายกว่าคนผิวมัน
3. ฮอรโมน ถือว่าเป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนผิดปกติ อาจทำให้เกิดฝ้าได้
4. เครื่องสำอางค์ การแพ้เครื่องสำอางค์ อาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้
5. พันธุ์กรรม และเชื้อชาติ เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ถ้ามีบุคคลใดเคยเป็นฝ้าในครอบครัว จะทำให้บุตรหลาน มีโอกาสเป็นฝ้าได้ถึง ร้อยละ 30-50 และพบบ่อยในคนเอเซียมากกว่าในยุโรป
ชนิดของฝ้า
1. ฝ้าตื้น (Epidermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ และสามารถเห็นขอบเขตได้ชัดเจน
2.ฝ้าลึก (Dermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังแท้ใต้หนังกำพร้า มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า มีขอบเขตของฝ้าไม่ชัดเจน โดยมากเราจะสังเกตได้ว่าฝ้าชนิดนี้จะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง
3. ฝ้าผสม (Mix type) – ฝ้าที่มีการผสมกันระหว่างฝ้าลึก และฝ้าตื้นบนใบหน้า
4. ฝ้าเลือด ( Vascular melasma หรือ Telangiectetic melasma ) ฝ้าเลือดดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า อันเป็นผลมาจากการใช้เครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของ ไฮโดรควินิน หรือเสตียรอยด์หรือยาคุมกำเนิด ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก โดยจะมีสีน้ำตาลแดง

รักษาฝ้าในปัจจุบัน 

1. ครีมทารักษาฝ้า สมัยก่อน ครีมทาฝ้ามักจะมีส่วนผสมของสาร Hydroquinone ซึ่งได้ผลดี แต่ก็มีผลข้างเคียง อย.ได้ถือว่าเป็นยาอันตราย ไม่อนุญาตให้ผสมในครีมรักษาฝ้า เพื่อวางจำหน่ายทั่วไป ครีมรักษาฝ้าในปัจจุบัน จึงได้เปลี่ยนมาใช้ สารสกัดจากธรรมชาติแทน อาทิเช่น เปลือกสน ,Kogic acid,Albutin, Licorice Extracts,Vitamin C ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์แต่สารแต่ละตัว ก็จะแตกต่างกันไป ในยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ ดังนั้นก่อนเลือกครีมทารักษาฝ้า ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อผลการรักษาที่ได้ผลดี ไม่มีผลข้างเคียง
2. ยารับประทานรักษาฝ้า  มักจะใช้เสริมกับครีมทาฝ้า เช่นวิตามินซี, วิตามินอี ,ยารับประทาน tranexamic acid (มักใช้ในฝ้าเลือด ) การรับประทานยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะยารับประทานบางตัวมีผลข้างเคียงได้

3. การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์เม็ดสี : การรักษาฝ้า ด้วยเลเซอร์เม็ดสี( Pigmented laser) เป็นการใช้เลเซอร์ Q-Switched Nd:YaG Laser ซึ่งจัดว่าเป็นเลเซอร์ที่รักษารอยฝ้า ได้ผลดีมากกว่า 70-80% โดยไม่พบผลข้างเคียงใด และเหมาะกับทุกสภาพสีผิว กลไกการรักษา คือการทำให้ฝ้า ค่อยๆ เลือนจางลง โดยไม่ต้องลอกผิว หลังทำจึงไม่ต้องพักฟื้น ไปทำงานได้ปกติ ปัจจุบัน Q-Switched Nd:YaG Laser จัดเป็นการรักษาฝ้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เพราะเห็นผลชัดเจน ไว และไม่มีผลข้างเคียง ออกแดดได้ตามปกติ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเลเซอร์รักษาฝ้า ได้แก่ MedLite ,Revlite , Pico Laser นอกจากนี้ยังนำมารักษารอยด่างดำ ตามใบหน้า ลำตัว หรือหัวนมดำคล้ำ รักแร้ดำ ริมฝีปากดำคล้ำได้ด้วย

