Posted on

การตั้งครรภ์: การเปลี่ยนแปลงภายนอก ที่สังเกตได้มีอะไรบ้าง ต้องป้องกันและแก้ไขอย่างไร

การตั้งครรภ์ของสตรีเพศ มีการเปลี่ยนแปลงภายนอกและภายในร่างกายหลายต่อหลายอย่าง ไม่ว่าการที่มีชีวิตใหม่เกิดขึ้นในร่างกาย น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น รูปร่างที่เปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง สิ่งหนึ่งจากภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงคือ ความผิดปกติของผิวหนัง เล็บ และเส้นผม
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผิวหนังในระหว่างตั้งครรภ์ 
1. การเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี
1.1 มีผิวสีเข้มขึ้น – พบได้ถึงร้อยละ 90 ของสตรีมีครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนจากรังไข่ รก และต่อมใต้สมองสูงขึ้น
บริเวณที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณรอบหัวนม เส้นกลางท้อง( linea nigra) รักแร้ อวัยวะเพศ รอบทวารหนัก อาจพบกระ ไฝ และแผลเป็นสีดำคล้ำได้ เริ่มพบได้ตั้งแต่ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แล้วคล้ำไปเรื่อยๆ จนหลังคลอดค่อยจางลง แต่บริเวณหัวนมและเส้นกลางท้องอาจคงอยู่ตลอดไป โดยเฉพาะในคนผิวสีคล้ำ
1.2 ฝ้า- พบได้ถึงร้อยละ 50-75 ของสตรีมีครรภ์ และพบได้ถึง 1 ใน 3 ของสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงแสงแดด การใช้ครีมกันแดด SPF>30 หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์ โอกาสเกิดฝ้าได้มักพบ ใน3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด หลังคลอดฝ้าอาจจางหายได้ หรือถ้าไม่หายอาจต้องทำการรักษา
2. การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด – เชื่อว่าเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน การหมุนเวียนของเลือดและปริมาณเลือดที่มีเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์
2.1 จุดแดงและมีแขนงแยกออกของเส้นเลือดฝอยคล้ายใยแมงมุม( Spider nevi) พบได้บ่อยในคนผิวขาวถึงร้อยละ 60 แต่ในคนผิวดำ พบได้ร้อยละ 10 มักพบบริเวณ ลำคอ รอบตาและแขน มักเกิดในระยะการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2-5 และจางหายได้เองภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่จำเป็นต้องรักษา
2.2 ฝ่ามือแดง อาจพบได้ เป็น 2 ลักษณะ คือ แดงที่ขอบเขตชัดเจน หรือ แดงเป็นหย่อมๆ ทั่วฝ่ามือซึ่งพบได้บ่อยกว่า ถึงร้อยละ 60 ในคนผิวฃาว และร้อยละ 35 ในคนผิวดำ มักหายได้เองหลังคลอด
2.3 เส้นเลือดโป่งพอง อาจพบโอกาสเกิดริดสีดวรทวาร หรือเส้นเลือดขอดที่ขาได้ พบได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรก เนื่องจากช่องท้องน้อยมีความดันเพิ่มขึ้นจากมดลูกขยายตัว ทำให้การไหลเวียนโลหิตของเลือดดำเข้าสู่หัวใจช้าลง ดังนั้นควรแนะนำให้นอนยกขาสูง หรือนอนหัวต่ำ พันขาด้วยผ้ายืด ใส่เสื้อผ้ารัดรูป เพื่อป้องกันการเป็นมากขึ้น
2.4 เหงือกบวมและแดงได้ง่าย
2.5 ช่องคลอดมีเลือดคั่งและหลอดเลือดขยายตัวได้
2.6 อาจมีอาการตาบวม หน้า ขาบวม แบบกดไม่บุ๋ม
2.7 หน้าซีด หน้าแดง รู้สึกร้อนสลับหนาวได้ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง

