Posted on

งานวิจัย : 6 สมุนไพรไทย(Thai Herbs) ที่ได้ผลในการรักษาโรคทางผิวหนัง

ปัจจุบันนี้ การแพทย์แผนไทย ได้มีบทบาทในการรักษาโรคมากขึ้น แม้แต่การรักษาทางด้านผิวหนัง ซึ่งตามภูมิปัญญาชาวบ้านแต่ดั้งเดิม มีสมุนไพรมากมาย และ หลากหลาย
แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะสมุนไพรแผนปัจจุบัน ที่ได้มีการพิสูจน์ทางคลินิกแล้วว่าได้ผลในการรักษาปัญหาทางผิวหนัง
1. กระเทียมในการรักษาเชื้อราที่เท้า : ได้มีรายงานการทดลองในปี 2539 พบว่า ได้ใช้สารสกัดจากกระเทียม ที่ประกอบด้วย 0.4% ajoene Gel ทารักษาเชื้อราที่เท้าในกลุ่มคนไข้ทดลอง 34 ราย พบว่าคนไข้ 27 ราย หายภายใน 1 สัปดาห์ (ร้อยละ 79) และอีก 7 ราย (ร้อยละ 21) หายภายใน 2 สัปดาห์
2. ผักบุ้งทะเลกับการรักษาอาการแพ้พิษแมงกระพรุน: ได้มีการทดลองสกัดครีมจากใบผักบุ้งทะเล 1% นำมารักษาอาการผื่นแพ้พุพองจากแมงกระพรุนไฟว่าในสารผักบุ้งทะเล มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายโปรตีนและเม็ดเลือกจากพิษแมงกระพรุน ทำให้แผลหายเร็วขึ้นภายใน 2 วัน หรือในรายที่เป็นพิษแผลเรื้อรัง แผลจะแห้งใน 2 สัปดาห์ และหายสนิทใน 1 เดือน

3. พญายอรักษาโรคเริมที่เป็นซ้ำในบริเวณอวัยวะเพศ: โดยการคัดเลือกผู้ป่วยที่มีตุ่มแผลจากเริมภายใน 48 ชั่วโมง จำนวน 163 ราย แล้วจัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
– กลุ่มที่ทายาสกัดจากใบพญายอ
– กลุ่มที่ทายาจากเมืองนอก คือ Acyclovir
– และกลุ่มที่ทายาหลอก โดยการให้ผู้ป่วยทุกกลุ่มทายาวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 6 วัน
ผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มที่ทายาสกัดจากใบพญายอ และกลุ่มที่ทายาจากเมืองนอก คือ Acyclovir ได้ผลพอๆ กัน โดยทำให้ตุ่มแผล ตก สะเก็ดภายใน 3 วันและแผลหายภายใน 7 วัน แตกต่างกับกลุ่มที่ทายาหลอก อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ยังมีการทดลองใช้ยาครีมที่มีสารสกัดจากพญายอในการรักษาผู้ป่วยงูสวัด ก็ได้ผลดีและแตกต่างจากการใช้ยาหลอกเช่นกัน
4. ว่านหางจระเข้กับการรักษาแผลไฟใหม้: มีการทดลองพบว่าน้ำเมือกของว่านหางจระเข้ จะมีสาร Glycoprotein fractions ซึ่งเมื่อทาหรือทำเป็นขี้ผึ้งทาภายนอกที่แผลพุพอง หรือแผลไหม้จากความร้อน รังสียูวีจากแสงแดด หรือรังสีจากกัมมันตรังสีอื่นๆ สารตัวนี้จะทำให้มีเกิดจากแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังชั้น Keratinocyte เร็วขึ้น ทำให้แผลสมานกันได้ดีและเร็วขึ้นด้วย

5. ตะไคร้หอมป้องกันยุง : ได้มีการทดลองนำครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย 14% ของครีมตะไคร้หอม ทาไล่ยุงในอาสาสมัคร 20 ราย พบว่า สามารถป้องกันและไล่ยุงได้ผลถึง 13 ราย ( ร้อยละ 65 ) โดยมีฤทธิ์ได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง
6. น้อยหน่ารักษาเหาที่ศีรษะ: มีการทดลองใช้น้ำยาที่คั้นจากเมล็ดน้อยหน่าบดกับน้ำมะพร้าวในอัตราส่วน 1:2 สามารถฆ่าเหาได้ร้อยละ 90-98 ซึ่งพบว่าได้ผล กว่าน้ำยาฆ่าเหาแผนปัจจุบัน ( 25% Benzyl benzoate) ที่ได้ผลเพียงแค่ร้อยละ 60

อนึ่งยังมีสมุนไพรภูมิปัญญาชาวบ้านอีกหลายชนิดที่ยังอยู่ในระหว่างศึกษาและทดลอง เช่น การใช้ขมิ้นชันในการรักษาแผลแมลงกัดต่อย เปลือกมังคุด กับการรักษาแผลพุพอง เน่าเปื่อย ข่าและชุมเห็ด กับการรักษากลากเกลื้อน ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อไป

