สิวที่ไม่ธรรมดา(Uncommon acne) คืออะไร
สิวปกติ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไขมัน แต่สิวไม่ธรรมดา มีสาเหตุจากอย่างอื่น บางอย่างก็ไม่รุนแรง แต่บางอย่างก็รุนแรง ดังนี้
1. สิวหัวช้าง (Acne conglobata) :สิวชนิดนี้ ถือว่ารุนแรงมากที่สุด และเกิดรอยแผลเป็นได้อย่างมาก พบได้ไม่บ่อยนัก โดยมักจะพบในผู้ชายที่ผิวมัน และในวัยรุ่น โดยจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนร่วงเข้าวัยชรา
ตำแหน่งที่เกิด มักเกิดตามแผ่นหลัง ก้น ต้นคอ ใบหู ที่ใบหน้ามักจะไม่รุนแรง
ลักษณะของสิว เกิดเป็นได้ทุกรูปแบบ และความรุนแรง ตั้งแต่สิวอุดตัน หัวเปิด(หัวดำ)รวมกันเป็นกลุ่มๆ จนถึงสิวอักเสบ ขนาดใหญ่ๆ เป็นุถุง ( acne cysts) ก็มี ทำให้มีรอยแผลเป็นหลงเหลือ ทั้งแบบแผลเป็นนูน(Keloids) แผลเป็นหลุม(pick scar) หรือท่อเปิดเรื้อรัง(sinus tracts)
การรักษา: มักจะรักษาหลายๆ รูปแบบควบคู่กัน ตั้งแต่การใช้ยาทา ยารับประทานขนาดสูง ทั้งยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มเรตินอยด์ขนาดสูงๆ ในระยะเวลานานกว่า 6 เดือน และเลเซอร์หลายชนิด แล้วแต่ปัญหา เพราะสิวประเภทนี้เป็นเรื้อรังและมักทิ้งร่อยรอยโรคไว้มาก
2. สิวรุนแรงเฉียบพลัน (Acne Fulminans): สิวชนิดนี้มักจะเกิดอย่างเฉียบพลัน ในชายอายุประมาณ 13-22 ปี มักจะมีอาการไข้ ปวดข้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดและอ่อนเพลียร่วมด้วย สาเหตุหรือปัจจัยที่กระตุ้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อสิว P.acne หรือ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ตำแหน่งและอาการที่เกิด พบบ่อยที่ใบหน้า หน้าอกและที่หลัง เป็นสิวอักเสบตุ่มหนอง แดง เจ็บ และแตกออกเป็นแผลมีสะเก็ดคลุม เมื่อหายเกิดแผลเป็นมากมาย ผู้ที่เป็นสิวประเภทนี้
การรักษา: การใช้ยาทา ยารับประทานขนาดสูง ทั้งยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มเรตินอยด์ขนาดสูงๆ ในระยะเวลานานกว่า 6 เดือน และเลเซอร์หลายชนิด
3. สิวรอบปาก (Perioral dermatitis): มักพบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่า เกิดจากปัจจัยกระตุ้นจากการแพ้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ การแพ้น้ำยาบ้วนปาก สบู่ หรือยาคุมกำเนิด การล้างหน้าด้วยสบู่แรงๆ แสงแดด การมีพฤติกรรมชอบถูบริเวณที่เป็นบ่อยๆ ทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
ตำแหน่งและอาการที่เกิด มีลักษณะเป็นตุ่มแดง ตุ่มน้าใส หรือตุ่มหนอง เกิดพร้อมๆ กันทั้ง 2 ข้างก็ใบหน้ารอบๆ ปาก เช่น คาง ร่องจมูก มีอาการแสบๆ คันๆ
การรักษา: หยุดใช้เครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก ที่น่าจะเป็นสาเหตุ และให้ยารับประทานกลุ่มปฏิชีวนะ และยาทาสิวอักเสบทั่วๆไป
4. สิวแกรมลบ (Gram Negative Folliculitis) : เป็นสิวอักเสบหัวหนอง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ ที่ไม่ใช่ P.acne เช่น E.coli,Proteus,Pseudomonas,Kleibsiella ซึ่งต้องขูดตุ่มหนองไปเพาะเชื้อดู สังเกตว่าผู้ที่เป็นสิวประเภทนี้ มักจะไม่พบสิวอุดตันร่วมด้วย และมีประวัติการใช้ยาทากลุ่มปฏิชีวนะ ( เช่น CM lotions) เป็นระยะเวลานาน และสิวไม่ดีขึ้น
การรักษา: อาจจะต้องเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นกลุ่มที่ไวต่อเชื้อแบคทีเรียนี้ เช่น Bactrim,Ampicillin หรือการให้รับประทานยากลุ่มเรตินอยด์ร่วมด้วย
5.สิวจากเชื้อรา( Pityrosporum folliculitis) : สิวอักเสบตุ่มหนอง ตุ่มแดง ที่เกิดจากเชื้อยีสต์ P.ovale หรือ เชื้อเกลื้อน (Malassezia furfur) มักเป็นที่หน้าอก และหลังช่วงบน แยกได้ยากจากสิวอักเสบสิว นอกจากการขูดไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ด้วยน้ำยา KOH หรือการรักษาสิวปกติแล้วไม่ดีขึ้น