3. การรักษาฝ้าด้วยการฉีด(Meso bright) : หลักการคือการฉีดสารไวเทนนิ่งที่มีส่วนผสมขนานต่างๆ เช่น วิตามินเอ,ซี Glutathione,Placental Extracts ,Transemic acid เข้าสู่ผิวชั้นใน (ในชั้น Mesoderm) ด้วยปืนยิงดิจิตอล หรือ ใช้เข็มฉีดไปบริเวณที่เป็นฝ้า เพื่อจุดมุ่งหมายในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิดปกติ หรือการละลายฝ้าให้ค่อยๆ จางลง วิธีนี้มักจะได้ผลดีเฉพาะฝ้าเลือด หรือฝ้าที่เกิดจากฮอรโมนผิดปกติ ฝ้าบางชนิดอาจจะไม่ได้ผล ดังนั้นก่อนทำ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกัน
ส่วนการรักษาฝ้า วิธีอื่นๆ เช่น การลอกด้วยกรดผลไม้ (Chemical peeling ) , การทำไอออนโต , การกรอผิว การทำ IPL การลอกฝ้าด้วยเลเซอร์ ไม่ค่อยแนะนำ เพราะบางอย่างไม่เหมาะกับผิวเอเซีย ทำให้ดำคล้ำได้ง่าย เกิดผลข้างเคียง บางอย่างยังไม่มีผลงานวิจัยรับรองชัดเจน

การป้องกันการเกิดฝ้า 

1. โฟมล้างหน้า หรือเจลล้างหน้า ควรเลือกล้างหน้าด้วยโฟม หรือเจล ที่เหมาะกับผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวแห้งมากขึ้น
2. ครีมกันแดด ถือว่าเป็นเครื่องสำอางพื้นฐานที่ต้องใช้ตลอดเวลา เนื่องจากมีการวิจัยแล้วว่า แสงแดดนอกจากทำให้เกิดฝ้าแล้ว ยังทำให้เกิดริ้วรอยแก่ก่อนวัย การเลือกใช้ครีมกันแดด นอกจากจะต้องเหมาะกับผิวแล้ว ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพของสารกันแดดด้วย ค่า SPF เท่าใด (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีบี) และค่า PA เท่าไหร่ (ค่าสารกันแดดที่ป้องกันรังสียูวีเอ) สำหรับผู้ที่เป็นฝ้า ควรเลือกครีมกันแดด ที่มีค่า SPF> 25 และค่า PA++ เป็นอย่างน้อย และควรมีส่วนผสมของครีมบำรุงร่วมด้วย
3. ครีมปรับสภาพผิว อาจอยู่ในรูปของ BHA Creams,AHA gel,BHA gel หรือครีมบำรุงอย่างอื่น เพื่อช่วยปรับสภาพผิวหน้า ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
4. ครีมบำรุงผิว การบำรุงผิวหน้าตั้งแต่วัยเยาว์ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี การเลือกครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินเอ ซี อี หรือ EPO พบว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันฝ้า และริ้วรอยได้
5. โภชนาการและอาหารเสริม ควรรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีคุณค่าทางวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี เพราะพบว่านอกจากป้องกันการเกิดโรคหวัดแล้ว ยังใช้รักษาฝ้าได้ด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานวิตามินซี(เม็ด) วันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ควบคู่กับวิตามินอี 1,200 ยูนิตต่อวัน

Posted on

RevLite (Pigmented Laser) : เลเซอร์ลบรอยสัก รักษาฝ้า กระ ทุกชนิด รักแร้ดำ รอยไหม้ ได้ผล ไม่ลอก ไม่แดงหลังทำ

Revlite คืออะไร แตกต่างจากเลเซอร์เม็ดสีตัวอื่นอย่างไร

จัดเป็น Pigmented Laser ชนิด Q-switched Nd:YaG laser ที่ผ่านการรับรองเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลจาก FDA ของอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ 2008
ความแตกต่าง : มีการพัฒนาให้มีคุณลักษณะที่โดดเด่น ด้วยเทคนิคเฉพาะที่ให้พลังงานมากขึ้น แต่ระยะเวลาในการยิงสั้น แบบ nanosecond มีความจำเพาะต่อรอยโรคที่แม่นยำขึ้น จึงได้ผลมากขึ้น เร็วขึ้น และปลอดภัยมากขึ้นกว่าไม่มีความร้อนสะสมที่ผิว เหมือนยี่ห้ออื่นๆ เลเซอร์ RevLite® เหมาะกับทุกสภาพสีผิว สามารถเลือกยิงได้ หลากหลายช่วงความยาวคลื่น(multi-wavelength) จึงเพิ่มขีดความสามารถได้มากกว่า Q-switched laser รุ่นก่อนหน้านี้