3. การเปลี่ยนแปลงของเส้นผมและขน
3.1 ผมร่วงหลังคลอด เกิดได้ประมาณ อาทิตย์ที่4-20 หลังคลอด อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง หรือเครียดขณะตั้งครรภ์ แต่จะหยุดร่วงและผมงอกมาใหม่ภายใน 6-15 เดือน
3.2 ภาวะขนดก ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้มารดา มีขนดกคล้ายผู้ชายได้ พบขนดกได้ที่ใบหน้า แขน ขา หลัง หรืออวัยวะเพศ หลังคลอดแล้วภาวะขนดำมักหายได้เอง ภายใน6 เดือน
4. การเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
4.1 ภาวะท้องลาย( Striae gravidarum ) เกิดจากการขยายตัวของผิวหนังอย่างรวดเร็ว จนเกิดจากฉีกขาดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ในคนผิวขาว และมีประวัติครอบครัวเคยที่ภาวะท้องลาย จะทำให้เป็นได้ง่าย อาจพบอาการคันร่วมด้วย ปัจจุบันมีครีมทาป้องกันและรักษา แต่ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
4.2 ติ่งเนื้อ (seborheic keratosis)เกิดได้บริเวณ ใบหน้า ลำคอ อกช่วงบน และใต้ราวนม มักหายได้เองหลังคลอด ไม่มีอันตราย อาจผ่าตัด หรือจี้ออกได้ ถ้ารำคาญ
5. เล็บมีอาการเปราะหักง่าย อาจพบร่องตามแนวขวางของเล็บ เล็บเผยอได้ง่าย ควรแนะนำให้ตัดเล็บให้สั้น
6. การเปลี่ยนแปลงของต่อมเหงื่อ อาจทำให้เหงื่อออกได้ง่าย ขี้ร้อน มีผดผื่นได้บ่อยๆ
7.รอยหัวนมอาจขยายขึ้น และมีสีน้ำตาลคล้ำ จากการเปลี่ยนแปลงของต่อมไขมัน Sebaceous ในระหว่างตั้งครรภ์ และจะยุบจางลงหลังคลอด

จากที่กล่าวมานี้ เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เป็นปกติของสตรีมีครรภ์ ดังนั้นการได้รับรู้เบื้องต้น ถึงการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังที่อาจเกิดได้ และจะหายได้เอง คงทำให้ว่าที่คุณแม่หลายท่าน สบายใจขึ้นบ้างนะครับ

Posted on

หูด หรือตาปลา ( Wart) ติ่งเนื้อที่พบได้บ่อยๆ ชนิดของหูด สาเหตุและการรักษา

หูด ( Wart) เป็นติ่งเนื้อ ที่งอกยื่นออกมาจากผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ภายในชั้นหนังกำพร้า ติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค มักพบได้บ่อยในเด็ก หรือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
ชนิดของหูด แบ่งได้เป็นหลายชนิด ตามลักษณะที่แตกต่างดังนี้
 1. Common wart (Verruca Vulgaris) -ลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ สีเหมือนผิวหนังหรือสีดำ อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด พบบ่อยในเด็ก มักเป็นที่มือและเท้า มักไม่มีอาการอะไร ยกเว้นไปแกะเกา ให้เกิดบาดแผล
2. Plantar wart – หูดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นปื้นหนาแข็งฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนเดินลงน้ำหนักหรือกดทับจะเจ็บ เป็นปื้นแข็ง แยกได้ยากจากตาปลา การจะแยกต้องใช้ใบมีดฝานตรงติ่งเนื้อ ถ้าเป็นหูดจะพบจุดเลือดออกเล็กๆ แต่ถ้าเป็นตาปลา ถ้าเฉือนไปเรื่อยๆ จะพบเนื้อดี