การรักษา: นอกจากจะรักษาเหมือนสิวทั่วไปแล้ว อาจจะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อยีสต์ร่วมด้วย นาน 6-8 สัปดาห์
6.สิวก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual acne) พบได้บ่อยมาก ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยหญิงที่เป็นสิว มักจะเกิดในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เพราะมีการคั่งของน้ำในร่างกายจากภาวะฮฮร์โมนเพศหญิง ทำให้รูเปิดของต่อมไขมันเล็กลง จึงทำให้การระบายไขมันจากต่อมไขมันไม่ดี จึงเกิดการอุดตัน
ตำแหน่งและอาการที่เกิด มักเกิดในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น คาง ร่องจมูก หัวคิ้ว แก้ม แต่ที่พบได้บ่อยๆ คือสิวรอบปาก มักจะเป็นสิวอักเสบหัวแดง หรือสิวหัวหนองได้
การรักษา: สิวประเภทนี้มักจะไม่รุนแรง ไม่กี่วันสิวก็จะยุบหรือหายเป็นปกติ บางครั้งแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับระดับฮอร์โมน
7. สิวจากเครื่องสำอาง(Acne cosmetica) เชื่อว่าครีมที่ใช้เป็นเครื่องสำอางบนใบหน้าเป็นเวลานานกระตุ้นให้เกิดสิวได้ มักพบจากเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของ Olive oil,white pitrolatum,lanolin,butyl stearate,isopropyl myristate,sodium lauryl sulfate,lanolin alcohol และ oleic acid โดยมักพบเป็นสิวอุดตันหัวปิด บริเวณคาง แก้ม และอาจจะเกิดการอักเสบเป็นหนองได้ มักพบว่ายิ่งใช้เครื่องสำอางปกปิด ก็ยิ่งจะเป็นมากขึ้น
การรักษา: หยุดใช้เครื่องสำอางประเภทครีม ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าว มากกว่า 6 เดือน แล้วเปลี่ยนเครื่องสำอาง แนวทางการรักษาก็เหมือนกับการรักษาสิวอุดตัน และสิวอักเสบทั่วไป
8. สิวจากผลิตภัณฑ์ล้างหน้า(Acne detergicans) มักเกิดจากสบู่ล้างหน้าที่มีส่วนประกอบของ Tars,sulfur,ยาปฏิชีวนะ ( เช่น Hexachlorphene) หรือสบู่ที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดสิว(comedogenic agents) และจะเป็นมากถ้าล้างหน้าบ่อยๆ เกิน 4 ครั้งต่อวัน มักจะเป็นสิวอุดตันหัวปิด กระจายสม่ำเสมอในบริเวณคาง และแก้ม
การรักษา: หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ล้างหน้าดังกล่าว ลดการล้างหน้าบ่อยๆ และทาครีมละลายสิวอุดตัน กลุ่มวิตามินเอ หรือรับประทานยากลุ่มเรตินอยด์ร่วมด้วย
10.สิวจากอาชีพ (Occupational acne) มักเกิดในคนงานที่ทำอาชีพบางอย่าง ที่สารเคมีในโรงงานกระตุ้นให้เกิดสิวได้ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม คนงานทำถนน(ถนนลาดยาง ลูกรัง) โรงงานกลั่นน้ำมันดิน(Coal tars) สิวที่เกิดมักจะอักเสบ ตามรูขุมขน โดยมักจะเกิดหลังทำงานลักษณะนี้มากกว่า 6 สัปดาห์ พบบ่อยในตำแหน่งที่สัมผัสกับสารเคมีดังกล่าว เช่น ต้นแขน ขา
Acne mechanica Solar Comedone
10.สิวจากการกดทับ(Acne mechanica) โดยสาเหตุมักจะเกิดจากการกดทับนานๆ การดึงรั้ง การถูที่ผิวหนัง ที่ทำซ้ำกันบ่อยๆ ทำให้เกิดการหนาตัวของหนังกำพร้า(Hypercornification) ทำให้รูขุมขนอุดตัน จึงมักจะเกิดเป็นสิวอักเสบ นูนแดง หรือสิวหัวหนอง มักพบได้บ่อยในบริเวณก้น เอว(ตามขอบกางเกงใน) คาง ใต้ตา( ขอบแว่น) หลัง แก้มข้างใดข้างหนึ่ง(กรณีที่ชอบนอนตะแคงข้างนั้นบ่อยๆ)
การรักษา: หลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว ส่วนยาที่ใช้รักษา จะรักษาเช่นเดียวกับการรักษาสิวทั่วไป
11. สิวในผู้สูงอายุ (Senile or solar comedone,Favre’-Rachouchot’s disease): มักพบในคนสูงอายุที่โดนแสงแดดมากๆ และนานๆ เช่น ชาวนา ชาวสวน มักพบเป็นสิวอุดตันหัวขาว บริเวณรอบๆ ตาและโหนกแก้ม และอาจจะขยายเป็นสิวหัวดำ ไม่มีลักษณะเป็นสิวอักเสบ บวมแดง โดยเชื่อว่าเกิดจากแสงแดดไปทำลายเนื้อเยื่อรอบๆรูขุมขน จึงทำให้รูขุมขนกว้างและผิดปกติ