RevLite รักษาอะไรได้บ้าง

1. กลุ่มความผิดปกติของเม็ดสี (Pigmented Lesion Removal ) :  ได้แก่ ฝ้าทุกชนิด กระ ปานดำ ปานโอตะ ขนคุด รอยดำรักแร้ รอยดำท่อไอเสีย ขาหนีบดำ รอยดำสิว
2. Rejuvenation : ด้วยเทคนิค Micro-Laser Peel ด้วยช่วงคลื่น 1064nm เลเซอร์ RevLite® จึงสามารถแก้ปัญหาริ้วรอยเหี่ยวย่น รูขุมขนกว้าง รอยด่างดำ ทำให้หน้าเนียนขาว เสริมสร้างคอลลาเจน

3. Tattoo Removal (ลบรอยสัก): RevLite® ถือว่าเป็นเลเซอร์ที่สามารถลบรอยสักที่ได้ผลดีสุดในปัจจุบันถือว่าเป็น Gold Standard for Tattoo Removal ที่การันตีได้ทั่วโลก ) เพราะสามารถลบรอยสักได้หลายสี ที่เลเซอร์อื่นทำไม่ได้ ตั้งแต่สีดำ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ฯลฯ
4. Hair Removal (กำจัดขนอ่อน ): สามารถกำจัดขนอ่อนที่ใบหน้า หรือขนที่สีไม่เข้มในที่ลับ ซึ่งเลเซอร์กำจัดขน Gentle YAG จะกำจัดขนกลุ่มนี้ได้ไม่ดี เพราะจำนวนเม็ดสีเมลานินน้อย ทำให้เป้าหมายยิงไม่ได้แม่นยำและที่สำคัญ นำมารักษาสิวเสี้ยนได้ดีอีกด้วย

ขั้นตอนการทำ

ขั้นตอนการรักษาและการดูแลหลังการรักษา 
– ล้างหน้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งและคาดอุปกรณ์ปิดตา แล้วทำความสะอาดผิวอย่างล้ำลึกด้วย Oxygen Jet peel และเตรียมผิวให้ชุ่มน้ำ ก่อนยิงเลเซอร์ ใช้เวลายิงเลเซอร์ประมาณ 10-30 นาที ระหว่างยิงจะได้ยินเสียงเปรี๊ยะๆ หากมีกระฝ้ามากก็จะมีเสียงดังไม่ขาดระยะ อาจจะมีอาการเจ็บนิดๆ เหมือนดีดหนังสติ๊ก จากนั้นก็จะทาครีมกันแดด หลังทำสามารถจะแต่งหน้าได้ตามปกติ

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 
ผลข้างเคียงแทบจะไม่มี ถ้ามีก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคการยิง เช่น อาจจะทำให้เกิดร่องรอยด่างขาวได้ ซึ่งอาจจะเป็นชั่วคราว ดังนั้นในการรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์ RevLite® จึงควรเลือกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทีมีประสบการณ์และมีเทคนิคในการรักษา จำนวนครั้งในการทำ ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของแต่ละคน

ขอบตาคล้ำจางลงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ
ลบรอยสัก เห็นผลจางลงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ
ปานดำ รักษาด้วยเลเซอร์ Revlite
Revlite ลบรอยสักได้ทุกสี ไม่มีแผลเป็น
Posted on

กระ (Freckles) : กระตื้น กระลึก กระเนื้อ กระแดด กระกรรมพันธุ์ รักษาอย่างไร ให้จางลง คงความขาว เนียน ใส ให้ใบหน้า

กระคืออะไร มีกี่แบบ

กระ คือจุดด่างดำที่เกิดบนใบหน้า อาจจะมีสีน้ำตาล หรือเป็นสีค่อนข้างดำ กระบางชนิดอาจจะเป็นคล้ายๆ ติ่งเนื้อ มักจะเกิดบนผิวหนัง ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำคอ หน้าอก แขน หรือขา
กระแบ่งได้เป็น 4 ชนิด
1. กระตื้น (Freckle, Ephelis) ลักษณะเป็นสีแทนออกแดง หรือน้ำตาลอ่อน รูปร่างกลมเป็นจุดเล็ก ๆ โดยมักจะปรากฏขึ้นช่วงฤดูร้อน และพบได้ในผู้ที่มีสีผิวค่อนข้างขาว หรือในครอบครัวที่มีพันธุกรรมกระชนิดนี้ รวมถึงกลุ่มคนที่มีสีผมแดงและตาสีเขียวที่มีความเสี่ยงสูง
2. กระลึก(Nevus of Hori) มีลักษณะเป็นจุดสีเทาหรือฟ้าอมเทาหลายจุดที่บริเวณโหนกแก้มสองข้าง มักพบในผู้หญิงเอเชียเนื่องจากมีเซลล์สร้างเม็ดสีขึ้นผิดที่ คือไปอยู่ชั้นหนังแท้

