Posted on

Growth Hormone : ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความสูง และช่วยชะลอวัย ให้คงความเป็นหนุ่มสาวไว้ได้

growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร 
-โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) เป็นฮอร์โมนชนิดโปรตีน หรือที่เรียกว่า Peptide Hormone เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Lobe of Pituitary Gland ) เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการ Metabolism ของร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Somatotropin
growth hormone (GH) สำคัญอย่างไร
growth hormone (GH) ในเด็ก มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เด็กที่ขาดหรือพร่องฮอร์โมนนี้ มีผลต่อความสูงของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะเตี้ยแคระ (dwarfs) และเด็กที่มีฮอร์โมนนี้สุงกว่าปกติ ก็จะเกิดภาวะตัวสูงใหญ่ผิดปกติ(Giants)
growth hormone (GH) ในผู้ใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย การเผาผลาญพลังงาน เกี่ยวข้องกับระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ตลอดจนการทำงานของปอด หัวใจ ตับ สมอง และอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง
growth hormone เป็นฮอร์โมนสำหรับความเยาว์วัย
เพราะจะหลั่งสูงสุดเมื่ออายุ 20 ปี และหลังจากนั้น ระดับฮอรโมนนี้จะเริ่มทำงานลดลง โดยจะพบว่าทุกๆ 10 ปี growth hormone (GH) จะทำงานลดลงประมาณ 14% โดยพบว่าเมื่ออายุประมาณ 65 ปี growth hormone (GH) จะทำงานลดลงประมาณ 50% ดังนั้นถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือ ขบวนการชรา จะเริ่มต้นที่อายุ 20 ปี และค่อยๆ มากขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งก็คือเมื่อย่างเข้าวัยทองนั่นเอง

ภาวะพร่องโกรทฮอร์โมน(GH deficiency) มักจะเริ่มมีอาการให้เห็นทีละเล็กละน้อย ตั้งแต่อายุ 25-30 ปีขึ้นไป แล้วแต่คน แต่จะเริ่มสังเกตชัดขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี และอาการเหล่านี้จะเด่นชัดขึ้นถ้ามีการนอนหลับพักผ่อนไม่เต็มที่ อาการและอาการแสดงที่พบได้มีดังนี้
– รู้สึกอ่อนเพลียง่ายตลอดทั้งวัน คุณภาพชีวิตแย่ลง เรี่ยวแรง(Energy) ถดถอย
– ไม่สามารถทนนอนดึกได้ เช่น ถ้าต้องนอนหลังเที่ยงคืน จะทำให้เพลียและไม่มีแรง กว่าจะฟื้นตัวก็นานหลายวัน ต้องการจะนอนมากกว่า 8-9 ชม.ต่อวัน จึงจะมีเรี่ยวแรงทำงานได้
– เส้นผมเริ่มบางลง ทั่วหนังศีรษะ
– อาการทางผิวหนัง –เปลือกตาเริ่มตก มีถุงไขมันใต้ตา แก้มเริ่มหย่อนคล้อย จมูกและริมฝีปาก บางลง คอเริ่มหย่อนคล้อย มีร่องรอยเหี่ยวย่นตามใบหน้า ลำคอ
– ควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น อ้วนได้ง่าย เริ่มมีพุง มีไขมันส่วนเกินสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
– ความผิดปกติทางอารมณ์- หงุดหงิดง่าย ทนความเครียดไม่ค่อยได้ แม้จะเล็กน้อย อยากจะปลีกตัวจากสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง
– กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรง ไม่กระชับ มวลกล้ามเนื้อ (Muscle mass) ลดลง ต้นแขนห้อยเหมือนหนังไก่(Chicken arms)
– สมรรถภาพทางเพศลดลง ผู้ชายอาจจะมีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่เต็มที่ มีปัญหาหลั่งไว ส่วนผู้หญิงก็อาจจะมีความต้องการทางเพศ(Sexual Desire) ลดล