ท้ายสุดนี้ ในความเห็นของผู้เขียน แม้ว่าสมุนไพรจะเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจว่าไม่มีผลข้างเคียง หรือผลข้างเคียงน้อย แต่ก็มี รายงานการแพ้ให้เห็นบ่อยๆ ตั้งแต่ผื่นแพ้เล็กน้อย จนถึงผื่นแพ้รุนแรง โดยเฉพาะการนำสมุนไพรมาทำการรักษาปัญหาผิวพรรณบนใบหน้า ซึ่งยังไม่มีรายงานการแพทย์หรือรายงานทางคลินิกว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด ดังนั้นท่านที่นำมารักษาผิวพรรณที่ใบหน้าด้วยตนเอง หรือจากสถานเสริมความงามต่างๆ ที่ไม่มีแพทย์ดูแล จึงต้องระวังและสังวรณ์ไว้ด้วย เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ย่อมต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่มากกว่ามากนัก

Posted on

ขี้แมลงวัน ( Lentigines ) กับ ไฝ (Moles) สังเกตอย่างไร ว่าอาจจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง

ไฝ และขี้แมลงวัน เกิดจากอะไร

ไฝ และขี้แมลงวัน มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของ เซลล์เมลาโนไซท์ (Melanocytes ) มีหน้าที่ใน การสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งปริมาณและขนาดของเมลานิน แล้วเกิดเป็นเนื้องอกจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซท์ โดยไฝจะมีลักษณะเป็นตุ่มนูน ส่วนขี้แมลงวันจะเป็นตุ่มราบสีดำ และอยู่ตื้นกว่าไฝ
โดยทั่วๆ ไป ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีการเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างช้าๆ ซึ่งมักจะสังเกตได้ในช่วงวัยรุ่น หรือตั้งครรภ์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในบริเวณทั่วตัวพร้อมๆ กัน
ไฝ และขี้แมลงวัน จะมีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ที่เรียกว่า Melanoma ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องสังเกตให้ได้ และแก้ไขได้ทันท่วงที

ไฝ และขี้แมลงวัน แบบไหน ต้องไปพบแพทย์

1. ไฝ และขี้แมลงวัน ที่ได้รับการระคายเคืองบ่อยๆ
2. ไฝ และขี้แมลงวัน ในบริเวณที่สังเกตได้ยาก เช่น บนหนังศีรษะ หรืออวัยวะเพศ
3. ไฝ และขี้แมลงวัน ที่มีมาแต่กำเนิดและขนาดใหญ่ เช่น ไฝยักษ์ ( Giant congenital melanoma
4. ไฝ หรือขี้แมลงวัน ที่มีลักษณะผิดปกติ ได้แก่
4.1 สีดำเข้มผิดปกติกว่าที่อื่นๆ
4.2 สีที่ไม่สม่ำเสมอ หรือสีเปลี่ยนอย่างกะทันหัน
4.3 ขอบเขตไม่เรียบ
4.4 ขนาดใหญ่เกิน 5 มม.
4.5 โตเร็วผิดปกติ

สงสัยมะเร็งผิวหนัง แพทย์จะทำอย่างไร

  1. ตัดไฝ และขี้แมลงวันออกทั้งหมด (Excisional Biopsy) ซึ่งถือว่าเป็นเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด แต่มักใช้ได้กับไฝที่ไม่โตมากนัก แล้วส่งชิ้นเนื้อของไฝ และขี้แมลงวัน ส่งตรวจพยาธิสภาพ ถ้าบ่งว่าเป็นมะเร็ง ก็ทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
  2. ตัด ไฝ และขี้แมลงวันออกบางส่วน ( Incisonal Biopsy) มักจะใช้ในกรณีที่ไฝที่มีขนาดใหญ่ ถ้าตัดออกหมด อาจจะทำให้สูญเสียความสวยงาม หรือ อาจจะทำให้มีผลต่อการใช้งานได้ แล้วส่งชิ้นเนื้อของไฝ และขี้แมลงวัน ส่งตรวจพยาธิสภาพ ถ้าบ่งว่าเป็นมะเร็ง ก็ทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไปเช่นกัน
  3. หมั่นตรวจ ติดตามผล โดยอาจจะต้องถ่ายรูปผิวหนังบริเวณดังกล่าวเป็นระยะๆ และพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง
  4. ไม่แนะนำให้ทำการจี้ หรือกำจัดออกด้วยการไฟฟ้า หรือเลเซอร์ สำหรับกรณีไฝที่ผิดปกติ หรือสงสัยเนื้อร้าย เพราะอาจจะทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นเนื้อ ไปตรวจพยาธิสภาพได้ และอาจจะทำให้การแปรผลผิดพลาดได้เช่นกัน

ได้เคยมีการศึกษา ถึงอัตราการเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง จากการปัจจัยต่างๆดังนี้ ว่าจะมีโอกาสเกิดได้สูงกี่เท่า ดังตารางต่อไปนี้

ลักษณะของไฝอัตราเสี่ยง (เท่า)
มีไฝ ขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงสูงมาก
อายุมากกว่า 15 ปี เมื่อเทียบกับอายุน้อยกว่า 15 ปี88
ผิวขาว เมื่อเปรียบเทียบกับคนผิวดำ20
มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2 มม. ขึ้นไป 50 เม็ด4-54
มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5มม. ขึ้นไป 5 เม็ด7-10
มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5มม. ขึ้นไป 12 เม็ด41
เคยเป็น มะเร็งผิวหนัง Melanoma มาก่อน9
มีญาติสายตรงเป็น มะเร็งผิวหนัง Melanoma8
มีภาวะถูมิคุ้มกันบกพร่อง4
มีไฝ เป็นมาแต่กำเนิด2-21