ปัญหาโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์)
เป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง การรักษาในปัจจุบันยังได้ผลไม่ค่อยดีนัก แม้จะมียาป้องกันและรักษามากมาย กลุ่มแพทย์ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้พยายามหาทางป้องกันและรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย
การเดินช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้อย่างไร
โดยพบว่าการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันอาการสมองเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญ
– ได้มีการทดลองโดย Abbott RD และคณะ จากสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองและวิจัยกลุ่มคนสูงอายุ จำนวน 2,257 ราย ในกลุ่มอายุ 71-93 ปี โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ใช้การเดินแบบไม่หักโหม กับอีกกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างปี 2534-2536 โดยเลือกกลุ่มที่มีสมรรถภาพ ทางกายอยู่ในเกณฑ์ดี และติดตามผลการตรวจร่างกายทางระบบประสาท 2 ช่วงเวลา คือ ระหว่างปี 2537-2539 และระหว่างปี 2540-2542 แล้วใช้แบบทดสอบ ที่ได้มาตรฐานเป็นเกณฑ์วัด
ผลการศึกษา
พบว่า ในจำนวน 2,257 รายนี้ พบว่าเกิดโรคสมองเสื่อมขึ้นในระหว่างที่ศึกษา จำนวน 158 ราย (คิดเป็น 15.6 คน/1000 คน/ปี) ในจำนวนนี้พบว่า
– 101 คน เป็นโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แบบไม่ทราบสาเหตุ
– 30 คน เป็นอัลไซเมอร์จากหลอดเลือดผิดปกติ
– ที่เหลืออีก 27 คน เป็นทั้ง 2 แบบ ร่วมกับภาวะอื่นๆ เช่น พาร์กินสัน
แบ่งกลุ่มตามลักษณะการเดินพบ
ผลการทดลองดังนี้
– คนที่เดิมมากกว่า 2 ไมล์/วัน มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะสมองเสื่อม 10.3 คน/1000 คน/ปี
– คนที่เดิมระหว่าง 1-2 ไมล์/วัน มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะสมองเสื่อม 14.1 คน/1000 คน/ปี
– คนที่เดิมระหว่าง 0.25-1 ไมล์/วัน มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะสมองเสื่อม 17.6 คน/1000 คน/ปี
– คนที่เดิมน้อยกว่า 0.25 ไมล์/วัน มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะสมองเสื่อม 17.8 คน/1000 คน/ปี
ผลสรุป
พบว่า คนที่ออกกำลังกายโดยการเดินน้อยกว่า 0.25 ไมล์/วัน จะมีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนที่เดินมากกว่า 2 ไมล์/วัน ถึง 1.9 เท่า ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ให้ความเห็นว่า การเดินช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในคนสูงอายุได้ผลอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในผู้ชาย ส่วนในผู้หญิง ที่ออกแรงเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการเดินอย่างสม่ำเสมอ มีความสามารถทางสมอง สติปัญญา และความคิด ความจำได้ดีกว่ากลุ่มที่ออกแรง กายน้อยกว่าเช่นกัน