การตรวจวัดระดับ growth hormone
– ในร่วงกายว่าเริ่มลดลงหรือพร่องไปมากน้อยเท่าไหร่ ทางการแพทย์ทำได้ยาก เพราะ growth hormone จะอยู่ในกระแสเลือดเพียงไม่กี่นาที แต่จะเปลี่ยนสภาพเป็น Growth factor ที่ตับแทน
– ดังนั้นการวัดระดับ growth hormone จึงจะใช้การวัดระดับของ Growth factor แทน ในรูปของ Insulin-like growth factor(IGF-1) ซึ่งจะตรวจการในเลือด และใช้เป็นตัวบ่งชี้แทน ระดับ growth hormone ได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่การตรวจที่จะได้ผลดีและถูกต้อง ต้องตรวจช่วงเวลา 6.00-8.00 น. และควรจะงดอาหารก่อนการตรวจเลือดอย่างน้อย 8 ชม. อาจจะพอดื่มน้ำก่อนตรวจได้บ้าง ถ้ากระหายน้ำในตอนเช้า
– การตรวจระดับ growth hormone นอกจากจะตรวจจากระดับ Insulin-like growth factor(IGF-1) แล้วแพทย์มักจะตรวจหาระดับของ IGF-BP-3 (Binding protein) ร่วมด้วย เพราะจะมีระดับผกผันกัน เพื่อให้เปรียบเทียบ ระดับ Insulin-like growth factor(IGF-1) ที่ทำงานอย่างแท้จริง คือถ้าพบว่า ระดับ IGF-BP-3 สูง ก็บ่งบอกว่า ระดับ growth hormone บางส่วนได้จับกับโปรตีน ทำให้ GH จริงๆ ออกฤทธิ์ได้น้อยลง

แนวทางการรักษาภาวะ พร่องโกรทฮอร์โมน (GH deficiency)
ปัจจุบัน ในวงการแพทย์ Anti-Aging พบว่า การเพิ่มระดับ growth hormone สามารถทำให้เราชะลอวัย และฟื้นฟูความเป็นหนุ่มสาวขึ้นมาใหม่ได้ ดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยเดิมๆ (Life Style Change )
1.1 Diet: ควรหันกลับมาบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าอย่าง จริงๆ จังๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนชนิดดี (good protein) เช่น ปลา ผลไม้ ผัก เนื้อแดง สัตว์ปีก และพยายามเลี่ยง เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กาแฟ ของหวานทั้งหลาย ผลิตภัณฑ์จากนม เนย งดสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ระดับ GH ลดลงได้ 
1.2 Exercise : ควรสร้างนิสัยการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง นานครั้งละ 30-45 นาที การออกกำลังที่เหมาะสำหรับการเพิ่มระดับ GH คือการออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม เช่นการวิ่งเหยาะๆ การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิก หรือการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่นการยกน้ำหนัก เป็นต้น
1.3 การนอนหลับให้เพียงพอ : ควรจะนอนหลับให้สนิทอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และควรนอนไม่เกิน 4-5 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ฮฮร์โมน Melatonin ซึ่งเกี่ยวกับการทำให้ง่วงและนอนหลับ(จะอธิบายออร์โมนนี้อย่างละเอียดภายหลัง) หลั่งสูงสุด ซึ่งผลของ ฮฮร์โมน Melatonin นี้จะช่วยเพิ่มระดับ GH ได้เช่นกัน
2. การปรับเปลี่ยนด้านจิตใจ : พยายามเป็นคนมองโลกในแง่ดี เลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด สร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง เช่น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ การเล่นโยคะ การรำไท้เก้ก หรือการสูดหายใจลึกๆ ยาวๆ อย่างน้อยซัก 10 นาที วันละ 3 ครั้งก็ได้ เพราะความเครียด ทำให้ฮอร์โมนทุกตัวในร่างกายลดลงได้

3. อาหารเสริมกลุ่ม Amino acid : พบว่าอาหารเสริมบางตัว สามารถที่จะเพิ่มระดับ GH ได้ แต่ควรจะทานช่วงที่ท้องว่าง หรือช่วงเช้า และ ก่อนนอน เพราะจะเพิ่มการออกฤทธิ์ได้ดีกว่า

3.1 Arginine : ขนาด 7-12 กรัมต่อวัน
3.2 Ornithine: ขนาด .5-8 กรัมต่อวัน
3.3 Lysine ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน

