Posted on

เปลี่ยนสีผม (Hair dye) หรือ อยากย้อมผม เลือกอย่างไร ให้ถูกใจ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง

ชนิดของยาเปลี่ยนสีผม

1. ครีมหรือโลชั่นทำให้ผมดำ มักมีส่วนผสมของโลหะ เช่น สารประกอบตะกั่ว เงิน มันใส่กันในน้ำยาใส่ผม ผมจะค่อยๆ เปลี่ยนสีจากขาวเป็นเทา และจะดำภายใน 2-3 สัปดาห์ มักมีข้อเสีย คือผมจะดูด้าน ไม่เงางาม และทำให้ผมแตกหักง่าย ถ้าดัดผมด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
2. ยาเปลี่ยนสีผมชั่วคราว มักเป็นพวกสีแฟชั่น สีที่ใช้เป็นพวก Acid dye เหมือนสีย้อมผ้า สีจะหายไป เมื่อสระผม 1-2 ครั้ง มีโมเลกุลใหญ่ ไม่สามารถซึมเข้าไปในแกนผมได้ จึงไม่ค่อยแพ้ หรือ ทำลายผมได้ ยกเว้นจะทำการดัดผมร่วมด้วย
3. ยาเปลี่ยนสีผมกึ่งถาวร มักไม่ติดทน สระผม 5-8 ครั้ง สีก็จะหมดไป แต่ก็สามารถทำลายเส้นผมได้
4. ยาเปลี่ยนสีผมแบบถาวร มักจะมีส่วนประกอบของ Paraphenylenediamine โดยมีน้ำยาไฮโดรเจนผสมก่อนใช้ ยาเปลี่ยนสีผมชนิดนี้ ทำลายเส้นผมมากที่สุด เปราะหักง่าย เพราะจะทำให้เส้นผมเป็นรู ไม่ควรย้อมด้วยยาเปลี่ยนสีผมประเภทนี้บ่อยกว่า 4 สัปดาห์ต่อครั้ง
5. ยาเปลี่ยนสีผมจากสมุนไพร มีส่วนประกอบของ Henna Extract มักมีความปลอดภัยสูง จะทำให้สีผมออกมาเป็นสีน้ำตาลออกแดง ถ้าย้อมบ่อยๆ ก็ทำให้ผมเปราะหักง่ายเช่นกัน

ข้อแนะนำในการเปลี่ยนสีผม

1. ดูฉลากแนะนำ และส่วนประกอบของยาก่อนใช้ และลองทดสอบ ทาลงบนท้องแขน ทิ้งไว้ 24 ชม. ถ้าไม่มีอาการบวม แดง คันยุบยิบ จึงใช้ย้อมได้
2. ไม่ควรใช้ยาเปลี่ยนสีผม กับบริเวณ ขนตา ขนคิ้ว เพราะจะระคายเคืองตาได้ และไม่ควรให้เข้าตา
3. เมื่อย้อมผม ไม่เกาหนังศีรษะ
4. ยาเปลี่ยนสีผม ประเภทครีมหรือโลชั่น ไม่ควรนวด หรือ เกาหนังศีรษะ เพราะจะทำให้มีการดูดซึม ของตะกั่วเข้าร่างกายได้
5. ไม่ควรใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยาเปลี่ยนสีผม เพราะสารในสบู่จะช่วยให้สารดูดซึมได้มากขึ้น กระตุ้นการแพ้ได้
6. หยุดใช้ทันที และล้างออก ถ้ามีการระคายเคือง หรือมีการอักเสบหนังศีรษะ และควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยตรง

อาการแพ้ยาเปลี่ยนสีผม พบได้ ประมาณ 1:5000 โดยมีอาการดังนี้

1. อาการคันบริเวณ หนังตา ใบหน้า ไรผม ท้ายทอย ใบหู
2. อาจพบตุ่มน้ำ คัน แฉะ
3. ถ้ารุนแรง อาจมีหน้าบวม ลืมตาไม่ขึ้น
4. ทำให้ผมร่วงได้

Posted on

ปวดประจำเดือน ( Dysmenorrhea) : มีกีแบบ แบบไหน ต้องหาสาเหตุ และรีบทำการรักษา

อาการปวดประจำเดือน ( Dysmenorhea) ถือเป็นภาวะอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยพบได้ถึงร้อยละ 50 ของสตรีที่มีประจำเดือน แต่จะมากน้อยรุนแรงแตกต่างกันไป โดยมีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 10 ของผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือน จะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถจะทำงาน หรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ
สาเหตุของการปวดประจำเดือน ทางการแพทย์ได้จำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( Primary Dysmenorhea) หมายถึงการปวดประจำเดือนแบบไม่พบโรค หรือพยาธิโรคที่เป็นอันตราย ใดๆ ในอุ้งเชิงกราน
ลักษณะประวัติ อาการที่น่าจะเป็นการปวดแบบนี้คือ
1.1 มักจะเริ่มมีอาการปวดภายหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ไม่เกิน 1 ปี
1.2 มีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือน และค่อยๆ ลดลง แต่หายไป ไม่เกิน 2-3 วัน
1.3 อาการปวดจะมีลักษณะปวดบีบเป็นพักๆ บริเวณท้องน้อย
1.4 การตรวจภายใน(กรณีที่ทำได้) จะไม่พบความผิดปกติอื่นๆ
2. อาการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ ( Seconary Dysmenorhea) หมายถึงการปวดประจำเดือนแบบพบโรค หรือมีพยาธิโรคในอุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endomethiosis), การอักเสบอุ้งเชิงกราน, เนื้องอกในมดลูกชนิด Submucus Myoma หรือชนิด Adenomyosis,ห่วงคุมกำเนิด,พังผืดในโพรงมดลูก,ปากมดลูกตีบตัน,ถุงน้ำรังไข่ ฯลฯ
ลักษณะประวัติ อาการที่น่าจะเป็นการปวดแบบนี้คือ
2.1 เริ่มมีอาการปวดภายหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกมาแล้วหลายๆ ปี
2.2 อาการปวดรุนแรงขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ
2.3 มีอาการปวดในรอบประจำเดือนที่ไม่ตกไข่ หรือในรอบที่ได้รับยาคุมกำเนิด
2.4 หลังจากให้ยารักษาแบบอาการปวดแบบปฐมภูมิแล้วไม่ดีขึ้น
แนวทางในการรักษาอาการปวดประจำเดือน
1. ยาแก้ปวด ได้แก่ กลุ่มยา Paracetamol
2. ยาแก้ปวดเกร็ง Antispasmodic ได้แก่ กลุ่มยา Buscopan
3. ยาแก้ปวดกลุ่ม Prostaglandin Synthetase inhibitor เช่น กลุ่มยา Ponstan
4. ยากลุ่มคุมกำเนิด
คำแนะนำ
การรักษาอาการปวดประจำเดือน ด้วยยาดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น จึงแนะนำให้พบนรีแพทย์ เพื่อตรวจภายใน และอุลตราซาวด์ หาสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้นสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ และพบแพทย์เมื่ออาการรุนแรงขึ้น และไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยา แก้ปวดชนิดต่างๆ แล้ว