Posted on

ฺ น่องปูด น่องโต ฉีดโบ โชว์ขาเรียว ไม่เป็นมัด จัดไป ใส่ขาสั้นได้ ( Botox for Radish-like Legs)

น่องโต เกิดจากอะไร

เรียวขาที่สวยงาม เป็นจุดดึงดูดทางเพศแก่ผู้ชาย รองมาจากใบหน้าและหน้าอก น่องโต จึงปัญหาที่ทำให้สาวๆ ไม่กล้า ใส่ขาสั้น หรือชุดว่ายน้ำ อวดสายตาให้คนได้ ชาวจีนให้สมญานามของผู้หญิงน่องโตว่า “ขาหัวผัดกาดแดง ( Radish-like Legs)
น่องที่โต ก็คือ กล้ามเนื้อที่น่องที่เรียกว่า Gastrocnemius muscles ที่ทำหน้าที่ สำคัญในการเดิน การกระโดด หรือการวิ่ง งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า ถีบฝ่าเท้าลงและช่วยงอเข่าด้วย แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. กล้ามเนื้อน่องด้านใน (Medial Gastrocnemius-MG)
2. กล้ามเนื้อน่องด้านนอก (Lateral Gastrocnemius-LG)
 ส่วนฉายา “ขาหัวผักกาดแดง” ก็คือ การโตขึ้นของกล้ามเนื้อ Medial Gastrocnemius (MG)
นอกจากนี้ ยังมีกล้ามเนื้อที่ลึกลงไปชั้นในใกล้กระดูกขา คือ กล้ามเนื้อ Soleus (SL) ทั้ง 2 มัดกล้ามเนื้อ ในส่วนปลายจะรวมตัวกันเป็นเอ็นร้อยหวาย ( Achillis Tendon)ที่ทำหน้าที่ในการเขย่งข้อเท้า งอข้อเท้า

การแก้ไขปัญหาน่องโต

1. การผ่าตัด : จัดเป็นวิธีดั้งเดิม ก่อนจะมีการฉีดสารโบทอกซ์ลดน่อง ได้ผลดี เร็ว และถาวร แบ่งเป็น
1.1 การผ่าตัดเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ (Selective Neurectomy) จะทำให้กล้ามเนื้อมัดนี้อ่อนกำลังลง มีขนาดเล็กลง ซึ่งถือว่าทำให้ได้ผลเร็ว หลังผ่าตัดฟื้นตัวได้เร็ว แต่ข้อเสียคือ บอกไม่ได้แน่นอนว่าน่องจะลดลงแค่ไหน และอาจจะทำให้การควบคุม การทำงานของขาผิดปกติได้
1.2 การผ่าตัดกล้ามเนื้อน่องด้านใน ( Total excision of MG) วิธีนี้คือการตัดกล้ามเนื้อมัดนี้ออกไป ปัจจุบันไม่ค่อย นิยม เพราะทำให้เกิดรอยแผลผ่าตัดยาวถึง 5-8 ซม. ระยะเวลาพักฟื้นนาน และทำให้การทำงานของขาผิดปกติ
1.3 การผ่าตัดแบบเหลากล้ามเนื้อทั้ง 3 มัดMG+LG+SL ( Muscle sculture) ก็คือการค่อยๆ ตัดกล้ามเนื้อที่ไม่เข้ารูป ออกทั้ง 3 มัด โดยจัดแต่งให้เข้ารูปที่ต้องการ แต่ก็มีผลเสีย คือ ใช้เวลานานในการผ่าตัดและพักฟื้น ราคาแพง และเกิดแผลเป็นหลังผ่าตัด

2. ฉีด Botox ลดน่อง : เป็นทางเลือกใหม่ ในการแก้ปัญหาน่องโตโดยไม่ต้องผ่าตัดให้เกิดผลข้างเคียง ไม่ต้องพักฟื้น โดยแพทย์จะฉีด Botox ที่กล้ามเนื้อ Gastrocnemius ทั้งสองด้านนอกและด้านใน โดยเน้นที่กล้ามเนื้อน่องด้านในเป็นหลัก เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของน่องโตเป็นหัวผักกาดแดง
ผลการรักษา พบว่าทำให้สามารถลดขนาดน่องลงได้ภายใน 1-3 เดือน ผลงานนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารแพทย์มากขึ้น โดยเฉพาะใน ประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์กลุ่มแรกๆ ที่นำสาร Botox มาแก้ปัญหาเหล่านี้
ส่วนปริมาณยูนิต ขึ้นอยู่กับขนาดน่องโตมากน้อยแค่ไหน โดยแพทย์จะทำการประเมินเบื้องต้น โดยจะให้คนไข้ยืนเขย่งเท้า เพื่อแสดงให้เห็นขนาดของ กล้ามเนื้อ แล้วจะทำเครื่องหมายรอบๆ บริเวณน่องโตดังกล่าว แล้วค่อยๆ ฉีด Botox เป็นจุดเล็กๆ ในปริมาณ 4 ยูนิตต่อพื้นที่ประมาณ 2 ตร.ซม. ซึ่งแต่ละข้างจะใช้ปริมาณโบท๊อกซ์ประมาณ 100-150 ยูนิตต่อน่อง 1 ข้าง แต่ด้วยการออกฤทธิ์ชั่วคราวของ Botox จึงต้องฉีดซ้ำทุก 6 เดือน