พบว่า อาหารเสริมในข้อ 3.1-3.3 มักจะเพิ่มระดับ GH ได้คนหนุ่มสาว อายุระหว่าง 20-35 ปี และพบว่าหลายยี่ห้อ ได้นำ กรดอะมิโนทั้ง 3 ตัว จะผสมกันเพื่อให้ทานง่าย บางคนเรียกว่า Tri-amino Acids

3.4 Glycine ขนาด 5-7 กรัมต่อวัน
3.5 L-tryptophan ขนาด 5-10 กรัมต่อวัน
3.6 L-glutamine ขนาด 2 กรัมต่อวัน จัดเป็นกรดอะมิโนที่สามารถเพิ่มระดับ GH ได้ทุกกลุ่มอายุ แม้แต่คนสูงอายุ ( 32-64 ปี) ปัจจุบันถือว่าเป็นอาหารเสริมกลุ่มอะมิโนที่ได้รับความนิยมสูงสุด

4. การให้ฮอร์โมนอื่นทดแทน (Hormonal Replacement Therapy-HRT) : พบว่าเพื่อคนสูงอายุขึ้น มีฮอร์โมนหลายตัวที่ลดระดับหนึ่ง ดังมีการรายงานทางการแพทย์ว่า เพื่อเราทำการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทนตัวอื่นๆ เช่น Testosterone,Melatonin,Estrogen,Thyroid hormone ในคนไข้ที่ขาดออร์โมนเหล่านี้ เมื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเหล่านี้ในระดับที่น่าพอใจแล้ว ก็มีผลส่งให้ระดับฮอร์โมน GH เพิ่มขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
5. การให้โกรทฮอร์โมนทดแทน (Growth hormone replacement ): จัดเป็นการเพิ่มระดับ GH ที่ได้ผลที่สุด และเร็วสุด แต่แพทย์มักจะเลือกให้การรักษาเป็นทางเลือกสุดท้าย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของ GH หลากหลายยี่ห้อ การเลือกพิจารณารูปแบบของการให้ และบริษัทที่น่าเชื่อถือ ถือว่ามีผลต่อการรักษา ที่ใช้กันทั่วๆ ไป ก็คือ
5.1 แบบหยอดหรือสเปรย์ใต้ลิ้น ได้ผลในระดับหนึ่ง เป็นที่นิยม เพราะราคาไม่แพงมาก (ประมาณ 5,500 บาท)
5.2 แบบฉีด GH แต่ถ้าต้องการเพิ่มระดับ GH ที่ได้ผลจริงๆ ต้องใช้การฉีด GH เท่านั้น ซึงในเมืองไทย ยังไม่อนุญาตให้ทำได้ และปัจจุบันก็ยังมีราคาแพงมาก ( ราคาประมาณ 15,000-25,000 บาทต่อ เดือน
ผลข้างเคียงของการฉีด GH พบได้ แม้จะไม่รุนแรงนัก เช่น เกิดภาวะบวมที่ข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) การปวดข้อต่างๆ หรือความดันในสมองเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าเพื่อหยุดฉีดหรือลดขนาดการฉีดลง ก็สามารถทำให้ผลข้างเคียงเหล่านี้ลดลงได้
ข้อห้ามใช้ในการฉีด GH ได้แก่ คนไข้ท่มีปัญหามะเร็งระยะลุกลาม จอตาผิดปกติ(Proliferative retinopathy) หรือความดันในสมองสูง (Intracranial hypertension)

Posted on

โบท็อกซ์คืออะไร ค้นพบได้อย่างไร ออกฤทธิ์ยังไง เลือกฉีดยี่ห้อไหนดี การดูแลก่อนและหลังฉีด ผลข้างเคียงที่พบได้