3. กระแดด (Lentigo or Solar Lentigo ) กระชนิดนี้ที่มีสีเข้ม มักเป็นสีแทน น้ำตาล หรือดำ ปรากฏตามบริเวณที่สัมผัสแดด เช่น หลังมือ ใบหน้า บริเวณไหล่และหลังส่วนบน กระชนิดนี้ เป็นได้ทุกกลุ่มอายุ โดยเป็นผลมาจากตากแดดเป็นเวลายาวนาน จึงพบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งต่อมาอาจจะกลายเป็นมะเร็งผิวหน้ังได้
4. กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) ลักษะเป็นก้อนเนื้อ มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อขนาดเล็กคล้ายหูดนูนขึ้นมาจากผิวหนัง สีน้ำตาลหรือดำอาจมีผิวเรียบหรือขรุขระ ขนาด2-3เซนติเมตร พบได้บ่อยตามใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก ไหล่ ท้อง และหลัง มักเกิดเป็นกระจุกมากกว่าจุดเดียว แต่จะไม่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า มักจะเกิดจากพันธุกรรม แสงแดด เมื่ออายุมากขึ้น หรือโดนแดดมากขึ้น เป็นเวลานาน จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้
ฝ้ากับกระ แตกต่างกันอย่างไร
ฝ้า จะมีลักษณะเป็นปื้นและมีขนาดใหญ่กว่า ขอบเขตไม่ชัดเจน มักจะเกิดในบริเวณที่สัมผัสแสงแดด ขณะที่ กระ จะเป็นจุดกลมๆ เล็กๆ มีขอบเขตชัดเจน มักจะเกิดกระจายทั่วไป บนใบหน้า

การรักษากระ

1. ครีมทา(Whitening creams) : มักจะเป็นครีมกลุ่มที่ผสมไวเทนนิ่ง เช่น Kojic adic,Albutin,Vitamin C เพื่อให้กระจางลง มักจะใช้ได้เฉพาะกระตื้น แต่ก็ได้ผลไม่ดี
2. การลอกผิวด้วยกรดเข้มข้น (Chemical peeling ): กลุ่มนี้มักจะใช้ได้กับกระตื้น กับกระแดด แค่พอทำให้กระจางลงได้บ้าง ถ้าทำบ่อยๆ ก็ทำให้ผิวบางลงและไวต่อแสงแดดมากขึ้น ทำให้กระกลับมาเป็นใหม่ และรุนแรงกว่าเดิม
3. เลเซอร์ ( Laser ) : การใช้เลเซอร์เป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัย ผลตอบสนองค่อนข้างดี มากกว่า 80-90 % โดยพบว่าเลเซอร์ที่ใช้ก็มีดังนี้
3.1 Pigmented Laser (Q-Switched Nd:YaG Laser) เช่น Revlite ,Pico Laser ซึ่งจัดว่าเป็นเลเซอร์ที่รักษากระได้ทุกชนิด ยกเว้นกระเนื้อ เหมาะกับทุกสภาพสีผิว ผลการรักษา ขึ้นอยู่กับ จำนวนครั้งและเทคนิคของแพทย์
3.2 Co2 Laser : เป็นเลเซอร์ที่ใช้กำจัดกระเนื้อ สามารถกำจัดออกหมดได้ในครั้งเดียว สะดวกและปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ หลังทำอาจจะมีรอยแดงๆ ควรเลืี่ยงแดดหรือทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันรอยดำหลังทำ

การป้องกันกระ

นอกจากสาเหตุทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอะไรได้แล้ว การหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดเป็นทางเดียวที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นกระ หรือมิให้กระกลับมาใหม่ ปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ไม่กี่ข้อดังนี้

  • เตรียมพร้อมเผชิญแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดทุกครั้ง โดยเลือกครีมที่มี SPF 50 เป็นอย่างต่ำ
  • ปกป้องใบหน้าซึ่งเป็นส่วนที่โดนแสงแดดบ่อย ๆ ด้วยการสวมหมวกปีกกว้าง
  • สวมใส่เสื้อผ้าปกปิดร่างกาย เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
  • หลีกเลี่ยงการพบเจอแสงแดดช่วงเวลาประมาณ 10 โมงเช้าถึง 3 โมงเย็น ที่มีแดดแรง
  • พยายามอยู่ในร่มหรือภายในตัวอาคาร
กระตื้น กระลึก รักษาด้วย Q-Switched Nd:YaG Laser
กระเนื้อ ก่อนหลัง การรักษาด้วย CO2 Laser