 3. Fusiform wart – เป็นติ่งเนื้อขนาดเล็ก ยื่นออกมาจากผิวหนัง ลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือเล็กๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ พบได้บ่อยในคนสูงอายุ
4. Plane wart- หูดราบ –ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ สีเหมือนผิวหนัง มักพบเป็นกลุ่มบริเวณ หน้า คอ หลังมือ
การรักษา มีหลักการก็คือ กำจัดเนื้อเยื่อออกไปจากร่างกาย ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การจี้ด้วยไฟฟ้า
2. การผ่าตัด หรือตัดชิ้นเนื้อออก
3. เลเซอร์ ด้วย Co2 laser
4. การ แต้มด้วยสารเคมีลอกขุย(Kearolytic agents เช่น Salicylic acid) ให้หลุดลอกออก เช่น Collamack แต่ปัจจุบันยานี้ได้เลิกผลิตแล้ว
5. การแต้มด้วยยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสนี้ เช่น 5-FU (Vermumal,Duoflim)

จากทุกๆ วิธี แพทย์อาจจะเลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีควบคู่กัน เพื่อจะกำจัดเชื้อไวรัสนี้ให้หมด เพราะถ้าไม่หมดอาจเกิดใหม่ได้ และถ้าทำลายมากเกินไป ก็อาจจะทำลายเนื้อดี เกิดแผลเป็นได้

การป้องกัน ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อหูด จากไวรัสนี้ และถ้ามีลักษณะทางคลีนิกของโรคนี้ ควรรีบกำจัดตั้งแต่เริ่มเป็น เพื่อป้องกันการลุกลามมากขึ้น เนื่องจากการสัมผัสหูดนี้บ่อยๆ แล้วไปโดนผิวหนังบริเวณอื่น อาจจะมีหูดหรือตาปลาเพิ่มขึ้นได้ ในบริเวณที่มือที่มีเชื้อไวรัสนี้ไปสัมผัส

หูด เป็นเนื้องอกธรรมดา ไม่มีอันตรายอะไร ไม่ทำให้เกิด
เป็นมะเร็งในภายหลัง

Posted on

4 เคล็ดลับกับการกินอาหารให้สุขภาพดี ไม่อ้วน กับ 5 หมวดหมู่อาหารที่ควรรับประทานอย่างไร

9 เคล็ดลับ กินดี ไม่มีอ้วน

1. รับประทานไขมันให้น้อยลง ประมาณน้อยกว่า 40-50 กรัมต่อวัน ซึ่งจะทำให้แคลอรี่ลดลง เป็นการลดน้ำหนักที่ดี และลดผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมัน
2. ลดปริมาณแคลอรี่ต่อวัน ให้เหลือ 600 แคลอรี่ ร่วมกับการเปลี่ยนพฤติกรรมทีละน้อยๆ และง่ายๆเป็นสิ่งสำคัญกว่า
3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ โดยรับประทานเป็นมื้อเล็กๆ พร้อมบันทึกน้ำหนักเป็นเวลา เปรียบเทียบไว้เตือนใจตนเอง
4. ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมวดโดยเรียงจากกลุ่มที่ควรรับประทานให้น้อยสุด ไปมากสุด ดังนี้
4.1 หมวดไขมัน ของหวานและเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ เป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานและไขมันสูง ที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม และมีสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อย จึงควรจำกัดอาหารประเภทนี้ให้น้อยที่สุด
4.2 หมวดเนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ เป็นแหล่งของโปรตีน วิตามินเอ บี1 บี 6 บี12 วิตามินดี วิตามินเค ธาตุเหล็ก ไนอะซิน สังกะสี และฟอสฟอรับ ที่เสริมสร้างส่วนที่สึกหรอและการเจริญเติบโตของเซลล์ โดยจำกัดในปริมาณที่ต่ำ และเลือกที่มีไขมันต่ำ
4.3 หมวดผัก เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่
4.4 หมวดผลไม้ เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ บี6 วิตามินซี กรดโฟลิค โพแตสเซียม เส้นใยอาหาร ในแต่ละวันเราควรเลือกรับประทานผักผลไม้ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน โดยเลือกผลไม้ที่มีสีเหลือง หรือสีส้มจัด ซึ่งเป็นแหล่งอาหารวันละ 1 อย่าง ผักใบเขียวจัดวันละ 1 อย่าง เลือกผลไม้ที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง แคนตาลูป ส่วนที่เหลือ จะเลือกผักผลไม้ ชนิดใดก็ได้
4.5 หมวดข้าว แป้ง และเมล็ดธัญพืช เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยอาหาร เป็นหมวดที่ต้องรับประทานมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งให้พลังงานแก่ชีวิตประจำวัน