ความเป็นมาของโบทอกซ์

– โบทอกซ์ คือชื่อทางการค้าของสาร Botulinum toxin type A สกัดจากแบคทีเรีย Clostridium Botulinum Botulinum toxin ถูกค้นพบครั้งแรก ในยุคสมัยของสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1795- 1813 เนื่องจากการค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างไขมัน ไส้กรอก และอาการป่วยเป็นอัมพาต โดย Justinus Kerner นักสาธารณสุขอายุ 29 ปี ผลจากการสังเกตครั้งนั้นนับเป็นหลักฐานสำคัญทางด้านระบาดวิทยาของโรค Botulism ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคือ botulus แปลว่าไส้กรอก
– ปี 1960 ก็มีการใช้ botulinum toxin กับมนุษย์เป็นครั้งแรก ในการรักษาอาการตาเหล่ (strabismus)และตาปิดเกร็ง (การกะพริบตาที่ไม่สามารถควบคุมได้: blepharospasm) ในปี 1989 บริษัทผู้ผลิต botulinum toxin: Allergan, Inc. (ภายใต้ชื่อ Botox) ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (U.S. FDA) เพื่อผลิต botulinum toxin สำหรับรักษาอาการตาเหล่ ตาปิดเกร็งและอาการเกร็งครึ่งใบหน้าสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 12 ปี
– ปี 1993 ได้มีการใช้ botulinum toxin ในการรักษาอาการหดเกร็งของหูรูดปลายล่างของหลอดอาหาร (achalasia: a spasm of the lower esophageal sphincter)
– ปี 1994 Bushara และ Park ก็พบว่า botulinum toxin มีความสามารถในการยับยั้งการหลั่งของเหงื่อได้

โบทอกซ์กับความงาม

– ปี ค.ศ. 1987 Dr. Jean Carruthers ได้พบว่าเมื่อใช้สาร Botulinum toxin type A ในการรักษาอาการตากระตุก ให้หายแล้ว ยังทำให้รอยย่นจากการขมวดคิ้วจางลง จึงได้ตีพิมพ์รายงานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1992  จากผลการตีพิมพ์ดังกล่าว ทำให้แพทย์ได้เริ่มต้นฉีดโบทอกซ์กับวงการความงาม มากขึ้นเรื่อยๆ และได้เริ่มนำเข้ามาเผยแพร่ไปทั่วโลก
-ปีค.ศ  1999-2000 ประเทศไทยเริ่มมีการนำ Botulinum toxin type A มาฉีดลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ตีนกา ก่อนเป็นอันดับแรก   ซึ่งผู้เขียนก็เป็น 1 ในทีมแพทย์ไม่กี่คน ที่ถือได้ว่าเป็นแพทย์ไทยกลุ่มแรก ที่ได้การฉีดสารโบทอกซ์ในเมืองไทย
ปัจจุบันนี้ โบทอกซ์ ได้พัฒนาให้ฉีดได้หลายบริเวณ หลายวัตถุประสงค์ มากขึ้น ลองอ่านบทความนี้
Advanced technique for Botox Injection

โบท็อกซ์ออกฤทธิ์อย่างไร ยี่ห้อไหนดีสุด

กลไกการออกฤทธิ์ของสารโบท็อกซ์
– ฉีดชั้นกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว โดยจะไปยับยั้ง สารคัดหลั่ง Acetylcholine (Ach) ซึ่งสื่อสารระหว่างเซลประสาทและกล้ามเนื้อ ให้ทำงาน เคลื่อนไหว หรือ หดตัว เมื่อฉีด Botox จะทำให้ยับยั้ง การรับรู้ของกล้ามเนื้อ จึงไม่เกิดการหดตัว เกร็ง
– ฉีดชั้นผิวหนัง ทำให้กล้ามเนื้อเรียบ หรือคอลลาเจนหดตัว กระชับขึ้น
ยี่ห้อโบท็อกซ์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย : ได้แก่ Botox Allergen (อเมริกา),Dysport(อังกฤษ) ,Xeomin (เยอรมัน),Botulax (เกาหลี), Nabuta (เกาหลี),Hugel (เกาหลี)
ถ้าจะถามว่าโบท็อกซ์ (Botox) ยี่ห้อไหนดีสุด : คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับวัตุถุประสงค์ในการใช้ โดยไม่เกี่ยวกับงบประมาณ ดังนี้

