เส้นเลือดขอดคืออะไร
คือ ภาวะหรืออาการของผนังเส้นเลือดดำเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดการยืดขยายของเส้นเลือดอย่างไม่เป็นระเบียบ เกิดการพองขยายตัวเป็นแนวคดเคี้ยว มักจะพบในชั้น ผิวหนังชั้นผิว ( Superficial areas) ในบริเวณขา โดยเฉพาะที่น่องและต้นขา ส่วนบริเวณอื่นๆ พบได้น้อย เช่น ที่ข้อเท้า หลังเท้า
สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอด
1. พันธุกรรม : กรณีที่มีประวัติครอบครัว ญาติพี่น้องเป็นเส้นเลือดขอด จะทำให้มีโอกาสเป็นเส้นเลือดขอดได้มากกว่าคนปกติ
2. หญิงตั้งครรภ์ : จะเกิดการอุดตัน การปรับของเส้นเลือดดำ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและมดลูกที่โตขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ความดันภายในทำให้เลือดไหลกลับไปช้าลง ซึ่งอาการเส้นเลือดขอดนี้ ปกติหายได้เองภายใน 3 เดือน แต่บางคนก็ยังคงมีอาการอยู่
3. อาชีพที่ต้องยืนนานๆ เช่น พนักงานขาย พยาบาล ครู ช่างผม ช่างแต่งหน้า ฯลฯ
4. น้ำหนักที่มากเกินไป ทำให้เกิดแรงดันที่สูงขึ้นภายในหลอดเลือดบริเวณขา เป็นสาเหตุให้เกิดเส้นเลือดขอดที่ขาได้
5. ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อและหลอดเลือดบริเวณที่ขา เกิดการเสื่อมประสิทธิภาพขึ้นมาได้ ก็จะทำให้การไหลเวียนของเลือดติดขัดไปด้วย
อาการ ข้อสังเกตเบื้องต้น และการป้องกัน
1. ถ้าเดินหรือยืนนานๆ แล้วมีอาการเป็นตะคริว ปวดเมื่อยบริเวณขา ปวดตึงบริเวณน่อง หรือมีอาการขาบวมร่วมด้วย ก็มีแนวโน้มว่าโรคเส้นเลือดขอดได้มาเยือนเราแล้ว
2. ถ้าเป็นมากขึ้น จะสังเกตเห็นเส้นเลือดในบริเวณขา ชัดขึ้น ผนังมักจะมีคล้ำ และคดเคี้ยวไปมา
3. อาชีพที่มีความเสี่ยง ควรจะการป้องกัน เฝ้าระวังอาการมิให้เป็นมากขึ้น โดยการใส่ ถุงน่องเส้นเลือดขอด จะทำหน้าที่ในการบีบรัดบริเวณขาเวลาที่เราเดินหรือยืน ระดับแรงดันที่แนะนำคือ Class 2 (20-35 mmHg) ซึ่งเป็นระดับที่แพทย์ แนะนำให้ใช้และควรใส่ตลอดเวลา ทั้งเวลาทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ยกเว้นขณะที่นอนไม่ต้องใส่ แต่ให้ยกปลายเท้าให้สูงประมาณ 30 องศา เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้สะดวกขึ้น
4. ควรหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งห้องเท้านานๆ
5. อาการเจ็บปวดป็นมากขึ้น เมื่อเราต้องยืนเป็นเวลานานๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที เช่น แผลเรื้อรัง การอักเสบของเส้นเลือดขอด ขาบวม ปวดขา แนะนำว่าควรไปพบแพทย์
การรักษาเส้นเลือดขอด
1. การฉีดสารทำให้เส้นเลือดขอดยุบตัว (Sclerotherapy) : มักจะใช้ในกรณีที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ที่มีเส้นผ่าศูนต์กลางไม่เกิน 1-3 มม. โดยทำการฉีดสารที่มีคุณสมบัติในการทำลายผนังเส้นเลือด เช่น Aethoxysclerol,3% Nacl วิธีนี้สามารถทำได้ทั้งที่คลินิก และรพ. เพราะไม่ต้องนอนพักฟื้นรักษาตัว แต่หลังฉีดยาควรจะพันด้วย ผ้า Elastic Bandage ไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อทำให้เส้นเลือดยุบตัวได้ดีขึ้น แต่การรักษาแบบนี้ก็ไม่หายขาด อาจจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ นอกจากนี้อาจจะมีผลข้างเคียงตามมาได้เช่น ผิวหนังบริเวณที่ฉีดมีรอยดำคล้ำตามแนวที่ฉีดยา ผิวหนังอาจจะมีเนื้อตาย( Skin Necrosis) มีอาการปวดบริเวณที่ฉีด หรือเกิดการแพ้ยา
2. เลเซอร์ คือการใช้เลเซอร์ ความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร ถ้าเส้นผ่าศูนต์กลางไม่เกิน 3 มม. แล้วปล่อยพลังงานเลเซอร์ไปทำลายเส้นเลือด หลังทำไม่ต้องนอน รพ.วิธีนี้เป็นการรักษาที่ไม่เกิดบาดแผล มีความปลอดภัยและรวดเร็ว และเจ็บตัวน้อยที่สุด คนที่มีเส้นเลือดขอด แต่วิธีนี้จำเป็นต้องทำหลายครั้ง ในทุกๆ 6-12 สัปดาห์ และต้องทำต่อเนื่องไปนานหลายปี จนเส้นเลือดขอดหายไปจริงๆ
3. การผ่าตัด: มักจะใช้ในกรณีที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ที่มีเส้นผ่าศูนต์กลางประมาณ 4-6 มม. โดยศัลยแพทย์ระบบหลอดเลือด จะทำการตัดเส้นเลือดขอดที่มีปัญหา ออกไป มักจะทำกรณีเป็นรุนแรง ขนาดใหญ่ เช่น บริเวณ ช่วงขาพับ ขาหนีบ วิธีนี้มักจะหายขาด หลังผ่าตัดควรใส่ถุงน่องสำหรับโรคนี้โดยเฉพาะ และควรใส่ตลอดเวลา เป็นเวลาติตต่อกันไม่น้อยกว่า 4-6 สัปดาห์ ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดพบได้น้อย โดยอาจจะมีจ้ำเลือดใต้ผิวหนังได้ในบริเวณที่ผ่าตัด แต่จะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
4. การรักษาเส้นเลือดขอดโดยคลื่นความถี่วิทยุ วิธีนี้จะใช้การเจาะผ่านรูเข็มขนาดเล็ก แล้วใส่ไปในขดลวดขนาดเล็ก โดยคลื่นตัวนี้จะไปทำให้ผนังเส้นเลือดดำฝ่อลง แต่หลังจากทำไปแล้ว ก็ต้องคอยสังเกตอาการอีกที เพราะอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุนี้ ไม่ทำให้เจ็บปวด ใช้เวลาไม่นาน
5. การทานยาเพื่อบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด เป็นยาในกลุ่มไดออสมินและเฮสเพอริดิน เป็นตัวยาที่จะยับยั้งกระบวนการอักเสบให้ลดลง และช่วยให้ลิ้นในหลอดเลือดดำ กลับมาเป็นปกติ