Posted on

ผื่นผิวหนังจากเชื้อรา (Cutaneous Candidiasis) : ผื่นแดงในที่อับชื้น ร่มผ้า ซอกขา ซอกแขน

ผื่นแดง (Cutaneous Candidiasis ) คือ ผื่นที่มีอาการคัน ดูแฉะๆ พบเกิดได้ในบริเวณร่มผ้า ที่อับชื้น
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา ในรูปของยีสต์ หรือ สายรา ที่เรียกว่า กลุ่ม Candida ที่พบบ่อยที่ก่อให้เกิดโรคในคน ชื่อ Candida albicans
ลักษณะผื่นที่พบ จะมีลักษณะ เป็นปื้นแดง คัน เปื่อย มีขุยโดยรอบ และมักมีการแตกของผื่น กระจายเป็นตุ่มแดง เป็นกลุ่มๆ อักเสบ อาจมีหนอง รอบๆ ผื่นได้ คล้ายเป็นบริวารของผื่น ที่เรียกว่า Setellite lesions )
ตำแหน่งที่พบ มักพบบริเวณซอกหรือในร่มผ้า ที่มีความชื้นสูง ได้แก่ ร่องก้น ขาหนีบ ซอกรักแร้ ซอกนิ้วมือ ซอกนิ้วเท้า ใต้อก(ในคนอ้วน) สะดือ บริเวณอวัยวะเพศของเด็กที่ใส่ผ้าอ้อม ใต้ราวนม(ในคนอ้วน)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด เชื้อรา Candida มีความแตกต่างจากเชื้อราที่ทำให้เกิด กลาก เกลื้อน เพราะเป็นเชื้อราที่พบเป็น จุลินทรีย์( normal flora) บริเวณ ช่องปาก ทางเดินอาหาร และช่องคลอดของสตรีอยู่แล้ว ปกติไม่ทำให้เกิดโรค ยกเว้นจะมีปัจจัยเสริมดังนี้
1. ภาวะภูมิคุ้มกันลดลง จาก โรคเบาหวาน มะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอดส์ ภาวะเม็ดเลือดผิดปกติ
2.ความอับชื้นจากอากาศ การแต่งกาย ผ้าอ้อม การใส่เฝือก ภาวะเหงื่อออกมากกว่าปกติ
3.ความอ้วน
4.ยาที่รับประทานประจำ เช่น เสตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ ยาคุมกำเนิด
5.การใส่ฟันปลอม
6.การตั้งครรภ์
7.สภาวะความเป็นกรดของช่องคลอด
8.การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ

การวินิจฉัยการติดเชื้อ Candidiasis แยกจากการติดเชื้อราจากโรคกลาก ได้โดยการขูดขุย หรือตุ่มหนอง มาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือจากการเพาะเชื้อ นอกจากนี้ ผื่นจากเชื้อกลาก มักแห้งกว่า และขอบเขตชัดกว่า ไม่มีบริวารลูก และไม่ค่อยคันมาก

การดูแลและการป้องกันรักษา

1. ขจัดหรือควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค ข้างต้น
2. ใช้ยาต้านเชื้อรา ทั้งในรูปของครีม เช่น cloteimazole cream ทา วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็ฯ หรือ ถ้าเป็นมากๆ อาจให้รับประทานยา ketoconazole วันละ 1 เม็ด นาน 1-2 สัปดาห์ มักจะหายขาด