  • ออกฤทธิ์นานสุด : Allergen (อเมริกา )
  • ลดกราม กล้ามเนื้อมัดใหญ๋ ดีสุด : Allergen (อเมริกา )
  • ยกกระชับ ดีสุด : Dysport(อังกฤษ)
  • ฉีดแล้วดูเป็นธรรมชาติสุด : Dysport(อังกฤษ)
  • ดือยาน้อยสุด : Xeomin ( เยอรมัน)
  • ปลอมมากสุด : ทุกยี่ห้อ
    ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้บริการต้องเลือกใช้คลินิกที่มีคุณภาพ ใช้ของแท้ ไม่ใช้ของปลอม เนื่องจากมีคนหิ้วขายอยู่เต็มไปหมด และที่สำคัญต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ หากไม่มีความชำนาญแล้วบังเอิญฉีดไม่ตรงจุด แล้วผลที่ได้ราคาที่จ่ายไปก็อาจจะไม่คุ้มกับผลลัพธ์ที่ได้

การดูแล ก่อน-หลังฉีด และผลข้างเคียง

การปฏิบัติตน ก่อนและหลังฉีดสารโบท็อกซ์
– งดดื่มเหล้า เข้าซาวน่า 4 ชั่วโมง หรือรับประทานยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน หรือยากลุ่มNsaid ยาลดเกร็ดเลือดก่อน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเขียวช้ำจากรอยเข็ม
– การประคบด้วยความเย็น ตรงตำแหน่งที่ฉีด ก่อนและหลังการฉีด เพื่อลดอาการปวดหรือรอยช้ำจ้ำเลือด
– ไม่ใช้ร่วมกับการกินยาปฏิชีวนะ กลุ่ม Aminoglycoside เช่น Kanamycin Amikacin ฯลฯ
– ห้ามนวดคลึงบริเวณที่ฉีด 4 ชั่วโมง พราะจะมีผลต่อกล้ามเนื้อที่ฉีดทำให้โบทอกซ์กระจาย
– ควรเลี่ยงการทำทรีทเม้นต์หลังฉีด 2 อาทิตย์
– หลีกเลี่ยงการฉีดในสตรีมีครรภ์
ผลแทรกซ้อนที่อาจพบได้
– รอยช้ำจ้ำเลือด พบได้บ่อย โดยเฉพาะบริเวณหางตา
– บวมบริเวณที่ฉีด
– ปวดบริเวณที่ฉีด
– หนังตาตก และมักหายภายใน 2 สัปดาห์
– การแสดงสีหน้า อาจไม่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเวลาโกรธ หัวเราะ ยิ้ม หรือร้องไห้ มักหายได้เองใน 4 สัปดาห์
– อาจเกิดการดื้อยาได้ กรณ๊ที่ใช้โบทอกซ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่าน อย.
– ยังไม่พบการแพ้ยาที่รุนแรง และเป็นผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นดังกล่าว สามารถเลี่ยงหรือทำให้เกิดได้น้อยที่สุดได้ ถ้าแพทย์ที่ทำมีความชำนาญในการฉีดและมีประสบการณ์ในการทำมามากพอสมควร ดังนั้นการเลือกแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดี ย่อมทำให้การรักษาได้ผล และไม่มีผลข้างเคียง

Posted on

Anti-Aging Medicine : เวชศาสตร์ชะลอวัย การแพทย์ที่ใช้ป้องกันและฟื้นฟูร่างกายให้ดูดีจากภายในสู่ภายนอกแบบองค์รวม

Anti-aging medicine คืออะไร

Anti-aging medicine คือ องค์ความรู้ทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการป้องกัน การดูแลสุขภาพ ทุกๆ ด้านทั้งด้านสรีระร่างกาย ผิวพรรณ โภชนาการ ระดับฮอร์โมน การออกกำลังกาย ภาวะทางจิตใจและอารมณ์ หรือปัจจัยอีกหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำให้คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น อย่างสุขสมบูรณ์ (Vital life)
เนื่องจาก อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลก นับวันจะพบว่าอายุขัย เฉลี่ยจะมากขึ้น คือคนเรามีอายุยืนยาวกว่าในอดีต โดยปี 2564 จะเป็นปีที่ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 75 ปี
ทำให้เราต้องคิดว่า “ เมื่อตัวฉันต้องอยู่ในโลกใบนี้อีกนานมากขึ้น ฉันจะต้องทำอย่างไร ที่จะทำให้ชีวิตบั้นปลายของตนเอง อยู่อย่างมีความสุข ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ แบบองค์รวม (Holistics) โดยไม่ให้เป็นไปตามกลไกการเสื่อมของร่างกาย (Aging Process) หรือถ้าจะเกิด ก็ให้เกิดผลน้อยที่สุด สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ต้องตกเป็นภาระแก่ลูกหลาน”


