มื่อ 20-30 ปีก่อน ถ้าพูดถึงเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ (Autorefractometer) ทุกคนจะมีความรู้สึกว่า ค่าที่ได้จากการวัดมักจะไม่ เที่ยงตรงสู้การวัดด้วยคนและสวมแว่นลองดูไม่ได้ อีกครั้งเครื่องมีราคาแพง จึงไม่ค่อยจะเป็นที่นิยม
แต่ในปัจจุบัน เครื่องวัดชนิดนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความแม่นยำมากขึ้น สะดวกและรวดเร็วขึ้น แพทย์สามารถ นำเอาค่าที่วัดได้ไปปรับใช้กับผู้ป่วยทางสายได้ค่อนข้างแม่นยำ
หลักการทำงานของเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ คือ การที่เครื่องวัดจะกรองเอาแต่แสงอินฟราเรดผ่านเข้าเครื่องแล้วประมวลผลออกมา เป็นค่าสายตาที่ผิดปกติของผู้รับการตรวจ แต่ก็มีข้อจำกัดของการวัดด้วยเครื่องนี้ คือ การเพ่งมองของผู้รับการตรวจมากเกินไป อาจจะ ทำให้ค่าสายตาที่วัดได้ เป็นภาวะสั้นกว่าความเป็นจริง ซึ่งพบเห็นได้บ่อยๆ ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ดังนั้นในบางครั้ง เด็กที่มาทำการวัด สายตาด้วยจักษุแพทย์ จึงมักจำเป็นต้องหยอดยาคลายการเพ่งของตาก่อน รับการตรวจด้วยเครื่อง
ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้การวัดด้วยเครื่องวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์ ผิดพลาด อาจจะได้ในกรณีอื่นๆ อีก ดังนี้
- มีสายตาสั้นหรือยาวมากกว่าปกติ คือ อาจจะมากกว่า -25 D หรือ +25 D
- มีสายตาเอียงเกิน +/- 6 D
- ผู้รับการตรวจไม่มองภาพที่จอภาพนิ่งๆ มีการกลอกลูกตาไปมา
- ผู้รับการตรวจมีโรคทางตาอื่นๆ เช่น ภาวะต้อกระจก แผลเป็นที่กระจกตา หรือโรคจอประสาทตาลอก เป็นต้น
จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น จึงพบว่าการตรวจวัดสายตาที่ถูกต้องและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ ควรจะรับการตรวจจากจักษุแพทย์ หรือ ผู้ที่เชี่ยวชาญผ่านการอบรมมาโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้แยกโรคหรือภาวะบางอย่างที่อาจจะเกี่ยวข้องได้ดีกว่า การตรวจวัดตามร้าน จำหน่ายแว่นตาทั่วๆ ไป
อ้างอิงจากบทความของ นพ. ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ จักษุแพทย์ประจำศูนย์ตาธรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ในวารสารคลินิก ประจำเดือนธันวาคม 2547