จากประโยคดังกล่าว จึงดูเหมือนว่า Anti-aging medicine ต้องยึดหลักการดูแลและป้องกันสุขภาพเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเป็นการแพทย์เชิงรุก ก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้น จะเยียวยารักษาอย่างไร ให้เกิดขึ้นช้าที่สุด และมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันให้น้อยที่สุด ซึ่งก็ต้องอาศัยทีมแพทย์จากหลายๆ ฝ่าย หรืออาศัยความรู้เฉพาะจากหลายๆ ด้าน ในการประเมินผลการดูแลสุขภาพของคนไข้แต่ละคน

หลักการดูแลสุขภาพตามแนวทาง Anti-Aging

มุ่งเน้นการป้องกันเป็นหลัก เหมือนการมาตรวจสุขภาพตามปกติ แต่ต่างกันที่จะมีการตรวจที่ลงลึกกว่าการตรวจสุขภาพโดยทั่วไป เช่น การตรวจระดับฮอร์โมน วิตามิน การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรค สารพิษ ภาวะภูิมแพ้อาหารแฝง โดย เวชศาสตร์ชะลอวัยจะมุ่งเน้นเข้าไปว่าในร่างกายเรามีอะไรที่มันยังขาดที่จำเป็นต้องเสริม เพื่อที่จะมีผลดี หรือผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะหากเรารู้ก่อนตั้งแต่ยังไม่เป็นโรคและรีบป้องกันย่อมได้ผลที่ดีกว่า เน้นการดูแลจากภายในของเรา ถ้าภายในดีภายนอกก็จะดูดีขึ้นด้วย
เนื่องจากเป็นการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม จึงต้องอาศัยทีมแพทย์หรือองค์ความรู้จากหลายๆ ด้านทางการแพทย์ เพราะการที่จะทำอย่างไร ให้เกิดชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข( Vital life) ต้องมีการดูแลในหลายๆ ด้านอาทิเช่น
-Life style improvement ( การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น สอดคล้องกับหลักการมีสุขภาพที่ดี)
-Vitamins,Minerals and Trace elements Supplements ( การเลือกรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามิน เกลือแร่ ที่เหมาะสมกับภาวะของร่างกายที่พร่องไป)
-Lean Body (การมีร่างกายที่สมส่วน ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป)
-Hormonal replacements/supplements( การเสริมฮอร์โมนบางตัวที่ร่างกายพร่องไป)
-Healthy Blood and Body ( การมีภาวะที่ปกติในระบบเลือด และร่างกายโดยรวม)
-Mental Status( การมีภาวะจิตใจที่สมบูรณ์)
-Sleep as well ( การนอนหลับพักผ่อนที่เปี่ยมสุข)
-Sex life( การมีความสุขทางเพศอย่างเหมาะสม) /Family Happiness( ความสุขในครอบครัว)
-Diets ( การดูแล การควบคุม และการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัย)
-Exercise (การออกกำลังกายที่พอเหมาะพอดี ต่อสุขภาพ)
-ฯลฯ

กลุ่มคนที่ควรไปพบแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย

  1. บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคจากกรรมพันธุ์ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิตสูง แต่หากคุณอยู่ในกลุ่มนี้อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะกรรมพันธุ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น ถ้าคิดเป็นสัดส่วนก็เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งบางคนอาจมีความใกล้เคียงกับคนในครอบครัวที่เป็นโรคดังกล่าว จึงทำให้มีโอกาสเป็นโรคตามกันไป
  2. บุคคลที่มีโรคประจำตัว ยกตัวอย่างเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง เป็นต้น
  3. บุคคลที่อยากเริ่มรักษาสุขภาพร่างกายอย่างถูกวิธี